Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 กุมภาพันธ์ 2547
ทีเอวางแผนเพิ่มทุน6พันล้าน ไม่ปิดโอกาสชินคอร์ปร่วมหุ้น             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ ทีเอ ออเร้นจ์
โฮมเพจ แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส - AIS
ทีเอ ออเร้นจ์ โฮมเพจ
โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย
โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์
โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
เทเลคอมเอเซีย, บมจ.
ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส, บมจ.
ธนาคารกรุงไทย
ออเร้นจ์
ทีเอ ออเร้นจ์, บจก.
ศุภชัย เจียรวนนท์
สมประสงค์ บุญยะชัย
อาภัทรา ศฤงคารินกุล
วิเชียร เมฆตระการ
Mobile Phone




ศุภชัย เชื่อโอกาสมากกว่า 50% ออเร้นจ์จะไม่ถอนหุ้นจากทีเอ ไตรมาส 2 เดินหน้าจัดโครงสร้างการเงินเตรียมเพิ่มทุนกว่า 6 พันล้าน และรีไฟแนนซ์ หนี้ใหม่หมด ไม่ปิดโอกาสกลุ่มชินคอร์ปเข้าถือหุ้น เผยเป็นเรื่องอนาคต ด้านเอไอเอส ปรับโครงสร้างบริหาร พร้อมอัดงบอีก 1.4 หมื่นล้านบาท หวังดันรายได้ให้ถึงเป้าที่วางไว้ปีนี้ 1.3 แสนล้านบาท

นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ กล่าวว่า จากกระแสข่าวการถอนหุ้นของออเร้นจ์ใน บริษัท ทีเอ ออเร้นจ์ บริษัทได้ทำหนังสือส่งไปยังออเร้นจ์ในต่างประเทศ ซึ่งยังไม่ได้รับคำตอบ แต่มีความเชื่อว่ามีโอกาสมากกว่า 50% ที่ออเร้นจ์ จะไม่ถอนหุ้น เพราะช่วงเริ่มต้นของการทำธุรกิจ ได้มีการทำข้อตกลงว่าในกรณีที่ออเร้นจ์ถอนหุ้นจะต้องหากลุ่มทุนใหม่เข้าแทนในสัดส่วน 49% ที่ถืออยู่เดิม

นอกจากนี้ ออเร้นจ์ยังต้องเจรจากับธนาคาร ไทยพาณิชย์ , ธนาคารกรุงไทย , ธนาคารกสิกรไทย และผู้ถือหุ้นบุคคล ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสีย ก่อนที่จะมีการถอนหุ้นออกไป ขณะที่ผู้ถือหุ้นรายใหม่ที่ออเร้นจ์ต้องหามาแทนในสัดส่วนถือหุ้น เดิมนั้น จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ถือหุ้นในสัดส่วน 51% ด้วย

"สำหรับโอกาสที่ชินคอร์ปจะเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วนของออเร้นจ์ต่างประเทศนั้น ณ วันนี้ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น เรื่องของอนาคตเป็นเรื่องที่พูดกันลำบาก แต่ ณ วันนี้เรายังไม่จำเป็นต้องร่วมกับใคร"

ในปีที่ผ่านมาทีเอ ออเร้นจ์ มีสัดส่วนการเติบโตค่อนข้างดี และสามารถวางโครงข่ายครอบ คลุมกว่า 70% เพื่อต้องการขยายให้ครอบคลุมถึง 90% โดยต้องระดมทุนเป็นจำนวน 6,000 ล้านบาทเพื่อทำให้ได้ตามแผน ซึ่งคาดว่าภายในไตรมาสที่สองจะเรียบร้อย

นายศุภชัยยืนยันว่าหากเกิดกรณีที่ออเร้นจ์ ถอนหุ้นจริง ทีเอ สามารถจัดหาและระดมทุนจำนวน นี้ได้เต็มจำนวน 6,000 ล้านบาท ในการขยายโครงข่ายให้ได้ตามแผนที่วางไว้ จากปัจจุบันมีฐานลูกค้า 2.7 ล้านคน แต่โครงข่ายที่มีสามารถรองรับผู้ใช้ได้เต็ม 3 ล้านคน

นอกจากนี้ ทีเอจะทำรีไฟแนนซ์ จากทุกวันนี้ที่มีลักษณะเป็น bridge finance(short-term)ให้เป็น long term re-financing โดยที่ทั้งสองเรื่องจะดำเนินการในเวลาเดียวกัน

ปัจจุบัน ทีเอมีหนี้สินรวมอยู่ 33,000 ล้านบาทซึ่งเป็นเงินกู้ทั้งสถาบันการเงินในและต่างประเทศ ทั้งกู้แบบเจ้าหนี้รายเดียว และ syndicated loan

"เราตั้งเป้าว่าจะทำ re-finance ให้เสร็จในไตรมาสที่สองให้เป็น term 10 ปีคือ ปลอดดอกเบี้ย 3 ปีและไถ่ถอน 7 ปี โดยอาจจะออกเป็นหุ้นกู้ ทั้งนี้เงินเพิ่มทุนจะมาจากผู้ถือหุ้นทั้งในฝั่งไทยและออเร้นจ์ โดยในส่วนของทีเอมีความสามารถพอในการเพิ่มทุน ในส่วนของตัวเอง 3,000 ล้านบาท หรืออาจเป็น 6,000 ล้านบาท"

