Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2544
เตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์งาน             
โดย ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์
 





การหางานหรือเปลี่ยน งานในภาวะปัจจุบัน เป็นเรื่อง ไม่ง่ายนัก แม้ว่าจะมีประกาศ โฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์ ต่างๆ รับสมัครงาน แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วงานที่เราคิด ว่า เหมาะกับเรา อาจจะไม่เหมาะในสายตาของผู้รับหรือ ในทางกลับกันพบได้บ่อยๆ ว่างานที่เราไม่ตั้งใจจะทำ เรียกว่าสมัครไปงั้นๆ กลับได้ขึ้นมา ความไม่ลงตัวเหล่านี้ดูจะเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต ผมเคยได้ฟังหญิงสาวท่านหนึ่ง ซึ่งมีคุณสมบัติที่เหมาะกับงานประเภทที่ต้องอาศัยความรู้ทางด้านภาษาต่างประเทศ เธอไปสัมภาษณ์งาน ที่บริษัทข้ามชาติของไทยแห่งหนึ่งซึ่งว่ากันว่ามีการลงทุน ในจีนเป็นมูลค่ามหาศาลและตำแหน่งงานนั้นต้องการคนที่มีความรู้ทางด้านการบริหาร และเชี่ยวชาญภาษา อังกฤษกับภาษาจีน

สิ่งที่เธอพบจากคนสัมภาษณ์ก็คือ การเริ่มต้นสัมภาษณ์ว่า ตามใบสมัคร คุณเองมีความรู้เรื่องภาษาจีนดี ส่วนภาษาอังกฤษนั้น คุณเรียนจบโท ภาษาก็คง จะดีอยู่แล้ว ผมคิดว่าจะไม่ถามคุณทั้งสองเรื่อง เอาเป็น ว่าเราคุยกันด้วยภาษาไทย และไม่เกี่ยวกับเรื่องที่คุณเรียนมาก็แล้วกัน แถมท้ายตอนจบการสัมภาษณ์จากคนสัมภาษณ์ด้วยประโยคว่า คุณมีความสามารถเกินกว่าตำแหน่งงานของเรา คุณลองไปหางานที่อื่นที่เหมาะกับตัวคุณดีกว่า

เจอแบบผิดคาดอย่างนี้ทำเอาคุณสุภาพสตรีท่านนี้ซึมไปเลย

ความไม่ลงตัวเช่นนี้ ไม่ได้เป็นเหตุผลที่เราจะไม่ คาดหวังกับการสมัครงาน แต่ยิ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่า การสมัครงานแต่ละครั้ง เป็นเรื่องที่จะต้องมีการ เตรียมตัวให้ดีที่สุด เพื่อว่าส่วนที่ผิดความคาดหมาย จะได้น้อยที่สุด แต่คงต้องยอมรับว่าคนสัมภาษณ์บางครั้งก็อาจจะไม่ได้ฉลาด หรือเก่งกว่าคนถูกสัมภาษณ์

ในเว็บไซต์ของไมโครซอฟท์ มีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเตรียมตัวในการไปรับการสัมภาษณ์เข้าทำงาน ไม่คิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์ กับบรรดามนุษย์เงินเดือนทั้งหลายในช่วงคิดใหม่ทำใหม่ของเศรษฐกิจยุคขาลง จึงเก็บมาฝากท่านผู้อ่าน แน่นอนว่าคนที่ภาษาอังกฤษดี และเล่นอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว น่าจะไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

เขาเสนอว่าหลักการทั่วไปในการเตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์ที่ดี คือ การสร้างความประทับ ใจที่ดีกับผู้สัมภาษณ์ ซึ่งสิ่งดีจะเกิดขึ้นได้ หากเขารู้สึกว่าคุณมีการทำการบ้าน หรือเตรียมตัวมาอย่างดี เพราะนั่นเป็นการบ่งว่าคุณมีความกระตือรือร้น และสนใจที่จะทำงานในองค์กรนั้น รวมทั้งสามารถ ตอบได้ว่าคุณสามารถให้อะไรกับองค์กรแห่งนั้น ไม่ใช่เกิดจากการร่อนใบสมัครไปทั่ว

