Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2544
Start small, finish Big             
 





เมื่อตอนที่เฟรด เดอลูกาอายุเพียง 17 ปี เขาขอยืมเงิน 1,000 ดอลลาร์จากเพื่อนคนหนึ่ง แล้วเริ่มทำธุรกิจเชนขายแซนด์วิช "SUBWAY" จนปัจจุบันมีร้านสาขา 14,000 แห่งใน 70 ประเทศและยังอ้างว่ามีรายได้ถึง 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี ขณะนี้เดอลูกากำลังจะช่วยเหลือบรรดาผู้ประกอบการรายเล็กอื่นๆ ซึ่งต้องการสร้างธุรกิจด้วยเงินไม่ถึง 1,000 ดอลลาร์ โดยผู้สนใจสามารถหาอ่านได้จาก Start Small, Finish Big

เดอลูกาได้เสนอบทเรียน 15 ประการในการสร้างและบริหารธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จโดยเริ่มต้นจากเงินทุนเพียงเล็กน้อย บทเรียนต่างๆ นำเสนออย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่การเริ่มต้นธุรกิจเล็กๆ การสร้างกำไรให้ได้แม้จะเล็กน้อย การหาลูกค้าให้ได้ทุกวัน ไปจนถึงการสร้างชื่อยี่ห้อ

นอกจากคำแนะนำที่ชัดเจนหนักแน่นแล้ว เดอลูกายังนำเสนอตัวอย่างสนับสนุนกรณีศึกษาต่างๆ ของผู้ประกอบการรายเล็กอีก 22 รายไม่ว่าจะเป็นเอียน ลีโอโปลด์ ซึ่งเริ่มต้นด้วยเงินเพียง 96 ดอลลาร์สหรัฐ จนปัจจุบันมีธุรกิจสิ่งพิมพ์มูลค่า 10 ล้านดอลลาร์ หรือแฟรงค์ อาร์เจนไบรท์ ซึ่งเริ่มต้นธุรกิจ AHL Services ด้วยเงิน 500 ดอลลาร์สหรัฐ จนกระทั่งเป็นกิจการมูลค่านับพันล้านดอลลาร์

- แรงบันดาลใจจากบังกลาเทศ

Start Small, Finish Big เป็นยิ่งกว่าตำนานแห่งความสำเร็จและคู่มีอประเภทฮาว-ทูที่สอนวิธีรวย เดอลูกาเล่าว่าครั้งหนึ่งเขาได้ชมรายการ 60 Minutes และรู้สึกนิยมในตัวมูฮัมมัด ยูนัส ชาวบังกลาเทศ ผู้ริเริ่มการให้กู้ยืมเงินรายย่อยแก่คนยากจนให้ทำธุรกิจเล็กๆ ของตนเองได้

"ตอนผมดูรายการเล่าถึง ดร.ยูนัสว่าเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนชาวบังกลาเทศอย่างไร ผมก็เข้าใจทันทีว่าเงินจำนวนเล็กน้อยนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตคนเราไปได้ตลอดกาลเลยทีเดียว" เขาบอก "และตอนนั้นเองที่ผมตัดสินใจว่าจะช่วยเผยแพร่แนวคิดเรื่องผู้ประกอบการรายเล็ก เพื่อให้เป็นประโยชน์กับผู้อื่นได้เพิ่มขึ้น"

นอกจากการสนับสนุนโครงการ Grameen-Subway Micro-Credit Initiative แล้ว เดอลูกายังให้ทุนก่อตั้งกับกิจการประเภทไม่มุ่งกำไรที่ชื่อ "Micro Investment Lending Enterprise หรือ MILE ด้วย โดย MILE จะปล่อยกู้แก่บุคคลที่ไม่มีเครดิตพอที่จะได้สินเชื่อจากสถาบันการเงินอื่น แต่ต้องการริเริ่มธุรกิจของตนเอง เดอลูกายังบอกด้วยว่า หนังสือเล่มนี้จะเน้นไปที่การผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการรายเล็กซึ่งต้องการทำธุรกิจ แต่ไม่จำเป็นต้องร่ำรวยมหาศาล

"คำว่า žBIGž ที่เป็นชื่อหนังสือจึงอาจจะหมายถึงการทำธุรกิจพาร์ตไทม์ ธุรกิจที่ทำอยู่กับบ้าน แผงขายของตามห้างสรรพสินค้า" เดอลูกาอธิบาย "หรืออาจจะหมายถึงเชนห้างสรรพสินค้าไปจนถึงบริษัทระหว่างประเทศก็ได้ แล้วแต่ว่าคุณจะกำหนดนิยามเรื่องเล็กหรือใหญ่ยังไง"

หนังสือเล่มนี้จึงเป็นคู่มือที่มีคุณค่าสำหรับผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในระยะยาว แถมท้ายด้วยภาคผนวกโครงการสินเชื่อขนาดย่อมในสหรัฐฯ หากคุณเห็นด้วยกับแนวคิดของเดอลูกาก็สามารถเข้าร่วมโครงการกับเขาได้ แต่ที่แน่นอนก็คือเงินรายได้จากการขายหนังสือเล่มนี้ก็นำเข้าสู่โครงการ MILE แน่นอน

ล้อมกรอบ บทเรียน 15 ประการของเดอลูกาสำหรับผู้ประกอบการรายเล็ก (microentrepreneurs)
บทเรียนที่ 1 เริ่มจากกิจการขนาดเล็ก
บทเรียนที่ 2 ทำกำไรแบบเก็บเล็กผสมน้อย
บทเรียนที่ 3 เริ่มต้นจากความคิดดีๆ สักอย่าง
บทเรียนที่ 4 คิดแบบมีวิสัยทัศน์
บทเรียนที่ 5 เชื่อมั่นและศรัทธา
บทเรียนที่ 6 เตรียมพร้อม ยิงให้ตรงเป้า
บทเรียนที่ 7 ถ้าไม่กำไรก็เจ๊งไปเลย
บทเรียนที่ 8 มองแต่ในแง่ดีไว้
บทเรียนที่ 9 ปรับปรุงธุรกิจไปอย่างต่อเนื่อง
บทเรียนที่ 10 เชื่อมั่นในคนของคุณ
บทเรียนที่ 11 อย่าให้เงินขาดมือ
บทเรียนที่ 12 หาลูกค้าใหม่ให้ได้ทุกวัน
บทเรียนที่ 13 มุ่งมั่นอดทน อย่ายอมแพ้ง่าย ๆ
บทเรียนที่ 14 สร้างชื่อยี่ห้อสักชื่อขึ้นมา
บทเรียนที่ 15 โอกาสไม่เคยรอใคร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us