Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 กุมภาพันธ์ 2547
แบงก์พาณิชย์เร่งจัดกลุ่มเอ็นพีเอรับนโยบายรัฐเตรียมโละให้"บบส."             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์
โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ
โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน - AMC
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
สุวรรณ วลัยเสถียร
สรพล เอี่ยมเอาฬาร
Banking




แบงก์พาณิชย์รับลูกสนองนโยบายรัฐ จัดกลุ่มเอ็นพีเอรอขาย ให้บบส. ขณะนี้รอรายละเอียดของวิธีการหรือราคาที่จะซื้อขาย หากอยู่ในระดับที่รับได้พร้อมล้างพอร์ตเอ็นพีเอทันที กรุงเทพ-กสิกรไทย-ไทยพาณิชย์ แยกเกรดทรัพย์สินเสร็จพร้อมขาย กรุงศรีอยุธยาแทงกั๊กรอรายละเอียด หากราคา ซื้อขายต่ำขอเก็บไว้ขายเองดีกว่า พร้อมประสานเสียงชมการยืดอายุถือครองทรัพย์สินของแบงก์ชาติ เป็นผลดีลดความกดดันเร่งแก้เอ็นพีเอ ทำให้มีระยะเวลา ต่อรองราคาได้ระดับหนึ่ง

นายสุรพงษ์ บำรุงสุข ผู้อำนวยการฝ่าย บริหารทรัพย์สินรอการขาย สายงานบริหารเครดิต ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารมีสินทรัพย์รอการขาย (เอ็นพีเอ) ประมาณ 30,000 ล้านบาท ตั้งเป้าที่จะขายในปีนี้ประมาณ 4,700 ล้านบาท หรือคิดเป็น 30% ของ เอ็นพีเอทั้งหมด ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถ ขายได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากทรัพย์สินของธนาคารส่วนใหญ่จะมีการตรวจ สอบสภาพก่อนที่จะมีการตั้งราคาขาย ซึ่งเฉลี่ยราคาจะต่ำกว่าราคาตลาดประมาณ 10-50% รวมทั้งยังนำเสนอทั้งบริการและอัตราดอกเบี้ยต่ำ

สำหรับนโยบายของทางการที่จะให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) เข้ามารับซื้อเอ็นพีเอ ออกจากสถาบันการเงินนั้น ถือว่าเป็น เรื่องที่ดี โดยธนาคารให้ความสนใจที่จะขายทรัพย์สินดังกล่าว ขณะนี้ได้เตรียมพร้อมเรื่องของการจัดกลุ่มทรัพย์สินตามเงื่อนไขของบบส.แล้ว โดยทรัพย์สินส่วนใหญ่ของธนาคารจะแบ่งเป็นเกรดเอ และเกรดบี ที่เหลือ จะเฉลี่ยกันระหว่างเกรดซีและเกรดดี ดังนั้น จึงมั่นใจว่าราคาจะสูงตามคุณภาพทรัพย์สิน

"ความตั้งใจของแบงก์ที่จะขายเอ็นพีเอทั้งหมด ขึ้นอยู่กับบบส.ที่จะรับซื้อของแบงก์เท่าไร อีกทั้งยังต้อง หารือกันถึงเรื่องราคา หากตกลงกันได้ ก็จะใช้ราคาประเมินของแบงก์เลย แต่ถ้าตกลง กันไม่ได้ก็คงต้องใช้บริษัท นอกเข้ามาประเมิน เพื่อให้ได้ราคาประเมินที่ยุติธรรมมากที่สุด"

นายสรรสฤษดิ์ เย็นบำรุง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ธนาคารมีพอร์ตเอ็นพีเอประมาณ 17,000 ล้านบาท เป็นในส่วนธนาคาร 15,000 ล้าน บาท ที่เหลือ 2,000 ล้านบาทเป็นส่วนของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ ซึ่งทรัพย์สินมากกว่า 50% อยู่ในเขตกรุง เทพมหานคร จึงถือว่าเป็นทำเลที่ดีเหมาะกับการลงทุน

โดยในปีนี้ธนาคารตั้งเป้าที่จะขายประมาณ 6,600 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาธนาคารสามารถขายทรัพย์สิน ได้ประมาณ 7,600 ล้านบาท นับว่าขาย ได้สูงที่สุด เนื่องจากมีแรงกระตุ้นจาก มาตรการภาษีของกระทรวงการคลัง ในปีนี้ เชื่อว่าความต้องการซื้อทรัพย์สินยังคงมีอยู่แต่แรงกระตุ้นจากมาตรการอาจจะลดลงทำให้ธนาคารตั้งเป้าขายเพียง 6,600 ล้านบาท

