Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2547
พันธวณิช 3 ปี แห่งการเดิมพัน             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 


   
www resources

โฮมเพจ พันธวณิช

   
search resources

เทเลคอมเอเซีย, บมจ.
พันธวณิช, บจก.
สุภสิทธิ์ ชุมพล, ม.ล.
E-Commerce




เพียงเพราะต้องการพิสูจน์ตัวเองในโลกธุรกิจใบใหม่อย่าง eCommerce ทำให้ ม.ล.สุภสิทธิ์ ชุมพล ตัดสินใจทิ้งอาชีพ "มนุษย์ทองคำ" ที่ทำมาเกือบ 20 ปี หันมาบุกเบิกธุรกิจ e-marketplace ร่วมกับกลุ่ม ซี.พี.

3 ปีผ่านไป ไม่เพียงแต่ธุรกิจจะเริ่มทำกำไร แต่พันธวณิชยังเตรียมพร้อมเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

หากเป้าหมายการระดมทุนเป็นผลสำเร็จ ไม่เพียงแต่จะเป็นตราประทับความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งให้กับ e-marketplace น่าจะเป็นช่วงเวลาที่ ม.ล.สุภสิทธิ์ ชุมพล มีความสุขมากที่สุดในชีวิตการทำงานของเขา

บริษัทพันธวณิชก่อตั้งขึ้นเมื่อ 3 ปี ที่แล้ว หลังวิกฤติเศรษฐกิจได้ไม่นาน ด้วยแนวคิดของ ม.ล.สุภสิทธิ์และกลุ่มเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น หรือทีเอ ที่มองเห็นโอกาสร่วมกันในการสร้างตลาดกลางการค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดขึ้นในไทย

ม.ล.สุภสิทธิ์ ชุมพล เป็นอดีตหัวหน้า กลุ่มธุรกิจการเงินสถาบัน บริษัท UBS WARBURG เขาไม่ใช่คนที่ชื่นชอบเทคโนโลยี ตรงกันข้ามเขาไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ แต่ประสบการณ์จากการอยู่ในวงการวาณิชธนกิจมาเป็นเวลา 12 ปี ทำให้เขาตระหนักดีถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสร้างโอกาสธุรกิจใหม่ๆ

ขณะที่กลุ่มทีเอคาดหวังว่าจะใช้โครงการนี้นำร่องเพื่อก้าวไปสู่การค้าผ่านอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดต้นทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ จัดจ้าง ให้กับธุรกิจในเครือซี.พี. เอง รวมถึงการให้บริการแก่ลูกค้าอื่นๆ

ช่วงเริ่มต้นธุรกิจ พันธวณิชเปิดตัวอย่างคึกคักให้กับตลาด ด้วยการดึงเครือซิเมนต์ไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ กลุ่มยูคอม เข้ามาแถลงข่าวร่วมในเส้นทางธุรกิจใหม่

แม้แนวคิดในการทำธุรกิจ e-procurement จะเต็มไปด้วยข้อดีจากการที่ธุรกิจสามารถลดต้นทุนจากการจัดซื้อที่ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีผู้ผลิตให้เลือกมากมาย และยังโปร่งใสตรวจสอบได้ ทว่ากลับไม่ง่ายอย่างที่คิด

"ที่จริงแล้วธุรกิจนี้มันไม่ได้ยาก แต่ยากที่ต้องผลักดันให้ผู้บริหารเบอร์ 1 ขององค์กรเชื่อ ผมต้องลงไปทุกอย่างตั้งแต่ พูดคุย อ้อนวอน" ม.ล.สุภสิทธิ์เล่า

เมื่อเส้นทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ เขาและทีมงานต้องอาศัยทั้งความขยันและอดทนเป็นอย่างมาก

เริ่มตั้งแต่การสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริหารระดับสูง การจัดสัมมนาเพื่อให้ความรู้แก่องค์กรธุรกิจ โดยทีมงาน 40 คนของบริษัทที่ล้วนแต่มีประสบการณ์ด้านการตลาด

จากมูลค่าการซื้อขายผ่านระบบประมูลออนไลน์ในปีแรกที่มีอยู่เพียงแค่ 200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 4,000 ล้านบาทในปีถัดมา และปี 2546 มูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นเป็น 14,000 ล้านบาท

