Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 กุมภาพันธ์ 2547
แผนยูบีซีสะดุดหลังโฆษณาไม่คืบ             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ อสมท.

   
search resources

ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (MCOT)
สมพันธ์ จารุมิลินท
วิษณุ เครืองาม
TV




ยูบีซี ทำใจแผนมีโฆษณาปีนี้ไม่คืบ ส่งผลเพิ่มช่องรายการใหม่ ให้บริการอินเตอร์แอกทีฟ ทีวีชะงัก เผยค่าเงินบาทแข็งไม่จำเป็นต้องปรับราคา สมาชิก ระบุปัญหาเคเบิลเถื่อนรุมเร้าปีก่อนสมาชิกวูบ แต่ทำกำไรครั้งแรกรอบ 9 ปีจากปรับราคาขึ้น 160 บาททุกแพกเกจ หวังกรมประชาสัมพันธ์จัดระเบียบเคเบิลเถื่อนสำเร็จ หากมีกำไรต่อเนื่อง ลดขาดทุนสะสมสำเร็จ พร้อมจ่ายปันผลไตรมาสแรกปีหน้า

นายสมพันธ์ จารุมิลินท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือยูบีซี เปิดเผยว่ายูบีซีได้ขอให้องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก (เคเบิลทีวี)ยูบีซี พิจารณาคำร้องให้มีโฆษณาในช่องยูบีซีมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งขอให้กรมประชาสัมพันธ์ที่เป็นผู้ดูแลกฎหมายที่ห้ามไม่ให้เคเบิลทีวีมีโฆษณาทบทวน กฎเกณฑ์นี้อีกครั้ง เนื่องจากข้อห้ามนี้ไม่ได้ใช้บังคับอย่างเท่าเทียมกัน คือ ไม่ได้บังคับกับผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่น และช่องไทยทีวีที่ ได้รับสัมปทานโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก แต่สามารถมีโฆษณาได้

อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ได้รับความสนใจจากภาครัฐมากขึ้น ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม กำลังพิจารณาเรื่องนี้อยู่ แต่เรื่อง ดังกล่าวก็ยังไม่ไปถึงไหน และภาครัฐก็ไม่มีกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนในการพิจารณาเรื่องนี้คาดว่าตลอดปี 2547 ภาครัฐก็ยังไม่มีข้อสรุปในเรื่องนี้ออกมา ซึ่งยูบีซีก็ไม่มีบทบาทจะไปกำหนดระยะเวลาการพิจารณา ทุกอย่างอยู่ที่การ ตัดสินใจของภาครัฐ

จากการศึกษาเคเบิลทีวีของประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย พบว่ารายได้จากการโฆษณาคิดเป็น สัดส่วนเพียง 5% ของรายได้ทั้งหมด แต่มีกำไร ประมาณ 60-70% ดังนั้นหากเคเบิลทีวี มีโฆษณา ก็จะทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้นเพียง 3.5% เท่านั้น ถึงแม้ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการมีโฆษณาในยูบีซีได้หรือไม่ ปีนี้ยูบีซีก็ไม่มีนโยบายจะปรับราคาสมาชิกเพิ่ม เนื่องจากค่าเงินบาทคงที่ ทำให้ต้นทุน ค่าใช้จ่ายการซื้อลิขสิทธิ์รายการจากต่างประเทศไม่เปลี่ยนแปลง

"หากยูบีซียังไม่สามารถมีโฆษณาได้ การดำเนินการต่างๆ ที่อยู่ในแผนการไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มช่องรายการใหม่จากผู้ประกอบการที่สนใจ การให้บริการดิจิตอล อินเตอร์แอกทีฟ ทีวี บริการโฮม ชอปปิ้ง ที่เตรียมไว้ก็ไม่สามารถดำเนินการได้เช่นกัน"

นายสมพันธ์ กล่าวต่อว่าปัจจุบันยูบีซียังประสบปัญหาเรื่องการลักลอบขโมยสัญญาณ จากเคเบิลทีวีเถื่อนที่ลักลอบสัญญาณรายการจาก ต่างประเทศ และจากยูบีซี และนำไปทำการค้า ในเชิงพาณิชย์โดยไม่จ่ายค่าลิขสิทธิ์ โดยเคเบิล ทีวีเถื่อนเรียกเก็บค่าสมาชิกรายละ 300-400 บาท โดยมีช่องรายการให้บริการ 40-50 ช่อง ขณะนี้พบว่ามีผู้ประกอบการเคเบิลทีวีเพิ่มขึ้นสูงมากจาก 78 รายในปี 2545 เพิ่มเป็น 350 รายในปี 2546 มีสมาชิกรวมกันกว่า 1.5 ล้านครัวเรือน การเติบโต ของผู้ประกอบการเคเบิลทีวีเถื่อนในขณะนี้ยังเป็นปัญหาที่ภาครัฐยังแก้ไขปัญหาไม่ได้ และส่งผลกระทบโดยตรงให้สมาชิกยูบีซีลดลง

