Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน2 กุมภาพันธ์ 2547
อ.ส.ม.ท.ทำวิทยุเดือดค่ายใหญ่เปิดศึกชิงคลื่น             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
โฮมเพจ อสมท.

   
search resources

บีเอ็นที เอ็นเตอร์เทนเม้นท์, บมจ.
ฟาติมา บรอดคาสติ้ง
อาร์เอส, บมจ.
องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (MCOT)
จีเอ็มเอ็ม มีเดีย, บมจ.
มีเดีย ออฟ มีเดียส์, บมจ.
สกายไฮ เน็ตเวิร์ค, บจก.
ลูกทุ่ง เอฟเอ็ม
สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย, บมจ.
เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย), บจก.
ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม
สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์
เชษฐ มังคโลดม
Radio




สงครามคลื่นวิทยุเตรียมระอุอีกรอบ จับตาเดือนมีนาคมหลายคลื่นหมดสัมปทาน ขาใหญ่ไล่กวาดคลื่นวิทยุเข้าสังกัด ชี้ปีนี้สัมปทานสลับมือกันวุ่น ยื่นค่าตอบแทนสุดเวอร์ถึงระดับ 5-6 ล้านบาท กลับสู่ยุคเฟื่องฟูก่อนฟองสบู่แตกอีกครั้ง กลุ่มที่หลุดคลื่นอ.ส.ม.ท.วิ่งประมูลเพื่อหาคลื่นใหม่ทดแทน

แหล่งข่าวจากวงการวิทยุ กล่าวกับ "ผู้จัดการรายวัน" ว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้วงการวิทยุจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะการแย่งชิงสัมปทานคลื่นวิทยุ หลังจากที่ช่วงปลายปีและต้นปีนี้มีหลายค่ายที่คลื่นหลุดมือไปแล้ว เนื่องจากช่วงไตรมาสแรกนี้เท่าที่ทราบจะเป็นช่วงที่หลายคลื่นวิทยุของหลายบริษัทจะครบสัญญาสัมปทานจากเจ้าของคลื่นต่างๆ ทำให้จะมีการเปลี่ยนผู้รับสัมปทานมากขึ้น

ขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงนโยบายการดำเนินธุรกิจวิทยุขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ที่ต้องการจะนำคลื่นวิทยุทั้งหมดที่ให้สัมปทานแบบทั้งคลื่นกับเอกชนนั้น กลับมาบริหารจัดการเองทั้งหมด จะยิ่งกลายเป็นการจุดชนวนกระตุ้นให้เอกชนโดยเฉพาะผู้ที่รับสัมปทานอยู่กับอ.ส.ม.ท. ต้องรีบวิ่งหาคลื่นใหม่ๆ เข้ามารองรับ

อีกทั้งเอกชนที่ทำคลื่นอื่นที่ไม่ใช่อ.ส.ม.ท.ก็ต้องเร่งรีบปรับตัวเพื่อรองรับกับการแข่งขันที่จะรุนแรงขึ้น และพยายามรักษาสัมปทานนั้นต่อให้ได้ด้วยการปรับกลยุทธ์รูปแบบการนำเสนอของคลื่นใหม่ให้มีความสดใส ทันสมัย ซึ่งหลายค่ายมีการเคลื่อนไหวอย่างมาก ค่ายบีเอ็นทีซึ่งขณะนี้มีเพียงคลื่นเดียว คือ 98 เพราะสูญเสียคลื่น 94.5 ให้กับค่ายจีเอ็มเอ็มมีเดีย และคลื่น 103 สูญเสียให้กับมีเดีย ออฟ มีเดียส์ ก็ประกาศกร้าวว่าจะต้องหาคลื่นเข้ามาบริหารเพิ่มอีก 4 คลื่นให้ได้ ส่วนค่ายจีเอ็มเอ็มมีเดียของนายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานใหญ่ ก็กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าจะได้คลื่นใหม่เข้ามาอีก 1 คลื่น

สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ การแข่งขันยื่นข้อเสนอวงเงินตอบแทนให้กับเจ้าของสัมปทานคลื่นวิทยุหน่วยงานต่างๆ ในวงเงินที่สูงขึ้น เหมือนกลับคืนไปสู่ยุคที่รุ่งเรืองเมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา มีการเสนอผลประโยชน์ประมูลตอบแทนให้กับเจ้าของคลื่นมากกว่า 5-6 ล้านบาทต่อคลื่นมาแล้วต่อเดือน คาดว่าปีนี้ตัวเลขการตอบแทนอัตราดังกล่าวจะเกิดระบาดในวงการ เพราะกลุ่มทุนเอกชนหวังที่จะได้ยึดครองวิทยุให้มากที่สุด จากช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมานี้วงเงินตอบแทนค่าสัมปทานอยู่ต่ำประมาณ 1.5-3 ล้านบาทเท่านั้นเอง เพราะเศรษฐกิจไม่ค่อยดี กลุ่มทุนจึงไม่กล้าเสี่ยงจ่ายค่าสัมปทานแพง

