Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2547
State Tower Story             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

The Dome
รัฐวดี บัวเลิศ CEO คนใหม่ แชลเล้นจ์ พร็อพเพอร์ตี้

   
www resources

โฮมเพจ แชลเลนจ์ กรุ๊ป

   
search resources

แชลเล้นจ์ กรุ๊ป
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ พาร์ทเนอร์, บจก.
เมอร์ริตัส
ราศรี บัวเลิศ
เชิดเกียรติ เชี่ยวธีรกุล
รัฐวดี บัวเลิศ
Real Estate




State Tower อาคารที่มีพื้นที่ขายมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บนถนนสีลม ถูกจับตามองมาโดยตลอด นับตั้งแต่ราศรี บัวเลิศ เข้ามาเทกโอเวอร์เมื่อปี พ.ศ.2537 ภาคแรก อาคารที่มีประวัติและเรื่องราวความเป็นมาน่าสนใจอย่างมากนี้ สามารถฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจก่อสร้างจนเสร็จสมบูรณ์ วันนี้ รัฐวดี บัวเลิศ CEO คนใหม่ ลูกสาวคนเดียวของราศรี เข้ามารับไม้ต่อจากผู้เป็นแม่ เธอจะใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการขายพื้นที่กว่า 300,000 ตารางเมตร ได้อย่างไร

State Tower Story ภาค 2 กำลังน่าติดตามทีเดียว

อาคารสูงตระหง่านถึง 68 ชั้น ริมถนนสีลมตัดกับถนนเจริญกรุงหลังนั้น มีเบื้องหลังที่น่าสนใจหลายเรื่องทีเดียว นอกเหนือจากราศรี บัวเลิศ เจ้าของโครงการที่เป็นเพียงเด็กสาว คนหนึ่งจากจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้มีเส้นทางชีวิตโลดโผนราวกับนิยาย (จากเรื่อง สายสัมพันธ์ธุรกิจ โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนเมษายน 2540)

ข้อมูลที่น่าสนใจเรื่องแรกคือ 1. เป็นโครงการที่มีการซื้อขายที่ดินราคาแพงที่สุดในปี 2533 จากบันทึกของกรมที่ดินคือตารางวาละ 270,000 บาท ทั้งหมด 5 ไร่เศษ เป็นเงินเกือบ 600 ล้านบาท

2. เป็นโครงการที่เจ้าของเดิมคือ รศ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ อดีตนายกสมาคมการค้าอาคารชุด ถูกข้อหาร้ายแรงจากทางราชการ จนไม่สามารถหาเงินทุนหมุนเวียนมาสร้างโครงการ "สีลม พรีเชียส ทาวเวอร์" ต่อได้และถูกทิ้งค้างไว้แค่ชั้น 22

3. ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงกำหนด Grand Opening ในเดือนกรกฎาคม 2547 ใช้เวลานานถึง 13 ปี

4. ตัวอาคารที่มีพื้นที่ขายถึง 330,000 ตารางเมตร มากกว่าทุกตึกในเมืองไทยและอาจจะรวมไปถึงตึกอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ยกเว้นตึก Petronas Twin Towers)

5. กลุ่มแชลแลนจ์ กรุ๊ป ซึ่งเข้ามาเทกโอเวอร์ต่อ ยังหน้าใหม่อยู่มากในวงการอสังหาริมทรัพย์ในขณะนั้นจนหลายคนปรามาสว่า ไม่มีทางทำให้โครงการเสร็จสมบูรณ์ได้ เพราะหลังจากปี 2537 เกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรงต่อเนื่อง

อย่างไรก็แล้วแต่ ราศรี บัวเลิศ ก็สามารถฟันฝ่า วิกฤติสร้างตึกมูลค่ากว่า 10,000 กว่าล้านบาท จนเสร็จ

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2547 ดร.เชิดเกียรติ เชี่ยวธีรกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัทแชลเลนจ์ พร็อพ เพอร์ตี้จำกัด ได้ประกาศแต่งตั้งรัฐวดี บัวเลิศ ลูกสาว คนเดียวของราศรี เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่คนใหม่

