Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 กุมภาพันธ์ 2547
ท่าอากาศยานไทยพร้อมแปรรูปแล้ว             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่
ท่าอากาศยานไทย, บมจ.
ภัทร, บล.
บัญชา ปัตตนาภรณ์
Airport




ทอท. รัฐวิสาหกิจชั้นดี และคาดว่าจะแปรรูปเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในไตรมาสแรกนี้ นับเป็นการตัดสินใจที่เหมาะสมอย่างมาก หากพิจารณาจากสภาวะที่สดใสของการลงทุน ดังนั้นคอยจับตาให้ดีว่า จะสามารถสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้ตลาดได้มากน้อยเพียงไร

การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2522 เพื่อ ประกอบและส่งเสริมกิจการท่าอากาศยาน รวมทั้งดำเนินกิจการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ หรือต่อเนื่องกับการประกอบกิจการท่าอากาศยาน

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเล็งเห็นความจำเป็นในการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในกิจการท่าอากาศยาน โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อเป็นการลดภาระของภาครัฐ รวมทั้งความจำเป็นในการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จึงตัดสินใจแปลงสภาพการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเป็นบริษัทมหาชน

ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อกลาง เดือนมิถุนายน 2545 ให้แปลงสภาพการท่าอากาศยานฯ เป็นบริษัทมหาชน โดยมีท่าอากาศยานนานาชาติอยู่ในการดำเนินงาน 6 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานกรุงเทพ เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ภูเก็ต และสุวรรณภูมิ (ซึ่งบริหารงานโดยผ่านบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด หรือ บทม.)

ตลอดระยะเวลา 24 ปีที่ผ่านมา ทอท. มุ่งพัฒนาและปรับปรุงท่าอากาศยานในความ รับผิดชอบ ให้มีขีดความสามารถเพียงพอที่จะรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศทุกด้าน เพื่อให้ประเทศไทยคงความเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ

เพื่ออนาคต

นอกเหนือจากแนวนโยบายภาครัฐเกี่ยว กับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจแล้ว ทอท. ยังมีความต้องการระดมทุนผ่านตลาดหลัก- ทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย การกระจายหุ้นให้กับประชาชน (IPO) เพื่อนำไปดำเนินการในโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในการนี้ ทอท. ได้แต่งตั้ง บล.ภัทร เป็นที่ปรึกษาทาง การเงิน โดยนายบัญชา ปัตตนาภรณ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทอท. คาดว่าภาย ในไตรมาสแรกปีนี้จะเห็นหุ้น ทอท.ซื้อขายบนกระดาน

"เงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้ น่าจะเพียงพอต่อการนำไปลงทุนในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิส่วนที่เหลือภายใน 1-2 ปีข้างหน้าแน่นอน"

ปัจจุบัน ทอท. มีความจำเป็นที่จะระดมทุนเพื่อนำไปใช้ในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อเตรียมตัวรับการเจริญเติบโต ของการขนส่งทางอากาศในอนาคต ซึ่งสนามบินแห่งนี้จะเป็นจุดเชื่อมการขนส่งทางอากาศในภูมิภาค

"พวกเราจะทำให้สนามบินสุวรรณภูมิเป็น Hub ในภูมิภาคแห่งนี้ นั่นหมายถึง ผู้โดยสารสามารถต่อเครื่องบินได้สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น" นายบัญชา บอก

ทั้งนี้ เพื่อให้เข้ากับแนวคิด "The Gateway to Asia" ซึ่งสะท้อนถึงจุดเชื่อม หรือ Connecting Center ให้กับผู้โดยสารทุกทวีป ทั่วโลก มาเชื่อมที่สนามบินสุวรรณภูมิเพื่อต่อ ไปยังจุดมุ่งหมายปลายทาง

โดยหลังจากสนามบินสุวรรณภูมิสร้างแล้วเสร็จ และพร้อมเปิดให้บริการภายในเดือนกันยายนปีหน้า ทอท.ประเมินว่าจำนวน ผู้โดยสารจะมาใช้บริการเพิ่มมากยิ่งขึ้น เนื่อง จากความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ ประกอบกับภาครัฐสนับสนุนการท่องเที่ยว รวมถึงการ เติบโตของเศรษฐกิจและต้นทุนการใช้บริการ ที่สามารถแข่งขันกับสนามบินของประเทศเพื่อนบ้าน