กรณีสัมปทานของอ.ส.ม.ท.เป็นตัวอย่างได้ดีเช่นคลื่น เอฟ.เอ็ม. 95 โดยบริษัทลูกทุ่ง เอฟเอ็ม จำกัด และ 96.5 โดยบริษัท ฟาติมา บรอดคาสติ้ง จำกัด จะจ่ายค่าเช่าเดือนละประมาณ 2 ล้านบาทให้กับอ.ส.ม.ท. ส่วนคลื่นเอฟ.เอ็ม. 99 โดยบริษัท สยามอินเตอร์ มัลติมีเดีย จำกัด จ่ายประมาณเดือนละ 2.3 ล้านบาท ซึ่งทั้งสามรายนี้เพิ่งหมดสัมปทานกับอ.ส.ม.ท.เมื่อสิ้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมานี้เอง ทำให้ต้องพยายามเข้าประมูลชิงคลื่นวิทยุจากรายเก่าให้ได้เพื่อทดแทนคลื่นที่หลุดไป

นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ผู้บริหารของ ค่ายอาร์.เอส.โปรโมชั่น ซึ่งมี สกายไฮ เน็ทเวิร์ค บริษัทที่ทำธุรกิจวิทยุและเป็นค่ายหนึ่งที่คลื่น 98 หลุดมือไปให้กับค่ายบีเอ็นทีเมื่อเร็วๆ นี้ กล่าวให้ความเห็นว่า ขณะนี้วงการวิทยุมีการเสนอจ่ายค่าสัมปทานกันสูงจริง ซึ่งบริษัทพิจารณาแล้ว หากต้องแข่งขันกันรุนแรงขนาดนั้น คลื่นที่หมดสัมปทานของบริษัทเมื่อมีคู่แข่งเสนอเข้ามาสูงเกินความเหมาะสม บริษัทก็ไม่ต้องการจะแข่งประมูลด้วย เพราะว่าไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

สาเหตุที่กล้าเสนอเงินกันมากนั้น เนื่องจากคนในวงการวิทยุคาดว่าปีนี้มูลค่าโฆษณาสื่อวิทยุจะเติบโต 10% เพิ่มจากปีที่แล้วที่มี 6,600 ล้านบาท ซึ่ง เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ที่มี 6,100 ล้านบาท ประมาณ 7%

เหตุผลอีกประการมาจากค่ายเวอร์จิ้นเรคคอร์ดที่โตเร็วมากในช่วง1 ปีที่ผ่านมา สามารถก้าวขึ้นมาอยู่แถวหน้าได้ในเวลาอันสั้นทั้งทางด้านกลุ่มฐานผู้ฟัง ปัจจุบันเวอร์จิ้นมีฐานผู้ฟังประมาณ 1.5 ล้านคน ทำรายได้จากโฆษณาถึง 270 กว่าล้านบาทเมื่อปีที่แล้ว

ผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้เห็นได้ชัดกับค่ายของจีเอ็มเอ็มมีเดียถึงกับต้องผวามาแล้ว ล่าสุด จีเอ็มเอ็มฯได้ ปรับคอนเซ็ปท์ 2 คลื่นคือ เรดิโอ โนพร็อบเบล็ม 88 เป็นคลื่นพีคเอฟเอ็ม เป็นคลื่นที่นำเสนอเรื่องราวต่างๆ ที่แปลกๆ และถือเป็นที่สุดในทุกเรื่องราว รวมทั้งมีเพลงด้วย ส่วนคลื่นเรดิโอโหวตแซตเทิลไลค์ 93.5 เป็นคลื่น อีเอฟเอ็ม ที่เน้นความสนุกสนามเต็มรูปแบบเพื่อรับมือกับเวอร์จิ้นฯโดยเฉพาะ

ล่าสุดนายเชษฐ มังคโลดม กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปีนี้ ได้เตรียมงบประมาณถึง 200 ล้านบาท จัดกิจกรรมมากมายทั้งประจำเดือนและประจำปี ล่าสุดเปิดตัวโครงการเวอร์จิ้น วีไอพี การ์ด เพื่อมอบสิทธิพิเศษให้กับสมาชิก เช่น ส่วนลดร้าน ค้า ร้านอาหาร ซื้อบัตรแสดงคอนเสิร์ตหรือโชว์ต่างๆ โดยทำเป็นการ์ดชื่อว่า I"M A VIRGIN จำนวน 100,000 ใบในช่วงแรกที่สนับสนุนโดยเป๊ปซี่ พร้อมกับปรับโฉมรถเวอร์จิ้น เรด รันเนอร์ 3 คันใหม่ด้วยคาดเผยโฉมเดือนกุมภาพันธ์นี้ ตั้งเป้าเพิ่มฐานผู้ฟังอีก 5%

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us