ส่วนการขายทรัพย์สินให้กับบบส.ตามนโยบายของทางการนั้น ธนาคารเตรียมทรัพย์สินไว้บ้างแล้ว ซึ่งยังไม่ได้จัดกลุ่มอย่างชัดเจนมากนัก เพราะต้องขอรอดูรายละเอียดของกฎเกณฑ์ ซึ่งทั้งหมดนี้จะขึ้นอยู่กับราคาที่ บบส.จะซื้อ หากมองว่าต่ำเกินไปธนาคารก็ไม่สนใจที่จะขาย เพราะเชื่อว่าธนาคารสามารถบริหารและขายทรัพย์สินได้ดีอยู่แล้วมีกำไรอย่างต่อเนื่อง จากในปีที่ผ่านมามีกำไรจากการ ขายทรัพย์สินประมาณ 500 ล้านบาท

สำหรับประเด็นที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ส่งหนังสือเวียนยืดอายุการถือครองเอ็นพีเอได้อีก 10 ปี โดยหลักเกณฑ์จากเดิมที่ให้ถือครองอายุ 10 ปีนั้น ต้องมีเงื่อนไขว่า ในปีที่ 5 ธนาคารจะต้องขายทรัพย์สิน อย่างน้อย 20 % จึงจะถือครองทรัพย์สินได้ ในปีที่ 6 หากไม่สามารถ ขายได้ตามเกณฑ์จะถูกปรับหน่วยละ 3,000 บาท ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้อง เร่งขายทรัพย์สินในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง

ส่วนเกณฑ์ใหม่ที่ผ่อนผันให้นั้น หากไม่สามารถขายทรัพย์สินได้ 20% ในปีที่ 5 แล้ว สามารถให้สถาบันการเงินนั้นๆสำรองครบ 100% ถือว่าเป็นเกณฑ์ที่ดี เพราะการตั้งสำรองเมื่อมีการขายทรัพย์สินสำรองดังกล่าวจะกลับเข้ามาเป็นรายได้ของธนาคารทันที ส่วนค่าปรับนั้นจะต้องเสียให้กับธปท. เลย

นายสรพล เอี่ยมเอาฬาร ผู้จัดการการตลาด 1 บริหารทรัพย์สิน ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธนาคาร มีเอ็นพีเอประมาณ 2,200 รายการมูลค่า 13,000 ล้านบาท และมีแนวโน้ม ที่จะโอนเข้ามาเป็นเอ็นพีเอเพิ่มขึ้น ดังนั้นธนาคารจึงเร่งที่จะขายทรัพย์สิน ออกเพื่อสร้างรายได้เข้าธนาคาร และในปีนี้ธนาคารได้ตั้งเป้าการขายทรัพย์สินประมาณ 7,000 ล้านบาท จากปีที่แล้วขายได้ 3,200 ล้านบาท โดยจะใช้เครือข่ายสาขาเป็นจุดขายให้กับผู้ที่สนใจทั่วประเทศ

การยืดระยะเวลาถือครองเอ็นพีเอของแบงก์ชาติถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่จะส่งผลให้ธนาคารสามารถขายทรัพย์สินให้ได้ราคามากยิ่งขึ้น เพราะเปิดโอกาสให้ธนาคารและลูกค้าพิจารณาต่อรองราคาทรัพย์สินได้เต็มที่ ที่ผ่านมาธนาคารต้องเร่งขายทรัพย์สินให้หมดโดยเร็วก่อนอายุถือครอง ทำให้ต้องลดราคาต่ำมาก อาจจะส่งผล กระทบกับภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้ จากการยืดอายุของทาง การเชื่อว่าธนาคารสามารถขายทรัพย์สินได้เพิ่มขึ้น

นายสุวรรณ แทนสถิตย์ รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัดกล่าวว่า ทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ประมาณ 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการ ดำเนินคดี ประมาณ 10,000 ล้านบาท ที่เหลือ 20,000 ล้านบาทสามารถขายได้ ซึ่งธนาคารตั้งเป้าในปีนี้จะขายเอ็นพีเอประมาณ 6,000 ล้านบาท ซึ่งจะรอดูผลการประมูลขายทรัพย์สินในครั้งนี้ก่อนหากประสบความสำเร็จ เป้าหมายขายเอ็นพีเอปีนี้อาจจะเพิ่มขึ้นอีก

ส่วนมาตรการของทางการที่จะออกมากระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์เร่งปรับโครงสร้างหนี้ โดยการลดมูลค่าหลักทรัพย์ในการหักสำรองนั้น ถือว่ากระทบกับธนาคาร โดยต้องเร่งดำเนิน การฟ้องร้องให้เร็วที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us