เป็น CEO ของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มี อายุเพียง 31 ปี แต่มีภาระหนักอึ้งรออยู่เบื้องหน้า เพราะนอกจากต้องรับผิดชอบการบริหารพื้นที่ขาย State Tower ซึ่งหากมองจำนวนพื้นที่แล้วก็คือ การขายตึกหลายตึกที่ซ้อนกันอยู่ข้างใน และยังมีบริษัทพัฒนาที่ดินในเครือที่กำลังเตรียมทำที่อยู่อาศัยทั้งในแนวราบ และคอนโดมิเนียมอีกหลายโครงการรวมทั้งงานบริหารโรงแรม "โรยัล เลคไซด์ โนโวเทล โรโตรัว" ในประเทศนิวซีแลนด์ และโรงแรมใหม่ที่เธอเพิ่งกลับจากการไปดูงานมา เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

รัฐวดีจบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนราชินีบน ปริญญาตรี Management Studies Royal Holloway, University จากประเทศอังกฤษ และจบปริญญาโท จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์

ก่อนขึ้นตำแหน่ง CEO เธอได้เข้าไปช่วยวางแผน ขายโครงการบ้านจัดสรร "ยิ่งรวยนิเวศน์ ประชาชื่น" ในตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป จนใกล้ปิดโครงการจึงได้เข้ามานั่ง ตำแหน่งกรรมการบริหารและรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายการตลาด บริษัทแชลเลนจ์พร็อพเพอร์ตี้ ดูแลเรื่องการขายของ State Tower เป็นหลัก

"ก่อนที่คุณแม่จะซื้อตึกนี้ได้เอาโบรชัวร์ไปให้ดู ตอนนั้นกำลังเรียนอยู่ที่อังกฤษ แม่จะถามความเห็นอีนเสมอ อาจจะเป็นเพราะเรามีกัน 2 คนแม่ลูก เลยถึงกันตลอด จำได้ว่าให้ความเห็นไปแบบเด็กๆ และตอนนั้นยังไม่คิดว่าตัวเองจะเข้ามารับผิดชอบโครงการนี้"

งานแรกของเธอหลังรับตำแหน่งใหม่คือการจัด กระบวนทัพ และกำลังพลใหม่ในองค์กรให้เสร็จสิ้นภาย ในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อเตรียมตัวทำธุรกิจพัฒนาที่ดิน อย่างต่อเนื่อง

พร้อมๆ กับบริหารงานขาย State Tower เพราะ ตึกนี้น่าจะได้เวลาสร้างเม็ดเงินหล่อเลี้ยงบริษัท หลังจาก ทุ่มทุนในเรื่องก่อสร้างมานาน โดยในปี 2537 โครงการต่างๆ ที่เป็นส่วนผสมสำคัญจะเริ่มทยอยเปิดตัว โดย เฉพาะ "The Dome" ซึ่งเป็นแม่เหล็กสำคัญ (อ่านรายละเอียดในล้อมกรอบ)

State Tower สูงถึง 68 ชั้น พื้นที่ขายแบ่งออกเป็น 1,710 ยูนิต ใน 4 ส่วนหลักคือ ร้านค้าจำนวน 90 ยูนิต คอนโดมิเนียม 650 ยูนิต เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ 500 ยูนิต และออฟฟิศทาวเวอร์ อีก 460 ยูนิต

ตัวเลขความคืบหน้าการขายโครงการในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ระบุว่า พื้นที่ร้านค้า 4 ชั้น 90 ยูนิตนั้นขายไปแล้วกว่าครึ่ง คอนโดฯ ขายไปแล้วประมาณ 400 ยูนิต ส่วนออฟฟิศเหลือเพียง 144 ยูนิต

และเมื่อเร็วๆ นี้ หลังจากผู้บริหารระดับสูงของบริษัท Thailand Privilege Card ได้ตระเวนดูสถานที่ตั้ง ของ Elite Card Club สำหรับไว้บริการสมาชิกที่ถือบัตรทอง Elite Card มาหลายที่ ในที่สุดก็ได้มาตกลงเซ็นสัญญาเช่าพื้นที่ชั้น 60-62 ของตึก State Tower โดยภายในจะประกอบไปด้วยร้านค้าและสิ่งอำนวยความ สะดวกต่างๆ ให้กับสมาชิก ซึ่งตั้งเป้าการขายไว้ถึง 1 แสนบัตร ภายในปี 2547

