Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2547
ตลาดนัดศิลปะในสวนจตุจักร             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
search resources

สวนจตุจักร
คันศร ณรงค์
Crafts and Design




กิจกรรมทางวัฒนธรรมที่กลุ่มคนเล็กๆ ได้เพียรสร้างขึ้นมานานกว่า 10 ปี เริ่มมีสีสันขึ้นพร้อมๆ กับความฝันที่จะสร้างตลาดนัดศิลปะในสวนจตุจักร

บริเวณพื้นที่โครงการ 7 ศิลปะใกล้ประตูทางออกที่เชื่อมต่อ กับถนนพหลโยธินนั้น ท่ามกลางร้านค้าหลากหลายประเภท เมื่อมอง เลยเข้าไปจะเห็นร้านขายงานศิลปะ ทั้งภาพวาด เซรามิก โลหะ เรียงรายประมาณ 30 ร้าน แม้มีร้านค้าประเภทอื่นเข้ามาคั่นให้เสีย อารมณ์บ้าง แต่บรรดาศิลปินเจ้าของร้านบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่ากว่าจะรวมตัวกันได้นั้น ผ่านเส้นทางการต่อสู้มานานทีเดียว

ร้านขายงานศิลปะในสวนจตุจักร เมื่อ 10 กว่าปีก่อนอยู่ที่โครงการ 3 ลึกเข้าไปด้านใน ผลงานของศิลปินเหล่านั้นสามารถดึงดูดผู้คนให้เข้าไปซื้อหาชื่นชมก็จริงอยู่ แต่ปัญหาความกระจัดกระจายของร้านค้าที่ปะปนกับร้านค้าประเภทอื่น ทำให้บริเวณนั้นไม่สามารถเป็นแหล่งรวมงานศิลปะได้อย่างแท้จริง

ปี พ.ศ.2537 ทาง กทม.ได้ย้ายสถานที่ขายไก่ชนประมาณ 60 ล็อก ซึ่งอยู่ในสภาพรกรุงรังริมรั้วจนแทบจะกลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรมในสวนจตุจักรออกไป และได้เสนอทำเลตรงนั้นให้ผู้ค้างานศิลปะมาอยู่รวมเป็นแหล่งเดียวกัน ซึ่งก็คือที่ในปัจจุบันนั่นเอง

สัญญาอนุญาตให้เช่าพื้นที่ใหม่เพิ่งได้รับมาหมาดๆ ทุกคนกำลังเตรียมย้ายร้าน เพื่อนฝูง ข้างนอกที่รู้ข่าวเตรียมมาร่วมแจม ความฝันของคนกลุ่มนี้ก็คือ สร้างให้บริเวณนี้เป็นลานศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย

ต้นไม้ใหญ่เตรียมเอามาลงเพื่อสร้างความร่มรื่น บางคนจัดหาแจกันดินเผาขนาดใหญ่ เอาไว้ปักดอกไม้สีสันสดใสวางไว้ระหว่างทางเดินของร้านค้าทั้ง 2 ฟาก เพื่อดึงดูดสายตาผู้คน ให้เข้ามาเยี่ยมชม บางมุมจะจัดเป็นนิทรรศการ ทางศิลปะ สอนวาดรูป สอนงานปั้น ทุกคนกำลัง พูดถึงกิจกรรมต่างๆ ที่น่าจะเกิดขึ้นได้อย่างมีความสุข ด้วยคนอารมณ์เดียวกัน

ทุกอย่างไม่ง่ายอย่างที่คิด ในช่วงเวลานั้นเอง ผู้รับผิดชอบโครงการตลาดนัดสวนจตุจักรเปลี่ยนคน ความคิดก็เปลี่ยนไปตาม โดยผู้บริหารคนใหม่ต้องการทำเลตรงนั้นมาให้ผู้ค้ารายอื่นขายสินค้าทั่วไปแทน กลายเป็นปัญหาที่ยื้อสถานที่กันอยู่หลายปี จนศิลปินกลุ่มหนึ่งย้ายออกไปเกือบหมดเหลือเพียง 20 ร้าน ที่ยังทนผลิตชิ้นงานมาขายท่ามกลางความกดดัน

เวลาผ่านเลยไปเกือบ 10 ปี วิกฤติเศรษฐกิจทำให้ผู้คนเข้ามาเดินซื้อของในจตุจักรมากขึ้น สินค้าตกแต่งบ้าน ภาพวาดงานศิลปะขายได้ดี โดย เฉพาะในโครงการ 7 นั้น ร้านค้าที่ขายงานอย่างอื่นเริ่มทยอยออกไป ศิลปิน ที่เคยผละหนีหายเริ่มกลับเข้ามา

แม้พื้นที่ไม่ได้เป็นหนึ่งเดียวกันทั้งหมด แต่เสน่ห์และสีสันของย่านนี้ เริ่มเกิดขึ้น พื้นที่ตรงกลางระหว่างร้านที่เคยเป็นทางเดินธรรมดาถูกปรับปรุง ใหม่เป็นร้านกาแฟ และเครื่องดื่มเล็กๆ กลางแจ้งที่พอแดดร่มลมตกก็กลาย เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของผู้คนในแวดวงศิลปะ พร้อมๆ กิจกรรมอื่นๆ ที่ค่อยๆ ตามมา

