Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2544
หลักสูตร MRE เตรียมพร้อมรับการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 


   
www resources

โฮมเพจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   
search resources

นิพัทธ์ จิตรประสงค์
Real Estate
Education




แม้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะได้รับ ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ และเผชิญภาวะซบเซาต่อเนื่องยาวนาน แต่วันนี้ ความท้าทายใหม่ๆ กำลังก่อตัวขึ้นในลักษณะที่อาจเรียกได้ว่าสวนสภาวะ เมื่อหลักสูตรปริญญาโทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ได้เปิดตัวและ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกแล้ว

โครงการหลักสูตรปริญญาโทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Master of Science : Real Estate Business) หรือ MRE เป็นหลักสูตรใหม่ที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยา ลัยธรรมศาสตร์ เปิดดำเนินการโดยรับสมัครนักศึกษาเข้าเรียน ในปีการศึกษา 2544 นี้เป็นปีแรก ซึ่งในความคิดของผู้คนจำนวนไม่น้อย การเกิดขึ้นของหลักสูตรดังกล่าวในห้วงเวลา เช่นนี้ น่าจะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์โดยรวมเท่าใดนัก

แต่สำหรับรองศาสตราจารย์ นิพัทธ์ จิตรประสงค์ ผู้อำนวยการโครงการ MRE เขากลับมีทัศนะที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง "ความคิด ดังกล่าวอาจมีส่วนจริงอยู่บ้าง เพราะประเทศไทยควรมีหลักสูตร MRE นี้มานานแล้ว" เป็นประโยคแรกๆ ที่เขากล่าวกับ "ผู้จัดการ"

เขาอธิบายเสริมว่า ที่ดินเป็นปัจจัยการ ผลิตที่สำคัญและมีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจหลาก หลายประเภท "ความซบเซาที่เกิดขึ้นมิได้หมายความว่า ที่ดิน การบริหารจัดการที่ดิน และการประเมินราคาที่ดินจะลดความสำคัญลง หากแต่ในความเป็นจริงความรู้ความเข้าใจ ในสิ่งเหล่านี้ กลับทวีความสำคัญยิ่งขึ้นอีก"

ข้อเท็จจริงประการหนึ่งซึ่งสนับสนุนแนวความคิดดังกล่าวก็คือ ธุรกิจอสังหาริม ทรัพย์ เคยเป็นธุรกิจที่รุ่งเรืองมากที่สุดธุรกิจหนึ่งของประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะ ที่ระบบเศรษฐกิจอยู่ในภาวะที่เรียกว่า ยุคฟอง สบู่ ในห้วงเวลาดังกล่าวปรากฏว่าผู้ประกอบ การจากธุรกิจอื่นจำนวนมากได้ผันตัวเองเข้าสู่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่เมื่อเกิดปัญหาวิกฤติ เศรษฐกิจ ผู้ประกอบการธุรกิจในกลุ่มนี้จำนวน มากไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้

บทเรียนของเหตุการณ์ดังกล่าว ได้ชี้ชัดว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มิใช่กิจการที่กระทำได้อย่างง่ายๆ กำไรดี โดยไม่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญ เพราะโดยแท้จริงแล้ว ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน การบริหารการจัดการ และการประเมิน ต้องมีหลักการและมาตรฐานเสมอ

หลักสูตร MRE จึงเกิดขึ้นภายใต้วัตถุ ประสงค์หลัก เพื่อการผลิตบุคลากรผู้มีความรู้ความสามารถทางด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ตอบสนองความต้องการของหน่วยงานทั้งภาค รัฐและเอกชน ซึ่งจะมีส่วนช่วยพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ให้เป็นไปอย่างมีระบบ และสามารถพัฒนาต่อเนื่องไปได้ด้วยความมั่นคง

"วิธีการ กฎเกณฑ์ และมาตรฐานในการบริหารจัดการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่สิ่งใหม่ ในต่างประเทศ มีการเรียนการสอนมานานกว่า 80 ปี แต่ประเทศไทยกำลังจะเริ่มมีที่ธรรมศาสตร์ เป็นที่แรก"

