การเลือกสรรบุคลากรและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถไว้กับองค์กร เป็นยุทธศาสตร์ทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์
และในปัจจุบันก็มีการกล่าวถึงสิ่งที่เรียกว่า "the employer of choice" หรือ
EOC กันมากขึ้น แนนซี เอส. อาห์ลริชส์ ที่ปรึกษาทางด้านทรัพยากรบุคคล จึงนำเสนอประเด็นนี้ใน
Competing for Talent
การคัดเลือกคนใหม่
สิ่งหนึ่งที่ EOC ให้ความสำคัญก็คือ การลดวงจรเวลาและเพิ่มความเป็นกันเองในกระบวนการสรรหาบุคลากร
เพราะองค์กรส่วนใหญ่มักมีขั้นตอนการสรรหาบุคลากร ที่เป็นแบบแผนเหมือนระบบราชการจึงไม่สามารถดึงดูดผู้ที่มีความสามารถจริงได้
อาห์ลริชส์เสนอว่า "ทุกวันผู้สมัครที่มีความสามารถ ซึ่งรวมทั้งจากภายในองค์กรด้วย
กำลังถูกแย่งชิงตัวไปอย่างรวดเร็วโดยองค์กรที่มีความไวต่อเรื่อง EOC มากกว่า"
นอกจากนั้น EOC ยังให้ความสำคัญกับความรู้ความสามารถ (เช่น ความริเริ่มหรือความสามารถในการแก้ไขปัญหา)
มากกว่าทักษะที่ใช้ในระหว่างการสัมภาษณ์หรือว่าจ้างพนักงานใหม่ อาห์ลริชส์บอกพนักงานที่เก่ง
ย่อมสามารถสร้างขอบเขตหน้าที่การงาน ที่ผนวกรวมเอาความรู้ความสามารถส่วนตัว
เข้ากับบุคลิกภาพส่วนตัวของผู้ที่ทำงานได้ดีในตำแหน่งดังกล่าว
การคัดเลือกบุคลากรตามแนว EOC ไม่จำเป็นต้องยุติลงด้วยการจ้างพนักงาน แต่ยังมุ่งเน้นไปที่กระบวนการในการปฐมนิเทศ
พนักงานเพื่อให้เกิดความประทับใจในเชิงบวกต่อองค์กรและวัฒนธรรมองค์กร แล้วประสานคนใหม่ให้เข้ากับกลุ่มงาน
‘ การรักษาพนักงานไว้
ในอีกส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงยุทธศาสตร์ในการรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้กับองค์กร
ขั้นแรกคือการมีกลยุทธ์และกระบวนการ ที่ระบุได้อย่างเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการลาออกของพนักงาน
EOC ไม่เพียงสืบหาสาเหตุด้วยการสัมภาษณ์ก่อนลาออก แต่ยังมีขั้นตอนสกัดกั้นหรือป้องกัน
เพื่อลดจำนวนการลาออกของพนักงานก่อนที่จะเกิดปัญหาด้วย
ตัวอย่างเช่น EOC อาจจัดให้มีคณะกรรมการข้ามสายงาน (โดยรวมทั้งสายการบริหารและที่ไม่ใช่สายบริหารด้วย)
เพื่อให้คำแนะนำเป็นระยะๆ โดยอาจซักถามความเห็นเกี่ยวกับการลาออกของพนักงานด้วยคำถามต่างๆ
เช่น "คุณคิดจะลาออกจากงานบ้างหรือเปล่าในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา", "คุณดำเนินการใดๆ
เพื่อลาออกจากองค์กรไปบ้างหรือไม่อย่างไร" หรือ "ทำไมคุณจึงรู้สึกไม่พอใจองค์กร"
ทั้งนี้ต้องให้แน่ใจว่าคำตอบเหล่านี้เป็นคำตอบที่ไม่มีการเปิดเผยชื่อผู้ให้คำตอบอย่างแน่นอน
อาห์ลริชส์ยังระบุถึงสไตล์การบริหารและวัฒนธรรมองค์กร ที่ช่วยกระตุ้นให้มีการรักษาพนักงานได้
โดยชี้ว่าองค์กรที่จัดให้มีทีมบริหารงานกันเอง และไม่กลัวการกระจายอำนาจการตัดสินใจมี
แนวโน้มจะดึงพนักงานที่มีความสามารถสูงไว้ได้มาก ภาวะผู้นำในทุกระดับเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญ
นอกจากนั้น องค์กรยังต้องให้ความสำคัญกับแผนการพัฒนาพนักงาน การให้ผลตอบแทนแบบ
มีทางเลือก ตลอดจนผลประโยชน์อื่นที่จะกระตุ้นให้พนักงานมีความภักดีต่อองค์กร
‘ ภาพรวมที่เข้าใจได้กระจ่าง
นอกจากหนังสือเล่มนี้จะให้เครื่องมือต่างๆ อย่างเป็น ขั้นตอนแล้ว ยังให้ภาพรวมในประเด็นการคัดเลือกและรักษา
พนักงานไว้กับองค์กรด้วย โดยมีประเด็นย่อยๆ อาทิ ผลประโยชน์ขั้นต่ำที่จะได้จากการที่มีการลาออกของพนักงานน้อย
ลักษณะของ EOC และความสำคัญของชุมชนที่เกี่ยวข้อง นับเป็นคู่มือสำหรับนักบริหารฉบับที่ชี้แนะแนวปฏิบัติจริงเพื่อช่วยให้องค์กรก้าวไปสู่การเป็น
"ที่ทำงานที่ดีเยี่ยมแห่งหนึ่ง" ต่อไป
การจำลองสถานการณ์การทำงาน ในกระบวนการสัมภาษณ์ การจำลองสถานการณ์การทำงานในกระบวนการสัมภาษณ์
จะช่วยให้องค์กรระบุตัวผู้สมัครที่จะทำงานได้ดี อาห์ลริชส์ได้เสนอสถานการณ์จำลองสี่แบบดังนี้
1. มอบหมายโครงงานจริงให้ทำโดยอาจใช้วิธีจ่ายค่าตอบแทนให้หรือไม่ก็ได้
2. จัดกิจกรรมการทำงานจำลองหนึ่งชั่วโมงหรือหนึ่งวัน เพื่อดูถึงวิธีการตัดสินใจและปริมาณงานที่คาดว่าจะรับได้ในช่วงเวลาดังกล่าว
3. ขอให้ผู้สมัครจัดการประชุมเพื่อทดสอบทักษะในการเป็นผู้นำ (ให้ผู้สมัครได้มีเวลาเตรียมตัว)
4. ให้ผู้สมัครสวมตำแหน่งของพนักงานที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน แล้วมอบหมายงานให้โดยระบุสิ่งที่ต้องการให้บรรลุผลด้วย
(วิธีนี้จะช่วยให้พนักงานปัจจุบันได้ประเมิน ผู้สมัครร่วมกับองค์กรด้วย)