พื้นที่ทั้ง 3 ชั้นนั้นเดิมทีทางโครงการกำหนดไว้ให้เป็นเพนต์เฮาส์สุดหรูราคาแพง แต่เมื่อได้ข้อเสนอที่แน่นอนกว่าจากองค์กรของรัฐ และยังได้รับผลพวงต่อเนื่องไปถึงการเข้าไปใช้บริการส่วนอื่นๆ ในตัวตึกอีกด้วย ดีลในครั้งนี้จึงเป็นเรื่องที่ดีมากๆ

และที่สำคัญ แชลเลนจ์ กรุ๊ป ยังมีพื้นที่อีกมากที่จะต้องดูแลการขาย

ในช่วงแรกบริษัทพลัส พร็อพเพอร์ตี้ พาร์ตเนอร์ จำกัด ในเครือบริษัทแสนสิริ (มหาชน) ได้เข้ามาช่วยการขาย และมีกลุ่มเมอริตัส โรงแรมแอนด์รีสอร์ต จากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีโรงแรมในกลุ่มเครือข่ายทั่วเอเชียเข้ามาเป็นพันธมิตรรับผิดชอบในการหาลูกค้าบนชั้น 21-26 และชั้น 51-60 จำนวน 500 ยูนิตซึ่งกำหนดเป็น Luxurious Suites หรือเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์

แชลเลนจ์ กรุ๊ป ทำสัญญากับกลุ่มเมอริตัสเป็นเวลา 10 ปี โดยจะต้องหาลูกค้ามาเช่าพื้นที่ให้ได้ไม่น้อย กว่า 70-80 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมด ในยุคของราศรี บัวเลิศ สายสัมพันธ์ธุรกิจ ได้เริ่ม ถักทอจากแวดวงนักการเมืองและทหาร จนเมื่อเข้ามาสู่เส้นทางธุรกิจพัฒนาที่ดิน การดึงมืออาชีพในวงการนี้จึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันหลายคนยังอยู่ หลายคน ได้ออกไปแล้ว

ยุคของรัฐวดี ยังยึดแนวทางสร้างพันธมิตรธุรกิจของมารดาเป็นโมเดล เพียงแต่คราวนี้ได้ดึงเอาบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติเข้ามาร่วมทีม โดยเฉพาะในเรื่องการบริหารอาคารหลังการขาย ซึ่งสำคัญอย่างมากในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโครงการ ซึ่งอยู่ในระหว่างเจรจากับหลายบริษัท เช่น แคปปิตอลแลนด์ จากประเทศสิงคโปร์ และบริษัทในฮ่องกง

รวมทั้งแผนการดึงผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรต่างๆเข้ามาเสริมทีมยังคงมีอย่างต่อเนื่อง รัฐวดีย้ำว่า วิธีการนี้ เป็นเสมือนหนทางลัดเพื่อให้ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น

วันนี้ พื้นที่ของโดมชั้นบนที่เปรียบเหมือนมงกุฎเพชรของโครงการ กำลังเร่งมือในเรื่องการตกแต่งภายใน พื้นที่พลาซ่าชั้นล่างซึ่งตกแต่งด้วยฝีมือของแจ็คกาลีนและอองรี นักออกแบบ 2 สามีภรรยาจากประเทศฝรั่งเศส กำลังมีร้านค้าทยอยเข้ามาตกแต่งร้าน โดยมีสตาร์บัคส์ เปิดสาขาใหม่ไปแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

ดูเหมือนว่าทุกอย่างในโครงการนี้กำลังเตรียมความพร้อมให้ลูกค้าได้เข้ามาพิสูจน์ แต่ยอดขายจะเป็นไป ตามที่รัฐวดีคาดหวังไว้หรือไม่ คงต้องรอเวลา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us