โครงการ MRE ที่เกิดขึ้น มีความเป็นมาน่าสนใจมิใช่น้อย เพราะก่อนหน้าที่ MRE จะเกิด ขึ้นในฐานะหลักสูตรปริญญาโทอย่างเต็มรูปแบบนั้น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหา วิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินโครงการการพัฒนาผู้บริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มาตั้งแต่เมื่อ ปี 2528 และดำเนินการต่อเนื่องยาวนานมาถึงปี 2539 รวมจำนวน 18 รุ่น

ในช่วงปลายปี 2538 โครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการประเมินราคาทรัพย์สิน (Graduate Diploma Program in Property Valuation) ได้เริ่มก่อตั้งขึ้น และเริ่มรับนักศึกษารุ่นแรกใน ปี 2539 โดยความร่วมมือจากกรมที่ดิน และการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารโลก (World Bank)

การศึกษาในโครงการประกาศนียบัตรที่ใช้เวลาศึกษา 1 ปีดังกล่าว เป็นโครงการที่ได้รับ การตอบรับจากผู้ที่อยู่ในวงการอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างดี ซึ่งแม้ว่าโครงการประกาศนียบัตรใน ลักษณะเช่นว่านี้ จะมีข้อจำกัดประการสำคัญอยู่ที่ผู้สำเร็จการศึกษาไม่สามารถนำประกาศนียบัตร ที่ได้ไปศึกษาต่อยอดในระดับที่สูงขึ้นไปได้ก็ตาม

แม้ว่าสถานศึกษาในประเทศไทยจะติดขัดในส่วนของระเบียบที่กำหนดโดยทบวงมหา วิทยาลัย แต่ด้วยความร่วมมือกับ University of South Australia ซึ่งมีส่วนอย่างสำคัญในการช่วยร่างหลักสูตร ทำให้นักศึกษาในโครงการสามารถเทียบโอนหน่วยกิตเพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญา โท Master of Business (Property) โดยใช้เวลาการศึกษาอีกเพียง 1 ปีได้

"เราต้องต่อสู้อย่างมาก เพราะผู้คนทั่วไปไม่เข้าใจ แต่สำหรับ University of South Australia พวกเขาตระหนักดีว่าโครงการดังกล่าวมีมาตรฐานอย่างไร" นิพัทธ์กล่าวพร้อมกับเสริมว่าผู้สำเร็จ การศึกษาจากโครงการประกาศนียบัตรดังกล่าว จำนวนไม่น้อยได้ไปศึกษาต่อยอดในระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยที่ว่านี้

ความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่แนบแน่นที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยา ลัยธรรมศาสตร์ มีต่อทั้งธนาคารโลก กรมที่ดิน และ University of South Australia รวมถึงหน่วยงานเช่นธนาคารแห่งประเทศไทย และ ก.ล.ต. ในช่วงที่ผ่านมา นับเป็นปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งที่ส่งผล ให้ MRE ในฐานะหลักสูตรปริญญาโทเต็มรูปแบบได้เกิดขึ้นในที่สุด

การเปิดรับสมัครนักศึกษารุ่นแรกในหลักสูตร MRE ซึ่งสิ้นสุดไปในช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ ผ่านมา ปรากฏว่ามีผู้ให้ความสนใจยื่นใบสมัครรวมประมาณ 372 ราย ขณะที่จำนวนนักศึกษาที่ต้องการรับมีเพียง 60 คนเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า การแข่งขันเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตร MRE นี้ อยู่ในระดับ 6:1 ซึ่งนับว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สูงพอสมควรเมื่อเปรียบเทียบกับหลักสูตรปริญญาโทบริหาร ธุรกิจอื่นๆ

