Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 กุมภาพันธ์ 2547
BBLเร่งแก้"เอ็นพีแอล"ย้อนกลับ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย, บมจ.
ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
แอซเซ็ท ออคชั่น เซ็นเตอร์
สุวรรณ แทนสถิตย์
Financing




ธนาคารกรุงเทพ เดินหน้าแก้ปัญหาหนี้เอ็นพีแอล หลังเจอหนี้เอ็นพีแอลย้อนกลับ และหนี้ก้อนใหญ่ของ "ทีพีไอ" กว่า 2 หมื่นล้านยังไม่จบ ตั้งเป้าปีนี้ลดเอ็นพีแอลลงอีก 7 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 15-16% ของสินเชื่อรวม พร้อมวางแผนขายเอ็นพีเออีก 6 พันล้านบาท รวมทั้งเตรียมเจรจาขายให้กับ บบส.

นายสุวรรณ แทนสถิตย์ รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยถึงแผนการบริหารหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล ว่า ณ เดือนธันวาคม 2546 ธนาคารมีหนี้เอ็นพีแอลประมาณ 210,000 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายที่จะปรับลดเอ็นพีแอลอย่างต่อเนื่องสิ้นปี 2547 นี้ ให้เหลือ 1 ใน 3 ของเอ็นพีแอลทั้งหมด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 70,000 ล้านบาท หรือคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะเหลือประมาณ 15.16%

ทั้งนี้ สัดส่วนลูกหนี้เอ็นพีแอลของธนาคาร ที่มีมูลหนี้ตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไปจะมีมากถึง 50% ของเอ็นพีแอลทั้งหมด โดยเฉพาะหนี้ของบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ ที่ธนาคารได้จัดอยู่ในประเภทเอ็นพีแอล ซึ่งมีมูลหนี้เงินต้นประมาณ 20,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 10% ของเอ็นพีแอลทั้งหมด และนับรวมหนี้ทั้งกลุ่มของทีพีไอแล้วจะมีมูลหนี้เงินต้นประมาณ 27,000 ล้านบาท

"หนี้เอ็นพีแอลของกลุ่มทีพีไอ เป็นตัวเลขที่สูงมาก ธนาคารต้องการที่จะเร่งแก้ไขให้เสร็จโดยเร็ว มองในเชิงธุรกิจแล้ว ทีพีไอถือว่าเป็นบริษัทที่มีการดำเนินงานที่ดี ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ในอนาคต และยังไม่ถือว่าเป็นปัญหามากนัก เพียงแต่ต้องเร่งจัดการแผนฟื้นฟูและบริหารให้เรียบร้อย"

นายสุวรรณ กล่าวว่า ขณะนี้ทีพีไอได้มีการจ่าย ดอกเบี้ยให้กับธนาคารทุกๆ เดือน โดยเริ่มชำระมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2546 และชำระย้อนหลังตั้งแต่ที่หยุดชำระไปเมื่อเดือนเมษายน 2546 มูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีศักยภาพเพียงพอต่อการชำระหนี้ เพราะมีการจ่ายดอกเบี้ยทุกๆ เดือนในอัตรา เอ็มแอลอาร์ลบ 1 ที่เหลือยังคงจะต้องมีการตกลงกันว่าจะชำระเงินต้นอย่างไร

ในหลักการปรับโครงสร้างหนี้จะทำ 3 เกณฑ์ใหญ่ๆ คือ 1. ทุนเป็นอย่างไรจะลดหรือไม่ 2. มีการลงทุนใหม่หรือไม่ และ 3. จะมีการลดหนี้ให้หรือไม่ ซึ่งในส่วนของทีพีไอ ได้มีคณะกรรมการเจ้าหนี้ที่เป็นฝ่ายเจรจา เดิมคาดว่าจะเสร็จภายในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ซึ่งอาจจะไม่เสร็จทันตามเป้าหมาย เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงแผนอยู่ตลอดเวลา

สำหรับตัวเลขเอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นใหม่นั้น ธนาคารมีตัวเลขน้อยมาก เนื่องจากช่วงที่เกิดวิกฤตส่งผลให้มีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น รวมทั้งภาพรวมของเศรษฐกิจมีการเติบโตต่อเนื่อง ทำให้ลูกหนี้สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามเปาหมายจึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับหนี้เสีย คาดว่าจะมีตัวเลขเอ็นพีแอลเฉลี่ยไม่ถึง 10% ส่วนใหญ่จะเป็นเอ็นพีแอลย้อนกลับ

"ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์จะมีเอ็นพีแอลย้อนกลับมาก เพราะมีการปรับโครงสร้างหนี้แล้วไม่เป็นตามแผนหรือคำนวณตัวเลขผิดพลาด ซึ่งไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่แค่มีการปรับตัวเลขเล็กน้อยเท่านั้น"

รองผู้จัดการใหญ่ กล่าวต่อไปว่า ทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (ตัวเลขเอ็นพีเอ) ของธนาคารประมาณ 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็นทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการเช่า ดำเนินคดี ประมาณ 10,000 ล้านบาท ที่เหลือ 20,000 ล้านบาทสามารถขายได้ ซึ่งธนาคารตั้งเป้าในปีนี้จะขายเอ็นพีเอประมาณ 6,000 ล้านบาท แต่จะรอดูผลการประมูลขายทรัพย์สินในครั้งนี้ก่อนหากประสบความสำเร็จ เป้าหมายขายเอ็นพีเอปีนี้อาจจะเพิ่มขึ้นอีก

ส่วนมาตรการของทางการที่จะออกมากระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์เร่งปรับโครงสร้างหนี้ โดยการลดมูลค่าหลักทรัพย์ในการหักสำรองและมาตรการรับซื้อเอ็นพีเอออกจากระบบธนาคารพาณิชย์ นั้น ถือว่าเป็นมาตรการที่ดี โดยธนาคารกรุงเทพให้ความสนใจที่จะขายเอ็นพีเอ ขณะนี้ได้จัดแบ่งเอ็นพีเอออกเป็น 3-4 กอง มูลค่ากองละ 1,000 ล้านบาท เพื่อเตรียมพร้อมในการเจรจาขายให้กับบบส.ต่อไป

"การเจรจาตกลงซื้อขาย จะต้องเป็นความตกลง ของทั้ง 2 ฝ่ายอย่างพอใจ ซึ่งจะมีการประเมินราคาสินทรัพย์ที่แตกต่างกัน หากเป็นรายย่อยก็จะให้ราคาของธนาคารประเมิน แต่เป็นขนาดใหญ่จะใช้ราคาของบริษัทประเมินที่ดินเข้ามาประเมิน รวมทั้งยังมีการแยกเกรดของทรัพย์สินดี ซึ่งจะต้องตกลงรายละเอียดอีกมาก เช่น เกรด A ขายในราคาลดลง 10% เกรด B ขายในราคาลดลง 15% เกรด C ขายในราคาลดลง 20 % ตามลำดับ"

นายสุวรรณ กล่าวว่า ธนาคารกรุงเทพให้ความสำคัญกับการแก้ไขเอ็นพีแอลและเอ็นพีเอมาก โดยขณะนี้ตัวเลขเอ็นพีแอลลดลง ในขณะที่เอ็นพีเอได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องเร่งขายออกไปให้มากที่สุด และหากมีการขายออกไปให้กับหน่วยงานรัฐเชื่อว่าภาระต่างๆ ของระบบธนาคารพาณิชย์จะหมดไปŽ เปิดประมูลทรัพย์สินกว่า 700 ล.

นายสุวรรณ กล่าวว่า ธนาคารร่วมกับบริษัท แอซเซ็ท ออคชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด จัดงาน มหกรรมการประมูลบ้านและที่ดิน ครั้งที่ 1 ขึ้น วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ โดยมีรายการทรัพย์สินมาประมูลทั้งหมด 189 รายการ มูลค่าทรัพย์สินรวม 700 ล้านบาท แบ่งเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ อาคารพาณิชย์ ห้องชุดสำนักงาน ที่ดินเปล่า โรงงาน อยู่ในเขตกรุงเทพฯ 70% ปริมณฑล 30%

โดยธนาคารจะเป็นผู้สนับสนุนสินเชื่อที่มีเงื่อนไขกู้ได้ 90% ของราคาประมูล และกู้ซ่อมแซมได้อีก 20% ของราคาประมูล แต่ไม่เกิน 60% ของราคาซ่อมแซม โดยคิดอัตราดอกเบี้ยปีแรกแบบสินเชื่อบัวหลวงพึงใจ 2.95%-0.5% เท่ากับ 2.45% ต่อปี ปีต่อไปคิดอัตราดอกเบี้ย เอ็มแอลอาร์ -1% ระยะเวลา การกู้ 30 ปี

สำหรับการประมูลทรัพย์สินครั้งนี้ ธนาคารได้ตั้งราคาประมูลถูกกว่าราคาตลาดประมาณ 15-20 % โดยคาดว่าการประมูลขายครั้งนี้จะขายได้ประมาณ 75% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us