การเตรียมตัวทำการบ้านที่ดี คือ การรู้ข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นเกี่ยวกับองค์กรนั้น โดยเริ่มตั้งแต่สถานที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ หรือสาขาสำคัญๆ ผลิตภัณฑ์และบริการ ลูกค้าหรือกลุ่มเป้า หมายของบริษัทคู่แข่งที่มีศักยภาพ ปรัชญาการทำงานการบริหาร รวมไปถึงประวัติความเป็นมา ข้อมูลทางด้านการเงินและความมั่นคงของบริษัท และสุดท้ายคือ ข่าวคราวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับบริษัทในปัจจุบัน

ส่วนหลักในการเตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์ คือ

‘ เตรียมตัวและคำตอบสำหรับคำถามที่พบ ได้บ่อย คุณอาจลองลำดับคำถามและคำตอบที่คุณ คาดว่าจะถูกถาม เช่น คำถามประเภท

"ลองบอกเกี่ยวกับตัวคุณ" คำตอบมักจะออกมาในรูปของการลำดับและไล่เรียงเกี่ยวกับการ ศึกษา ประสบการณ์และความสำเร็จในช่วงที่ผ่านมา และลงท้ายด้วยคุณสมบัติอะไรที่ทำให้คิดว่าคุณ เหมาะกับงานนั้น และสิ่งที่คุณจะให้กับองค์กร

"ทำไมจึงสนใจงานที่นี่" นี่เป็นคำถามหัวใจ ที่จะบ่งถึงความเหมาะสมของคุณกับงาน คุณควรตอบคำถามอย่างสั้น กระชับ ชัดเจน ซึ่งจะบ่งถึงความกระตือรือร้นที่คุณมีต่องานชิ้นนั้น แสดงให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่าคุณมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กรและงานนั้นอย่างไร ชี้ให้เห็นว่าคุณจะสามารถให้อะไรกับองค์กร คำตอบที่เน้นถึงผลประโยชน์ในรูปของเงินแม้ว่าจะแสดงถึงความจริงใจ แต่ในอีกแง่หนึ่งก็อาจทำให้ผู้สัมภาษณ์ไม่มั่นใจเกี่ยวกับความมุ่งมั่นในการทำงาน

"ทำไมจึงลาออกจากงานเก่า" จุดประสงค์ ของผู้สัมภาษณ์คือ อยากรู้ว่าคุณมีปัญหาอะไรจึงไม่สามารถทำงานที่เดิม ถ้าหากไม่มีปัญหาอะไร ควรให้คำตอบที่เป็นเหตุผลง่ายๆ เช่น ย้ายที่อยู่ เป็นงานชั่วคราว บริษัทหยุดดำเนินการ หรือไม่เห็นความก้าวหน้าในการทำงาน

หากคุณมีปัญหากับที่ทำงานเดิม ควรหลีกเลี่ยงการอธิบายในเชิงกล่าวโทษหรือให้ร้ายที่ทำงาน เก่า เพราะผู้สัมภาษณ์จะรู้สึกว่า เขาอยู่ในคิวต่อไป ที่จะถูกคุณให้ร้ายหลังลาออกจากงาน และควรแสดงให้เห็นว่าคุณได้เรียนรู้อะไรบ้างจากความขัด แย้งหรือปัญหาในที่ทำงานเก่า

"อะไรที่เป็นส่วนดี หรือความสามารถที่มีอยู่" คุณควรแสดงให้เห็นว่าความสามารถที่คุณมีอยู่ สามารถก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไรกับองค์กร

