Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 กุมภาพันธ์ 2547
โทร.ต่างประเทศVOIPหอม "8เอกชน"รุมตอมให้บริการ             
 


   
www resources

โฮมเพจ กสท โทรคมนาคม
โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

   
search resources

กสท โทรคมนาคม, บมจ.
ทศท คอร์ปอเรชั่น
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ฮาตาริ เทคโนโลยี, บจก.
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
สมควร บรูมินเหนทร์
Telephone




ธุรกิจโทร.ต่างประเทศผ่านระบบ VOIP หรืออินเทอร์เน็ตเนื้อหอม 8 เอกชนรุมตอมทศทแย่งให้บริการ แต่เป็นลักษณะการนำทราฟฟิกเข้าจากต่างประเทศ ท่ามกลางเงื่อนงำที่ทศทโดย BG 8 ของดร.สมควร อนุมัติให้ฮาตาริผู้ทำตลาดให้กสททดลองบริการไปตั้งแต่ต้นปี คนในวงการชี้เหตุต้องรีบอนุมัติเพราะ เกรงหมดอำนาจวาสนาหลังเกิด BU ร่วม

แหล่งข่าวจากบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ทศทได้ร่างบันทึกข้อตกลงโครงการทดลองนำเข้าทราฟฟิกจากต่างประเทศ กับบริษัทเอกชนที่ต้องการให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศในระบบ Voice Over Internet Protocol(VOIP) จำนวนทั้งสิ้น 7 ราย คือบริษัท Lesonic บริษัท Samart บริษัท Atlantex บริษัท AGC บริษัท Brighter Technology บริษัท Traffic Management และบริษัท LENSO PHONECARD ตามนโยบายของ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ที่ต้องการเห็นการสื่อสารระหว่างประเทศมีราคาถูก ลง ทั้งในส่วนของโทรศัพท์ระหว่างประเทศในระบบ International Direct Dialing(IDD)ที่ได้ประกาศลดราคาไปแล้ว และในส่วน VOIP ก็ต้องการให้มีการใช้งานในระบบให้ถูกต้อง แทนที่การลักลอบให้บริการอย่างมากมายที่ผ่านมาโดยจะให้อัตราบริการ VOIP มีราคาลดลงจากอัตรา IDD ใหม่ลงไปอีกอย่างน้อย 20%

เอกชนที่สนใจนำบริการ VOIP มาให้บริการ ต้องยินยอมที่จะจ่ายค่านำทราฟฟิกเข้าประเทศไทย ตามอัตราดังนี้ คือ 1.ภายใน 5 แสนนาทีแรกคิด 1.70 บาทต่อนาที 2.ตั้งแต่ 5 แสนถึง 1 ล้านนาที คิด 1.60 บาทต่อนาที 3.ตั้งแต่ 1 ล้านถึง 2 ล้านนาทีคิด 1.55 บาทต่อนาที และ 4.ตั้งแต่ 2 ล้านนาทีขึ้นไปคิด 1.50 บาทต่อนาที โดยให้ทดลองเป็นเวลา 6 เดือน บริษัทรายใดไม่สามารถนำเข้าทราฟฟิกได้เดือนละ 2 ล้าน ทศท มีสิทธิบอกเลิกข้อตกลง โดยยอมผ่อนผันให้เดือน แรกต้องนำเข้าทราฟฟิกไม่ต่ำกว่า 5 แสนนาที

"เอกชนต้องติดตั้งอุปกรณ์พร้อมให้บริการ ภายใน 1 เดือนหลังเซ็นสัญญา"

แหล่งข่าวกล่าวว่า ประเด็นที่น่าสนใจของธุรกิจ VOIP คือก่อนหน้าที่น.พ.สุรพงษ์จะมี นโยบายให้ทศทกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จัดตั้งหน่วยงานในลักษณะเป็น Business Unit พร้อมทั้งให้มีผู้จัดการร่วม (Co-MD) ที่เป็นตัวแทนจากทั้ง 2 บริษัทในส่วนของธุรกิจโทรศัพท์ระหว่างประเทศในการกำหนดแผนงานร่วมกันเพื่อนำไปสู่การควบรวมกิจการกันได้ง่ายขึ้นทั้งในเรื่อง IDD และ VOIP

