Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2543
Mollie s Job             
 





วิลเลียม แอ๊ดเลอร์ ผู้เขียน Mollie's Job มีพื้นเพการเป็นนักข่าวและ ไม่ใช่คนที่หลงใหลได้ปลื้มกับการค้าเสรีและระบบเศรษฐกิจโลกมากนัก เขาเห็นว่าการค้าเสรีจะ "เป็นอันตรายต่อประชาธิปไตย ขัดขวางภาคธุรกิจและชุมชนที่เคยมีเสถียรภาพ และทำลายบรรดาคนงานที่มีชีวิตอยู่ทั้งในภาคธุรกิจและชุมชน อีก ทั้งยังส่งผลกระทบต่อสายการผลิตระดับโลกด้วย

แอ๊ดเลอร์ชี้ประเด็นนี้โดยบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสายการผลิตตัว บัลลาสต์ (ที่ใช้กับหลอดไฟฟ้า) ในโรงงานแห่งหนึ่ง โดยที่ตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษนับจากสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา สายการผลิตในโรงงานแห่งนี้ ต้องย้ายจากนิวเจอร์ซีย์ไปยังมิสซิสซิปปีและย้ายไปเม็กซิโกในที่สุด แอ๊ดเลอร์เล่าถึงการย้ายโรงงานลงใต้นี้โดยผ่านชีวิตคนงานสามคนคือมอลลี เจมส์ ที่อยู่ที่นิวเจอร์ซีย์ โดโรธี คาร์เตอร์ ซึ่งอยู่ที่มิสซิสซิปปี และบัลบินา ดูเก ซึ่งอยู่ในเม็กซิโก ซึ่งทำให้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับชุมชนในเมืองเหล่านี้เมื่อครั้งที่โรงงานไปตั้งอยู่และเมื่อโรงงานย้ายฐานการผลิตไป นอกจากนั้น แอ๊ดเลอร์ยังได้พูดคุยกับบรรดาผู้จัดการโรงงานที่อยู่ในแต่ละพื้นที่ซึ่งเล่าถึงการต่อสู้ทางสังคมและเศรษฐกิจในยุคของตน มีเรื่องราวทั้งในแง่ของสหภาพแรงงาน การชุมนุมคนงานกลุ่มที่เป็นพวกเหยียดผิว ไปจนถึงการที่โรงงานถูกราชาจังค์บอนด์อย่างไมเคิล มิลคิน พยายามเข้าซื้อกิจการถึงสองครั้ง เป็นต้น

หนังสือเล่มนี้จึงไม่ใช่คำประกาศหลักการเพื่อแก้ไขปัญหาและไม่ใช่การเสนอทฤษฎีที่ซับซ้อน แต่เป็นเรื่องเล่าที่ใช้ภาษาอย่างทรงพลัง และเต็มไปด้วยรายละเอียดที่ชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์ได้อย่างชัดเจน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us