ผู้ผลิตที่เข้ามาเสนอสินค้าก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น จากที่มีเพียงแค่ 10 รายในช่วงแรก ปัจจุบันเพิ่มเป็น 2,000 ราย

"ถามว่าช้าหรือไม่ ก็ต้องบอกว่าช้าไป เพราะช่วงแรกเรามองดีเกินไป เพราะกว่าจะได้สักราย ต้องอธิบายแล้วอธิบายอีก เพราะเราต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานของฝ่ายจัดซื้อ ก็เลยต้องใช้เวลา บางคนทำถึงขั้นที่ไปหลอกผู้ผลิตผิดๆ มาให้ 200-300 คน พอประมูลจริงก็เลยไม่มีการซื้อ ผมเสียเวลากับเรื่องเหล่านี้ไปเยอะ"

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางวิกฤติย่อมมีโอกาส นอกจากแก้ไขปัญหาจนการประมูลเริ่มกระเตื้องขึ้น ประสบ การณ์และการสะสมฐานข้อมูลในการซื้อขาย ทำให้พันธวณิชมองเห็นโอกาสจากการขยายผลไปสู่บริการใหม่ๆ ซึ่งเป็นการนำประสบการณ์ของการเป็น ที่ปรึกษามาประยุกต์ และถูกคาดหมาย ว่าจะเป็นแหล่งรายได้ใหม่ที่เข้ามาหล่อเลี้ยงบริษัท

บริการ Self Service Auction เป็นบริการติดตั้งและให้ลูกค้าเช่าระบบไปประมูลเองที่บริษัท

บริการ Credit Arbitrage ซึ่งเป็นการนำเอาประสบการณ์จากการเป็นที่ปรึกษามาประยุกต์ใช้ จากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำกว่าของผู้ซื้อ ลดต้นทุนของสินค้า จะเป็นบริการอีกชิ้นที่จะมากระตุ้นการใช้บริการประมูลออนไลน์

ทุกวันนี้ นอกจากจะมีรายได้จากประมูลออนไลน์แล้ว รายได้ที่กำลังเติบโตการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล้วนมาจากการบริการให้คำปรึกษาวางระบบจัดซื้อออนไลน์ให้กับองค์กรธุรกิจ

จากบริษัทที่ขาดทุนต่อเนื่องตลอด 3 ปีเริ่มมองเห็นกำไร เป้าหมายต่อไปของพวกเขา คือ การเข้าไประดมทุนในตลาด หลักทรัพย์ฯ เพื่อนำมาใช้หนี้และลงทุนสร้างบริการใหม่ๆ

"เราอยากเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เพราะเราอยากดัง เพราะเราเป็น e-marketplace แรกในเอเชีย และเป็นการตอกย้ำให้เห็น vision ของเราเมื่อ 3 ปีที่แล้วว่าเราเดินมาถูกทาง"

ขั้นแรกคือ การให้กับนักลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง ให้เข้ามาถือหุ้น 20% โดยจะเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 170 ล้านบาท ให้เป็น 330 ล้านบาท โดยเงินทุน 160 ล้านบาทที่ระดมมาได้ จะนำไปใช้หนี้ให้กับบริษัทฟรีวิว โซลูชั่น ประมาณ 143 ล้านบาท ที่เหลือใช้ลงทุนในบริการใหม่ และหาทีมงานที่เชี่ยวชาญเฉพาะแต่ละอุตสาหกรรมเข้ามาร่วมในองค์กร

สิ่งที่พวกเขามองในวันนี้ได้มองไกลไปถึงการร่วมมือกับ e-marketplace ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อสร้างโอกาส และขนาดของตลาดให้มากขึ้นกว่าเก่า ทั้งในแง่ของผู้ผลิตและผู้ขาย

และไม่ว่าผลจะลงเอยอย่างไร และ ยากลำบากเพียงใด แต่ผลงานในช่วง 3 ปี แรกของพันธวณิช ก็ทำให้ ม.ล.สุภสิทธิ์เริ่ม มั่นใจกับประโยคที่ว่า "ผมไม่เคยทำอะไร ไม่สำเร็จ"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us