Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 กุมภาพันธ์ 2547
กรุงศรีฯปรับทัพผู้บริหารครั้งใหญ่ตั้งรองเอ็มดี3คนคุมกลุ่มธุรกิจหลัก             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
สมเกียรติ ศิริชาติไชย
วิโรจน์ เศรษฐปราโมทย์
จำลอง อติกุล
อมรศักดิ์ นพรัมภา
พงศ์พินิต เดชะคุปต์
Banking




ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ปรับโครงสร้างการบริหารครั้งใหญ่ เพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคต ผ่าโครงสร้างชัดเจน 3 กลุ่ม กลุ่มงานธุรกิจ กลุ่มงานธุรกิจรายย่อย และกลุ่มงานปฏิบัติการและบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ พร้อมแต่งตั้ง 3 ผู้บริหารขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ รับผิดชอบ แต่ละสายงานอย่างชัดเจน ขณะที่แบงก์กสิกรไทย โยกย้ายผู้บริหารเดินหน้าลุยธุรกิจเต็มที่

นายจำลอง อติกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าธนาคารได้ประกาศปรับโครง สร้างการบริหารงานครั้งใหญ่ ด้วยการแต่งตั้งให้กรรมการบริหารและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโสจำนวน 3 คน ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อควบคุมและบังคับบัญชา 3 กลุ่มงานหลักของธนาคารประกอบ ด้วย กลุ่มงานธุรกิจ กลุ่มงานธุรกิจรายย่อย และกลุ่มงานปฏิบัติการและบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ โดยมีผลตั้งแต่วันนี้ (3 ก.พ.) เป็นต้นไป

สำหรับวัตถุประสงค์ของการปรับโครงการสร้างบริหารงาน ครั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเหมาะสม ในการบริหารงานธนาคาร และเพื่อให้โครงสร้างการบริหารโดยรวมของธนาคารเอื้อประโยชน์สูง สุดต่อการบริหารและสามารถรองรับการแข่งขันในอนาคต

โดยรายละเอียดของการปรับโครงสร้างคือ กลุ่มงานธุรกิจ ได้มอบหมายให้นายวิโรจน์ เศรษฐปราโมทย์ ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารและรองกรรม การผู้จัดการใหญ่ มีสายงานในการบังคับบัญชา คือ สายงานธุรกิจขนาดใหญ่ สายงานธุรกิจขนาดกลาง สายงานธุรกิจขนาดเล็ก สายงานธุรกิจต่างประเทศ สายงานบริหารสินเชื่อ และฝ่ายวาณิชธนกิจ

ส่วนกลุ่มงานธุรกิจรายย่อย มอบหมายให้นายพงศ์พินิต เดชะคุปต์ ดำรงตำแหน่งกรรม การบริหารและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยมีสายงานในการบังคับบัญชา คือ สายงานบริหารสาขา สายงานการตลาด สายงานธุรกิจรายย่อยฝ่ายพัฒนาระบบงาน และกลุ่มผลิตภัณฑ์บริหารเงินสด

ขณะที่กลุ่มสุด ท้ายสายงานปฏิบัติการและบริหารสิน ทรัพย์ด้อยคุณภาพ มอบหมายให้นายอมรศักดิ์ นพรัมภา ดำรงตำแหน่งกรรม การบริหารและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยมีสาย งานในการบังคับบัญชา คือ สายงานปฏิบัติการสินเชื่อ สายงานพัฒนาคุณภาพสินทรัพย์สายงานบริหาร ทรัพย์สิน และสำนักที่ปรึกษากฎหมาย

กสิกรไทยโยกผู้บริหารลุยธุรกิจเต็มที่

ก่อนหน้านี้ ธนาคารกสิกรไทยได้มีการปรับเปลี่ยนผู้บริหาร ระดับสูง เพื่อความเหมาะสม โดยในปีนี้มีผู้บริหารระดับสูง 2 คนเกษียนคือ นายศริวุฒิ เสียมภักดี และนางธิดา ศิริชาติไชย ตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการดังนั้น ธนาคารจึงได้แต่งตั้งให้นายสมเกียรติ ศิริชาติไชย ผู้ช่วย กรรมการผู้จัดการขึ้นตดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการแทน

รวมทั้งยังมีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายผู้บริหารอีก หลายตำแหน่งธนาคารมี นโยบายที่จะให้ผู้บริหารมีการเรียนรู้ และสะสมประสบการณ์ในหลายๆ ด้าน เพื่อให้ครอบคลุมในการดำเนินธุรกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

เนื่องจากตลาดเงินตลาดทุนมีการเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งกฎเกณฑ์ใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง จำเป็นที่ต้องปรับผู้บริหารให้สอดคล้อง นอก จากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ได้ออกแผนแม่ บททำให้ต้องเตรียมพร้อม

"แบงก์มีการปรับเปลี่ยน องค์กรมาเป็นระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมาและมีนโยบายที่จะ หมุนเวียนผู้บริหาร เพื่อให้เรียนรู้สายงานครบทุกๆ ด้าน ซึ่งในปีนี้ จะเป็นปีที่แบงก์ต้องแข่งขันรุน แรงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการดำเนิน ธุรกิจจะยากตามภาวะของตลาด ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา"

แหล่งข่าวจากธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่าหลังจากวิกฤต เศรษฐกิจ ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งต่างต้องแก้ไขปัญหาของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จนขณะนี้มีการแก้ไขได้มากกว่า 80% โดยหนี้ที่มีการเจรจาได้ก็สามารถเปิดดำเนินธุรกิจ และ ที่เหลืออยู่ส่วนใหญ่อยู่ขั้นตอนของการฟ้องร้อง ดังนั้น การเข้าไปดูแลเอ็นพีแอลจึงลดลง และเริ่มเข้ามาดำเนินธุรกิจหารายได้ตามปกติ โดยเฉพาะธุรกิจรายย่อย เนื่องจากภาคธุรกิจขนาดใหญ่มีทางเลือกมากขึ้นในการระดมเงินทุนทั้งตลาดเงินและตลาดทุนจึงไม่จำเป็นต้องอาศัยเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์เพียง อย่างเดียว

"ขณะนี้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำ ทำให้รายได้จากดอกเบี้ยลดลง แบงก์พาณิชย์จึง หันมาหารายได้จากค่าธรรมเนียมเพื่อเข้ามาทดแทน ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากรายย่อยแทบทั้งสิ้น จึงเห็นว่าธนาคารพาณิชย์ทุก แห่งมุ่งให้ความสำคัญกับลูกค้ารายย่อยมาก ทำให้การแข่งขันทวีความรุนแรง ดังนั้น ธนาคารเองก็จะต้องปรับตัวให้สามารถแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์อื่นๆ รวมทั้งเตรียมพร้อมรองรับแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับใหม่ด้วย"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us