"ผมว่าเสน่ห์ของที่นี่คือ ลูกค้าได้มาซื้องานกับตัวศิลปิน เองเพราะทุกคนขายงานเองอธิบายเอง พูดถึงที่มาและเรื่องราวของชิ้นงานได้ ซึ่งจะได้อารมณ์กว่าไปซื้องานกับลูกจ้างใน ร้านใหญ่ๆ ตามโรงแรม ผมเองก็รักการวาดรูป เมื่อได้พูดคุย กับลูกค้าที่เข้าใจงานเรา ก็กลายเป็นความสุขที่ไม่ได้เป็นตัวเงิน ลูกค้าเองก็น่าจะมีความรู้สึกอย่างเดียวกัน ความผูกพันทำให้แวะเวียนกลับมาอีกหลายครั้ง"

คันศร ณรงค์ เจ้าของร้านคเณศวร ศิลปินจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความเห็น เขาเปิดร้านที่นี่เข้าปีที่ 2 พร้อมทั้งยอดขายที่ดีขึ้นจากลูกค้าชาวต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่

"ราคา" เป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งเพราะวิธีคิดของศิลปินที่เข้ามาขายในจตุจักร แน่นอนว่าต้องพร้อมที่จะเบรกราคาตนเองไม่ให้สูงเช่นเดียวกับสินค้าที่วางขายในโรงแรม หรือแกลเลอรี่ตามห้างสรรพสินค้าหรู

ชาวต่างชาติ คือกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน "คนไทยได้เข้ามาดู แต่ฝรั่งซื้อ" เป็นสิ่งที่พวกเขาพอใจ ปัจจุบันชาวอเมริกันและยุโรปนิยมเลือกซื้อสินค้าเหล่านี้ไปแต่งบ้าน หลายรายมาสั่งซื้อเพื่อไปขายต่อ ส่วนผู้มีอาชีพตกแต่งภายในชาวสิงคโปร์ ไต้หวัน และฮ่องกง มาเลือกซื้อสินค้ากลับไป ตกแต่งบ้านหรือออฟฟิศให้ลูกค้า

"ตอนนี้สิ่งที่ผมทำอยู่คือธุรกิจ ไม่ใช่อาร์ต เพราะศิลปะจริงๆ น่าจะบริสุทธิ์กว่านี้ จะปราศจากอาการอยาก เมื่อผมคิดค้นงานสักชิ้น หนึ่ง หน้าตางานอย่างนี้ เทคเจอร์อย่างนี้น่าจะขายได้ น่าจะมีเก็บไว้สักชิ้นหนึ่ง นี่คือความคิดทางพาณิชย์ แต่การที่เห็นคนเข้ามาดู แล้วเขาชอบ ชื่นชมงาน นั่นคือความสุขของผม โดยที่เขาไม่จำเป็นต้องซื้อไปครอบครองและผมไม่ได้หวังว่าเขาจะต้องซื้อสักชิ้นกลับไป "ปิ่ง" ผลิตงานโลหะขายในโครงการนี้มาประมาณ 2 ปี เขาจบวิทยาลัยช่างศิลป์ และมาศึกษาต่อสายจิตรกรรมที่สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง งานของเขามักมีรูปทรงแปลกๆ ดึงดูดสายตาผู้ที่เดินผ่านไปมาให้หันกลับมามองอย่างพินิจพิเคราะห์เสมอ

ตลาดนัดศิลปะใหม่เป็นเรื่องที่ทุกคนยังคิด ยังฝัน แต่ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องใหญ่ เพราะหมายถึงการจัดโซนนิ่งใหม่หมดในจตุจักร ซึ่งปัจจุบันใครจะเปิดร้านขายอะไร ตรงไหน ขึ้นอยู่กับความ พอใจของลูกค้ารายใหม่ที่ไปเช่าช่วงร้านมาทำการค้าต่อ

ดังนั้นผู้คนที่เพลิดเพลินกับการเดินเลือกซื้อเซรามิก สินค้าตกแต่งบ้านอย่างสบายอารมณ์อาจจะถูกขัดจังหวะกับเสียงผัดก๋วยเตี๋ยวเสียงดังโฉ่งฉ่าง หรืออาจจะต้องสะดุ้งสุดตัวด้วยเสียงสุนัขที่เห่าโฮ่งๆ เพราะล็อกติดกัน คือกรงขายสุนัข

แต่นั่นคือ เรื่องราวและวิธีการจัดการที่ผู้บริหารบ้านเมืองต้องเอาไปคิด เพื่อขับเคลื่อนให้ "สวนจตุจักร" เป็นตลาดกลางแจ้งที่มีมาตรฐาน สร้างเสน่ห์ และดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกให้มาจับจ่ายซื้อของไปอีกนาน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us