ความเชื่อมั่นดังกล่าว มาจากสถิติผู้โดยสารที่เดินทางมาถึงสนามบินดอนเมือง ใน รอบปีบัญชี 2546 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2546 ที่สูงถึง 29.6 ล้านคน "จากนี้ไปพวกเรา มั่นใจว่าตัวเลขจำนวนผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสนามบินสุวรรณภูมิ ที่สามารถรองรับผู้คนได้ปีละ 45 ล้านคน" นายบัญชา เปิดเผย

สำหรับสนามบินอื่นๆ ที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของ ทอท. นั้น ยังคงมีความสำคัญอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะท่าอากาศยาน กรุงเทพนั้น ภายหลังจากที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี 2548 แล้ว จะเป็นศูนย์กลางการซ่อมบำรุงอากาศยานขนาดใหญ่ รวมไปถึงเป็นสนามบินสำรองและเป็นศูนย์ฝึกการบินพลเรือน

ส่วนอาคารคลังสินค้าจะใช้เป็นพื้นที่จัดนิทรรศการต่างๆ เช่น งานมหกรรมนิทรรศการ ยานยนต์ ศูนย์ประชุม รวมถึงให้หน่วยงานราชการใช้เป็นสำนักงาน

ด้านท่าอากาศยานเชียงใหม่และภูเก็ต จะเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค (Regional Hub) เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ที่ต้องการเห็นการบริการมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ด้วยการก่อสร้างลานจอด เพิ่มเติม ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศแห่งใหม่ ขยายคลังสินค้า ขยายรันเวย์ และจัดหาและปรับปรุงเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ทันสมัย

"พวกเรามีแผนการลงทุนระยะยาว แต่จุดไหนที่มีความสำคัญก็เร่งรัด โดยมองถึงศักยภาพของจังหวัดนั้นๆ ด้วย รวมถึงฐานะทางการเงินและผลตอบแทน แม้แต่การลงทุนด้านสาธารณูปโภคบางครั้งบริษัทมองถึงผลตอบแทนทางการเงินเหมือนกัน" นายบัญชา อธิบาย

ตรวจสุขภาพการเงิน

หากพิจารณาอัตราส่วนทางการเงินที่แสดงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Efficiency Ratio) สังเกตได้ว่าทอท.มีตัวเลขดังกล่าวลดลง โดยอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ลดลงจาก 14.79% ในปี 2545 เป็น 6.53% ในปีถัดมา

ด้านอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ถาวรลดลงจาก 28.52% เป็น 13.40% ขณะที่อัตราส่วนหมุนเวียนของสินทรัพย์ลดลงจาก 0.25 เท่า เป็น 0.20 เท่า สาเหตุหลักของการลดลงของอัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการ ดำเนินงาน มาจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์รวมในปีที่แล้วมีผลให้ขนาดของสินทรัพย์เพิ่มขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินทรัพย์ระหว่างก่อสร้าง ซึ่งยังไม่สามารถสร้างรายได้ให้แก่บริษัทได้ นอกจากนี้ การที่ตัวเลขกำไรสุทธิลดลงอย่างมากในปีที่แล้ว ก็เป็นสาเหตุสำคัญทำให้อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการดำเนินงานลดลง

โดยกำไรสุทธิของทอท.ในปีที่แล้วลดลงจาก 7,455.3 ล้านบาท ในปีก่อนหน้า เป็น 3,808.4 ล้านบาท เนื่องเพราะต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล ภายหลังการแปลงสภาพเป็น บริษัทมหาชนจำนวน 1,964.3 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายพนักงานที่เพิ่มขึ้น 671 ล้านบาท ขาดทุน จากการรับโอนหุ้นบริษัทท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งใหม่ (บทม.) 383 ล้านบาท และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นจำนวน 209 ล้านบาท

นอกจากนี้ อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) ในปีที่ผ่านมาลดลงเมื่อเทียบ กับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการลดลงของ เงินสด รวมทั้งเงินลงทุนชั่วคราวในเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและเงินฝากประจำ สาเหตุมา จากทอท.ใช้เงินลงทุนในสนามบินสุวรรณภูมิ และการใช้เงินชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาวจาก Japan Bank for International Corporation (JBIC)

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us