แต่ปรากฏว่าตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2547 ทศทโดยดร.สมควร บรูมินเหนทร์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มธุรกิจบริการระหว่างประเทศ (BG8) อนุญาตให้บริษัท Hatari Technology ซึ่งเป็นตัวแทนทำตลาดบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศผ่านระบบ VOIP ให้กับกสท ทดลองนำเข้าและส่งออกทราฟฟิก VOIP ในลักษณะของการขายส่งผ่านโครงข่ายของทศท โดยคิด 5 แสนนาทีแรกไม่น้อยกว่านาทีละ 1.70 บาทหรือไม่น้อยกว่านาทีละ 1.50 บาท ในส่วนที่เกิน 2 ล้านนาทีในแต่ละเดือน ได้เสนอให้มีการนำเข้า ทราฟฟิกจากต่างประเทศก่อนซึ่งประมาณการรายได้จากการทดลองของผู้นำเข้าทราฟฟิกนี้ไว้ 4 ล้านบาทต่อเดือน

ก่อนหน้าที่ทศทจะร่างบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้กับเอกชนรายอื่นขึ้นมาในสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้ Hatari ได้ติดตั้งอุปกรณ์ไปแล้วเป็นระยะเวลาเกือบ 2 เดือน ที่ชุมสายกรุงเกษม และเป็นการทดลองบริการที่ไม่ได้มีการบันทึกปริมาณทราฟฟิกที่เกิดขึ้นจริงรวมทั้งไม่มีข้อตกลงในการจ่ายผลตอบแทนให้ทศทอย่างชัดเจน

ยิ่งไปกว่านั้นคือนโยบายของน.พ.สุรพงษ์ ต้องการที่จะให้คนไทยสามารถที่จะติดต่อไปต่างประเทศ ถูกลงคือการโทร.ออกจากประเทศไทย แต่ทั้ง 8 รายที่เสนอตัวเข้ามาล้วนแต่สนใจให้บริการแบบการนำทราฟฟิกจากต่างประเทศเข้ามายังประ-เทศไทยมากกว่า ซึ่งทำให้เจตนาในการให้มีบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศผ่านระบบ VOIP ราคาถูกไม่เกิดขึ้น

การที่เอกชนสนใจเสนอตัวแต่แบบการนำทราฟฟิกเข้าประเทศเป็นเพราะการวางระบบซับซ้อนน้อยกว่าและต้นทุนค่าใช้จ่ายถูกกว่า เพราะหากต้องการส่งทราฟฟิกออกหรือโทร.ออกต่างประเทศจำเป็นต้องมีการลงทุนในระบบบิลลิ่งซอฟต์แวร์ต่างๆจำนวนมาก

"แม้ทศทจะรับผิดชอบเรื่อง VOIP โดยตรง แต่ในลักษณะการทำงาน BU ร่วมจะทำงานเป็นเอกเทศ และถ้าจะให้เป็นประโยชน์โดยเอาทราฟฟิกเถื่อนขึ้นมาบนดินควรต้องประกาศให้เอกชนรับรู้วงกว้างไม่ใช่แค่รู้กันในหมู่เอกชนแค่ 7-8 ราย เท่านั้นที่สำคัญบางรายทดลองไปก่อน 2 เดือนยังไม่มีความชัดเจนเรื่องเก็บเงิน ขนาดรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ด้านการเงินยังไม่รู้เรื่องว่าจะเก็บเงินเก็บทองอย่างไร เรื่องนี้กลายเป็นว่าดร.สมควรกับผู้อำนวยการฝ่ายรู้เรื่องกัน 2 คน" แหล่งข่าวกล่าวและย้ำว่า การดำเนินการอย่างรีบเร่งภายใต้ BG8 ของทศทอาจเป็นเพราะเมื่อมี BU ร่วมแล้วอำนาจการอนุมัติหรือความรับผิดชอบจะต้องถูกถ่ายโอนไปให้ BUร่วมทำให้หมดอำนาจวาสนาที่เคยมี จึงต้องเร่งดำเนินการ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us