แบงก์พาณิชย์ เผยสิ้นปี 2546 ยอดรวมเอ็นพีเอทั้งระบบเหลือ 1.5-1.6 แสนล้านบาท มั่นใจสามารถแก้ปัญหาได้เบ็ดเสร็จ
ภายใน 5 ปี ขณะที่มาตรการดึง "เอ็นพีเอ" ออกจากระบบสถาบันการเงินของแบงก์ชาติเกิดยาก
เหตุไม่สามารถสรุปราคารับโอนที่เหมาะสมได้ ทำให้แบงก์พาณิชย์ต้องการบริหารเอง เพราะได้กำไรดีกว่าด้านบสก.
ขานรับนโยบายแบงก์ชาติรับซื้อเอ็นพีแอลจากแบงก์พาณิชย์ แนะขายยกพอร์ตแก้ปัญหาได้ทั้งระบบ
ขณะที่ราคาที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 70% ของมูลค่าสินทรัพย์
นางชาลอต โทณวณิก ผู้ช่วย กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาในฐานะรองประธาน
สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย กล่าวถึง ความคืบหน้าการบริหารทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
หรือเอ็นพีเอ ที่เริ่มมีการรายงานตั้งแต่ปี 2542 ว่า ตั้งแต่ปี 2542-2545 ยอดเอ็นพีเอมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ
60% , 30% และ 9% ตามลำดับ ขณะที่ในปี 2546 เอ็นพีเอไม่ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมียอดรวมทั้งระบบ
125,000 ล้านบาท
"การลดลงของยอดเอ็นพีเอ ถือเป็นแนวโน้มที่ดี แสดงให้ เห็นว่าการไหลเข้าและการจำหน่ายออกของเอ็นพีเอเริ่มมีความสมดุล
แต่เอ็นพีเอยังไม่หยุดไหล ขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์ก็สามารถระบายเอ็นพีเอ ออกไปได้มาก
ทำให้ขณะนี้เอ็นพีเอทั้งหมด น่าจะอยู่ที่ 150,000-160,000 ล้านบาท"
สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานนั้น นางชาลอต กล่าวว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ถือครองเอ็นพีเอได้ไม่เกิน 5 ปี แต่เนื่องจากการแก้ไขปัญหายังไม่เบ็ด
เสร็จธนาคารสามารถขออนุญาตได้อีก 5 ปี
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์เองมีทางออก 2 ทางเลือก แนวทาง แรก กรณีของเอ็นพีเอที่ไหลเข้า
ธนาคารพาณิชย์จะต้องคัดเลือกทรัพย์สินที่มีสภาพคล่อง และมั่นใจว่าสามารถขายได้ภายใน
5 ปี เพราะไม่จำเป็นต้องรับทรัพย์สินของลูกค้าทั้งหมด หรือแม้แต่การ ซื้อทรัพย์สินจากกรมบังคับคดีก็ต้องมีการเลือก
แนวทางที่ 2 คือ การขยายทรัพย์สิน ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะต้องดำเนินการขายออกไป
โดยเร็ว ด้วยการใช้กลยุทธ์ต่างๆ รวมทั้งการจัดงานเอ็นพีเอแกรนด์ เซล ซึ่งเป็นการรวมกันจัดงานขาย
เอ็นพีเอก็ช่วยกระตุ้นให้สามารถขายได้จำนวนหนึ่ง
สำหรับประเด็นที่ธปท.มี นโยบายจะให้ธนาคารพาณิชย์โอน เอ็นพีเอให้กับสถาบันการเงินอื่นไปบริหารนั้น
นางชาลอต กล่าวว่า มาตรการดังกล่าวได้มีการหารือกันมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ยังติด
ปัญหาเรื่องของการประเมินราคาเอ็นพีเอที่จะโอนออกไป ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีข้อยุติร่วมกัน
เพราะธนาคารพาณิชย์บางแห่งไม่ต้อง การโอนออกจากระบบ เนื่องจากเห็นว่าราคาที่รับโอนต่ำเกินไป
และสามารถบริหารจัดการได้ราคาที่สูงกว่า
"ปัญหาดังกล่าวมีหลายมาตรฐาน เพราะแต่ละธนาคาร ก็มีการปล่อยสินเชื่อที่ไม่เหมือนกัน
ถ้าหากใช้มาตรฐานเดียวกับ บางธนาคารอาจจะเท่าทุน บางแห่ง อาจจะมีกำไร จึงเป็นเรื่องยากถ้าธนาคารขาดทุนก็อาจจะต้องมีการเพิ่มทุนเยอะ