"อะไรคือจุดอ่อนหรือข้อด้อยในตนเอง" พยายามให้ผู้สัมภาษณ์เห็นด้านบวกของจุดอ่อนนั้น เช่นคุณอาจตอบไปว่า คุณเป็นคนขี้กังวลและเพราะ ความกังวลทำให้คุณต้องทำงานจนเลิกดึกในบางครั้ง

"คุณถนัดที่จะทำงานคนเดียวหรือร่วมกับคนอื่น" คำตอบควรเป็นทั้งสองกรณีขึ้นกับสภาพการณ์ คุณควรยกตัวอย่างให้เห็นว่าคุณทำอย่างไรในแต่ละสถานการณ์

"อะไรคือเป้าหมายในอนาคตหรือเป้าหมาย ในการทำงาน" ผู้สัมภาษณ์ต้องการทราบว่า เป้าหมายของคุณกับองค์กรสามารถไปด้วย กันได้หรือไม่ แสดงให้เห็นว่าคุณมีความ มุ่งมั่นและใฝ่รู้ในการทำงานและพัฒนา ศักยภาพที่มีอยู่

‘ หลังจากกำหนดคำตอบของ คำถามที่คุณอาจได้รับในการสัมภาษณ์ แล้ว สิ่งที่คุณต้องเตรียมต่อไปคือ การฝึกซ้อมการสัมภาษณ์จริงกับเพื่อน ควร ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีในการบอกเล่าเรื่องราวที่สำคัญเกี่ยวกับตัวคุณ การอัดเทป หรือสังเกตพฤติกรรมทางกายในการสัมภาษณ์จะช่วยให้เห็นข้อบกพร่อง

‘ เตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่จำเป็นให้ครบถ้วนและเป็นระเบียบ เตรียมสำเนา ผลงาน ในอดีต (หากมี) รวมทั้งรายชื่อของบุคคลในการอ้างอิงถึง

‘ แต่งกายให้เหมาะสมและดูเป็นมืออาชีพ ในบาง ครั้งคนถูกตัดสินจากรูปลักษณ์ภายนอก

‘ คุณควรจะระลึกถึงสิ่งต่อไปนี้ในวันสัมภาษณ์

- ก่อนการสัมภาษณ์ : ตรงต่อเวลา หรือมาก่อนเวลา สิ่งนี้แสดงถึงความตั้งใจและเป็นมืออาชีพ - แสดงถึงการมองโลกในด้านบวก ไม่กล่าวโทษที่ทำงานเก่า

- พยายามผ่อนคลายคิดเสมอว่า การสัมภาษณ์ไม่ใช่การสอบสวน

- ระหว่างการสัมภาษณ์ : แสดงให้เห็นว่าคุณมั่นใจในตนเอง สบตากับผู้สัมภาษณ์เป็นระยะ

- พูดด้วยน้ำเสียงที่ชัดเจนไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป

- อย่าเอาแต่พูดอย่างเดียว การฟังจะทำให้คุณสังเกตและรู้ว่าผู้สัมภาษณ์ต้องการอะไร

- ในบางครั้งผู้สัมภาษณ์อาจเปิดโอกาสให้คุณเป็น ฝ่ายถาม ควรเลือกถามคำถามที่แสดงให้เห็นว่าคุณสนใจองค์กรนั้นในแง่ของการทำงาน เช่น คำถามประเภทเกี่ยวกับลักษณะงานขององค์กร หรือระบบการบริหาร อย่าถาม คำถามที่แสดงให้เห็นว่า คุณคิดถึงตัวเองเป็นหลัก เช่น การ ถามเรื่องวันลา หรือสิทธิประโยชน์พิเศษ หากจะถามคำถาม ให้มั่นใจว่าผู้สัมภาษณ์เข้าใจจุดประสงค์ที่แท้จริงของคุณ

หวังว่าเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้คงจะมีประโยชน์กับคุณผู้อ่านที่กำลังอยู่ในช่วงของการหางานบ้าง ไม่มากก็น้อย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us