ในปีที่ผ่านมาบริษัทได้ทำโครงการขายรายการ 10 ช่อง ราคา 150 บาท ให้กับผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่น ที่มีใบอนุญาต แต่ก็ไม่มีรายใดสนใจซื้อรายการจากยูบีซี เพราะเกรง ว่าจะเสียเปรียบเคเบิลทีวีเถื่อนที่ไม่มีต้นทุนในส่วนนี้

ทั้งนี้ พบว่าใน 6 เดือนแรกของปีก่อนที่มีปัญหาเคเบิลเถื่อนรุมเร้า และการปรับราคาสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 160 บาททุกแพกเกจของยูบีซีในเดือน พ.ค.2546 ทำให้สมาชิกยูบีซีลดลง 50% มีการยกเลิกการเป็นสมาชิกเฉลี่ยเดือนละ 2% แต่สถานการณ์เริ่มดีขึ้นในช่วง 6 เดือนหลังที่มีสมาชิก ยกเลิกลดลง อยู่ในระดับ 1.17% ปีก่อนสมาชิกยูบีซีลดลงทั้งปีประมาณ 3,000 ราย ทั้งนี้ สัดส่วนที่เหมาะสมและเป็นปกติของการยกเลิกเป็นสมาชิกเคเบิลทีวีควรจะอยู่ที่ 0.8% ต่อเดือน คาดว่าปีนี้อัตราการยกเลิกสมาชิกยูบีซีจะอยู่ในระดับ ที่ดีขึ้น ปัจจุบันยูบีซีมีสมาชิกประมาณ 4.4 แสนราย

นายสมพันธ์กล่าวต่อว่า สำหรับผลประกอบการของยูบีซีปี 2546 มีรายได้ 7,178 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 5.9% มีผลกำไรสุทธิ 131 ล้านบาท ขณะที่ปีก่อนขาดทุน 258 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 150% เป็นผลประกอบการในรอบ 9 ปีที่ยูบีซีมีกำไร ซึ่งมาจากปัจจัยการปรับราคาสมาชิกเพิ่มอีก 160 บาท ทุกแพกเกจ แต่ยังประสบปัญหาขาดทุนสะสมประมาณ 12,800 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แผนการดำเนินงานในปีนี้ ยูบีซียังเน้นการจัดการปัญหาการลักลอบสัญญาณ คาดว่าต้องใช้ระยะเวลา 12-18 เดือน ปัญหาดังกล่าวน่าจะลดลง เพราะขณะนี้กรมประชาสัมพันธ์ ได้เชิญชวนผู้ประกอบการเคเบิลทีวีที่ไม่มีใบอนุญาตเข้ามาอยู่ในเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อควบคุมให้อยู่ในกฎระเบียบก่อนจะทำการจับกุมอย่างจริงจัง ซึ่งเรื่องนี้หากดำเนินการได้สำเร็จจะส่งผลดีต่อยูบีซีด้วย โดยอาจจะมีครัวเรือนที่เป็นสมาชิกเคเบิลทีวีเถื่อนมาเป็นสมาชิกยูบีซีเพิ่มนับแสนราย

นอกจากนี้ ยูบีซีจะเพิ่มรายการให้มีความหลากหลาย โดยเฉพาะรายการที่ผลิตในประเทศ เพิ่มฐานลูกค้าระดับบน โกลด์แพกเกจมากขึ้น ใช้กลยุทธ์เจาะตลาดระดับล่าง และเข้าไปขายโปรแกรมให้เคเบิลทีวีท้องถิ่นมากขึ้น ปีนี้ยูบีซีจะใช้เงินจำนวน 2-4 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อลงทุน ด้านรายการ โดยคาดหวังว่าปีนี้ยูบีซีจะมีอัตราการเติบโตด้านรายได้ประมาณ 8-9% ซึ่งคิดบนพื้นฐานที่ยังไม่มีโฆษณา และยังมีปัญหาเคเบิล ทีวีเถื่อน

หากปีนี้ยูบีซีมีฐานะการเงินดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีเงินสดสำรองเพิ่มขึ้น รวมทั้งสามารถ ลดขาดทุนสะสมลงได้บางส่วน ได้วางเป้าหมาย จะจ่ายเงินปันผลภายในไตรมาสแรกปี 2548

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us