"เราพยายามที่จะให้นักศึกษาซึ่งมีปูมหลังในหลากหลายสาขาอาชีพได้มีโอกาสเข้าเรียนในหลักสูตรนี้ เพราะเราเชื่อว่าความชำนาญของนักศึกษาในแต่ละอาชีพจะเป็นส่วนเสริมให้บรรยา กาศการแลกเปลี่ยนทัศนะและมุมมองในเรื่องอสังหาริมทรัพย์กว้างขวางยิ่งขึ้น"

อย่างไรก็ดี ในระยะเริ่มแรกโครงการ MRE ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายของนักศึกษาไว้ที่ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีอย่างไม่จำกัดสาขา โดยอาจเป็นผู้ที่อยู่วงการธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ ในฐานะฝ่ายบริหารจัดการ ฝ่ายขายและปล่อยเช่า ฝ่ายลงทุนและพัฒนา หรือฝ่ายประเมิน รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งในส่วนของธนาคารพาณิชย์ ก.ล.ต. ธนาคารแห่งประเทศไทย และกรมที่ดิน โดยผู้ศึกษาในหลักสูตร MRE สามารถเลือกสาขาวิชาเอกได้ 3 สาขา ประกอบด้วย

‘ การบริหารอสังหาริมทรัพย์ (Property Management)

‘ การประเมินราคาทรัพย์สิน (Property Valuation)

‘ การลงทุนและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Property Investment and Development)

ขณะที่การเรียนการสอนในห้องเรียนจะเป็นการผสมผสานทั้งจากอาจารย์ที่มีความเชี่ยว ชาญในสาขาวิชา ซึ่งประจำอยู่ในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอาจารย์จากต่างประเทศ ทั้งจาก Cambridge University, University of Cincinnati, Curtin-University of Technology และ University of South Australia รวมทั้งวิทยากรรับเชิญจากทั้ง ภาครัฐและเอกชน ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวข้อง กับสาขาวิชาเหล่านี้

การเรียนการสอนในหลักสูตร MRE จะใช้เวลาเรียนรวม 2 ปี โดยเป็นการศึกษาภาคค่ำสำหรับวันจันทร์ถึงวันศุกร์ และวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เวลานอกราชการในการบ่มเพาะและเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ผ่านหลักสูตรดังกล่าว และรอคอยจังหวะโอกาสให้สถานการณ์ทางธุรกิจนี้กระเตื้องขึ้นในอนาคต

สำหรับค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 2 ปี รวมทั้งสิ้น 16 วิชา 48 หน่วยกิตอยู่ในระดับประมาณ 261,000 บาท โดยแบ่งชำระเป็นราย ภาคปีละ 3 ภาค โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวรวมค่า หน่วยกิต ค่าเอกสารค่าสนับสนุนกิจกรรมการ เรียนการสอน ค่าอาหาร ค่าศึกษาเต็มเวลานอกสถานที่และค่าธรรมเนียมอื่นๆ ด้วย

กล่าวได้ว่า การเกิดขึ้นของหลักสูตร MRE นับเป็นสิ่งที่ท้าทายและน่าสนใจติดตามอย่างยิ่งเพราะตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา หลัก สูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ ในระดับอุดมศึกษาและสูงกว่าอุดมศึกษา ตกอยู่ในภาวะที่เงียบงัน หลังจากที่หลักสูตร MBA ที่สถาบันการศึกษาหลายแห่งเร่งผลิตบัณฑิตออกมาถูกตั้งคำถามจากสังคมอย่างหนักหน่วง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักสูตร MBA ด้าน การเงิน ซึ่งเคยเป็นหลักสูตรยอดนิยม ในฐานะ ที่เป็นช่องทางในการประกอบอาชีพในอนาคต ต้องเผชิญกับการค้นหาทิศทางที่เหมาะสมหลัง จากที่สถาบันการเงินแทบทุกแห่งในประเทศไทยต้องประสบปัญหาจากวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา

สำหรับหลักสูตร MRE ที่เริ่มดำเนินการ ในปีนี้เป็นปีแรก คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง ว่าจะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์หลักของหลัก สูตร และผลิตมหาบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้านที่ทนทานต่อการพิสูจน์คุณภาพได้หรือไม่ต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us