และต้องดูเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง แต่ธนาคารก็ไม่ได้นิ่งนอนใจมีไหลเข้า มาก็พยายามที่จะขายออกไป
และพยายามคัดเลือกเอ็นพีเอที่มีสภาพคล่อง ถ้ามาตรการของรัฐออกมา แต่ไม่มีความเสมอภาคสำหรับทุกสถาบัน
ก็น่าจะเลือกปล่อยให้เป็นธรรมชาติ"
นางชาลอต กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันเอ็นพีแอลที่มีอยู่ในระดับประมาณ 150,000-160,000
บาท หากไม่มีการไหลเข้ามาของเอ็นพีเอใหม่ คาดว่าจะสามารถจัดการแก้ไขได้หมดภายในระยะเวลา
6 ปี แต่หากมีของใหม่ไหลเข้ามาก็อาจจะใช้เวลามากขึ้น
สำหรับผลการบริหารเอ็นพีเอในปี 2546 ที่ผ่านมา คาดว่ามียอดขายเอ็นพีเอรวมทั้งระดับประมาณ
20,000 ล้านบาท โดยธนาคารกรุงศรีอยุธยาแห่งเดียว สามารถขายได้ประมาณ 7,000 ล้านบาท
และในปี 2547 นี้ธนาคารตั้งเป้าขายเอ็นพีเอไว้ประมาณ 5,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มีเอ็นพีเอคงเหลือรวม
19,000 ล้านบาท
บสก.เห็นพ้องมาตรการธปท.โยก"เอ็นพีเอ"ออกจากระบบ
ด้านนายบรรยง วิเศษมงคลชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์
จำกัด (บสก.) กล่าวถึง นโยบายการบริหารจัดการเอ็นพีเอของธปท. ว่าโดยส่วนตัวแล้วเห็นด้วยกับแนวทางการศึกษาของธปท.ที่จะรับโอนเอ็นพีแอลจากธนาคารพาณิชย์
เพื่อให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.)
และ บสก. เป็นผู้บริหารเอ็นพีเอเพราะเป็นการแก้ไขปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จ
ทั้งนี้ ความเหมาะสมของการซื้อเอ็นพีเอนั้นควรเป็นการซื้อยกพอร์ต ผลประโยชน์จะตกอยู่กับธนาคารพาณิชย์เอง
เนื่องจากจะสามารถลดต้นทุนในการดำเนินงานแก้ไขเอ็นพีเอของธนาคาร ทั้งเรื่องของการจ้างบุคลากร
ขั้นตอนการฟ้องร้องดำเนินคดี โดยที่บสก.เองมีความพร้อมและเชี่ยวชาญในการดำเนิน
การด้านนี้อยู่แล้ว ซึ่งในขณะนี้ธนาคารพาณิชย์บางแห่งก็ได้ให้ความสนใจที่จะขายเอ็นพีเอให้กับบสก.บ้างแล้ว
"การขายเอ็นพีเอต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจของแบงก์ก่อน หากแบงก์คิดว่าจัดการเองแล้วคุ้มค่าก็ไม่จำเป็นต้องขายให้เพราะแบงก์ชาติก็ไม่ได้บังคับอยู่แล้ว
ส่วนบสก.จะซื้อเอ็นพีเอ มาบริหารเท่าไรนั้นต้องรอดูเกณฑ์ของแบงก์ชาติก่อนว่าจะให้ซื้อได้เท่าไรและ
ต้องดูกำลังซื้อของ บสก.ด้วย" นายบรรยง กล่าว
สำหรับราคาที่เหมาะสมในการรับซื้อเอ็นพีเอนั้น น่าจะอยู่ที่ 70% ของมูลค่าสินทรัพย์
ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์บางแห่งเคยขายเอ็นพีเอเพียงแค่ 30% ของมูลค่าสินทรัพย์เท่านั้น
ส่วนราคาขายโดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ 80% ของมูลค่าสินทรัพย์ซึ่งถือว่าสามารถทำ กำไรได้ในระดับที่น่าพอใจหลังจากหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
แล้ว ทั้งนี้ บสก.ตั้งเป้าการขายเอ็นพีเอในปีนี้ประมาณ 50,000 ล้านบาทเท่ากับปีที่แล้ว
นายบรรยงกล่าวว่า ขณะนี้ บสก.กำลังเจรจาเพื่อซื้อเอ็นพีเอ อีก 2 กองมาบริหารมูลค่ารวมประมาณ
20,000 ล้านบาท ในแต่ละกองมีมูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยที่กองแรกนั้นได้ข้อสรุปในเรื่องราคาซื้อขายแล้ว
ส่วนอีกกองนั้นกำลังเจรจากับธนาคาร พาณิชย์แห่งหนึ่งอยู่ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ
นี้