สำหรับไตรมาสที่สามเมื่อกระบวนการเรื่องเพิ่ม ทุนและปรับโครงสร้างหนี้เรียบร้อยก็จะพิจารณาในเรื่องการนำ TA Orange กระจายหุ้นในตลาดหลัก ทรัพย์ฯต่อไปเลย ทั้งนี้บริษัทคาดว่าจะสามารถมีกำไร สุทธิได้ในปี 2005 โดยวันนี้มีลูกค้าในระบบทั้งสิ้น 1.9 ล้านคน

AIS โหมลงทุน.ดันรายได้ 1.3 แสนล้าน

นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการ บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เปิดเผยว่า เอไอเอสได้มีการ ปรับโครงสร้างการบริหารงานใหม่ โดยรวมสายงานสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที และสาย งานปฏิบัติการเครือข่ายเข้าด้วยกัน พร้อมจัดแบ่งใหม่เป็นสายงานพัฒนาโซลูชัน (Solutions) และสายงานปฏิบัติการ (Operations) เพื่อให้สอดคล้อง กับการทำงานของเทคโนโลยีที่ผสมผสานกันมากขึ้น และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสมกับการเป็นเครือข่ายอัจฉริยะ (Network Intelligence) เพื่อรองรับการเป็นผู้ให้บริการสื่อสารไร้สาย สมบูรณ์แบบตามเป้าหมายในปีนี้

สายงานพัฒนาโซลูชันจะอยู่ในความดูแลรับ ผิดชอบของอาภัทรา ศฤงคารินกุล รองกรรมการผู้อำนวยการสายงาน Solutions สายงานปฏิบัติการจะอยู่ภายใต้การดูแลรับผิดชอบของวิเชียร เมฆตระการ รองกรรมการผู้อำนวยการสายงาน Operations

การจัดโครงสร้างใหม่ในลักษณะของการนำเอา งานที่เกี่ยวข้องกับไอทีและเทคโนโลยีโทรคมนาคมรวมเข้าด้วยกันนี้ ผู้บริหารเอไอเอสเชื่อว่าจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างสรรค์และพัฒนาบริการในรูปแบบใหม่ๆ ได้อย่างครบวงจร และจะตอบสนองลูกค้าได้ใน 3 เรื่องหลักคือ 1. สามารถนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดเพื่อตอบสนองผู้บริโภคได้เร็วขึ้น คือเป็น Time to Market ดีขึ้น 2. สร้างโอกาส ให้ผู้ใช้บริการได้เร็วขึ้น 3. ต้องปรับตัวตามพฤติกรรม ผู้บริโภค ต้องเคลื่อนไปไม่หยุดนิ่งหรือ Dynamic เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งจะส่งผล ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น

นายวิเชียร เมฆตระการ รองกรรมการผู้อำนวย การสายงาน Operations เอไอเอส กล่าวว่า การปรับโครงสร้างครั้งนี้จะมีการลงทุนในส่วนโซลูชัน 100 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 350 ล้านเหรียญสหรัฐในส่วนโอเปอเรชัน หรือรวมแล้วประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท จากงบตรงนี้ส่วนหนึ่งจะเป็นเรื่องของการพัฒนาเครือข่ายที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องของขีดความสามารถในการรองรับบริการหรือ Capacity ที่ขณะนี้รองรับได้ 1.4 ล้านเลขหมาย จาก จำนวนลูกค้าปัจจุบันที่มีมากกว่า 12 ล้านเลขหมาย

รายงานข่าวจากเอไอเอส กล่าวถึงด้านรายได้ในรอบปีที่ผ่านมาว่า เอไอเอสมีรายได้รวมประมาณ 9 หมื่นล้านบาท ส่วนปีนี้ตั้งเป้าไว้ที่ 1.3 แสนล้านบาท หรือมีอัตราการโตประมาณ 10-20% แม้ตลาดปีนี้จะมีการประเมินกันว่าจะไม่ขยายตัวมาก แต่ไม่ใช่ไม่มีลูกค้าเข้าสู่ระบบ นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างรายได้จากบริการต่างๆ ได้มากขึ้น ซึ่งจะผลักดันให้รายได้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ได้

"รายได้ที่มาจากการให้บริการสื่อสารข้อมูลปีนี้เรามั่นใจว่าจะโต 100% เพราะหากพิจารณาจากการใช้งานแล้วช่วงแรกมีแค่หลักหมี่นแต่เพิ่มขึ้นเป็นห้าแสนเมื่อปลายปีที่ผ่านมา และปีนี้น่าจะเป็นหลักล้าน" นายกฤษณัน งามผาติพงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาด เอไอเอส กล่าว

สำหรับรายได้ประเภทนอนวอยซ์ เมื่อสิ้นสุดไตรมาส 3 รอบปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 4,000 ล้านบาท เป็นรายได้จากบริการสื่อสารข้อมูลจำนวน 1,000 ล้านบาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us