Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 มกราคม 2547
"ก.ล.ต." ออกมาตรการเข้มคุมผู้บริหารบจ.ไซฟ่อนเงิน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
Stock Exchange




ก.ล.ต.เตรียมใช้มาตรการแก้ปัญหาการไซฟ่อน เงินผู้บริหารจากบจ. รวมถึงใช้กระแสสังคมกดดัน กรณีใช้กฎหมาย ลงโทษไม่ได้ ส่วนกรณี บจ.ซื้อ-ขายสินค้าและทรัพย์สินราคาสูงหรือ ต่ำกว่าราคาตลาด โดยเฉพาะบริษัทในเครือ ก.ล.ต.จะจับมือ ตลท. วิเคราะห์อัตราส่วนบัญชีที่สำคัญๆ บริษัทต่างๆ ด้านกรณี บจ.ให้กู้กิจการส่วนตัวผู้ถือหุ้นใหญ่ แล้วใช้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติอนุมัติ ก.ล.ต.จะแทรกแซงผ่านที่ประชุมผู้ถือหุ้น พร้อมขอให้โบรกเกอร์กำหนดแนวทางบริหารวงเงินลูกค้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงกับระบบเคลียริ่งหุ้นโดยรวม ขณะที่เปิดเสรีค่าคอมฯยังไร้ข้อสรุปจะถามความเห็นผู้เกี่ยวข้องเพิ่ม เพื่อให้ได้ข้อสรุปเป็นธรรมทุกฝ่าย แถมโบรกเกอร์มีเวลาเตรียมพร้อม

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เปิดเผยวานนี้ (22 ม.ค.) ถึงมาตรการแก้ปัญหาไซฟ่อนเงินออกจาก บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ว่าหลังจาก ก.ล.ต. ศึกษาพฤติกรรมบจ.ช่วงที่ผ่านมา หลายกรณีพบการกระทำไม่เหมาะสม โดยมีการหาผลประโยชน์จากบจ. บางกรณีอาจไม่สามารถดำเนินคดีอาญาข้อหาทุจริต เพราะผู้กระทำการ อาศัยช่องโหว่กฎหมาย หรืออ้างว่าเป็นดุลพินิจทางธุรกิจ

อนาคตก.ล.ต.จะศึกษาแนวทางเน้นมาตร-การป้องกัน ก่อนที่ธุรกรรมเหล่านั้นจะเกิดขึ้น โดยก.ล.ต.จะชี้ให้เห็นข้อมูลที่อาจนำไปสู่ความไม่ถูกต้องของธุรกรรมต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะกระตุ้น ให้เกิดกระแสสังคม ทำให้ผู้เกี่ยวข้องต้องอธิบาย ความสมเหตุสมผลธุรกรรมต่างๆ แก่ผู้ถือหุ้น

นายธีระชัยกล่าวว่าที่ผ่านมา พบการหาประโยชน์จาก บจ.รูปแบบการกระทำหลักๆ 2 แบบ แบบที่ 1 คือการที่ บจ.ซื้อหรือขายสินค้า หรือทรัพย์สิน ราคาสูงกว่าหรือต่ำกว่าความ เป็นจริง โดยเฉพาะกับบริษัทในเครือ วิธีแก้ปัญหา นี้ ก.ล.ต.จะหารือตลาดหลักทรัพย์ (ตลท.) เพื่อให้มีการวิเคราะห์อัตราส่วนทางบัญชีที่สำคัญบริษัทต่างๆ เทียบบริษัทคล้ายคลึงกัน (peer group)

แบบที่ 2 คือการที่ บจ.ให้กู้ หรืออำนวยประโยชน์ผู้ถือหุ้นใหญ่กิจการส่วนตัว แล้วขอให้ที่ ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติอนุมัติ ภายหลัง ปรากฏว่า การให้กู้หรืออำนวยประโยชน์ดังกล่าว ทำให้ บจ. ได้รับความเสียหายเวลาต่อมา วิธีแก้ปัญหานี้ ก.ล.ต.จะแทรกแซงชั้นขบวนการประชุมผู้ถือหุ้น

ขั้นตอนดำเนินการที่อาจเป็นไปได้ คือเมื่อ บจ.จะนัดประชุมผู้ถือหุ้น หากมีวาระเกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัทต้องส่งเอกสารให้ ก.ล.ต. ล่วงหน้า โดยก.ล.ต.จะเน้นให้วิเคราะห์วิจารณ์ข้อดีข้อเสียข้อเสนอดังกล่าวอย่างกว้างขวาง ทั้งสื่อต่างๆ และเว็บไซต์ก.ล.ต. (www.sec.or.th) รวมทั้งจะกระตุ้นผู้ลงทุนสถาบันให้วิเคราะห์ และ ออกเสียงอย่างรอบคอบ

นอกจากนี้ การประชุมผู้ถือหุ้นก.ล.ต.จะหารือตลาดหลักทรัพย์ เพื่อกำหนดให้บจ.ต้องมีที่ปรึกษากฎหมาย รวมทั้งผู้สอบบัญชีอิสระ ทำหน้าที่ตรวจสอบกระบวนการต่างๆ อีกชั้นหนึ่ง ก.ล.ต.อาจส่งเจ้าหน้าที่ร่วมสังเกตการณ์ด้วย

แนวคิดเรื่องนี้ คือหาทางทำให้การฟอกตัวในที่ประชุมผู้ถือหุ้นทำได้ยากขึ้น โดยเปิดโอกาสผู้ถือหุ้นรายย่อย ได้รับข้อมูลประกอบการ ตัดสินใจเต็มที่ นายธีระชัยกล่าว

นายธีระชัยกล่าวถึงตัวอย่างการดำเนินการ บจ.ที่ผู้ถือหุ้นควรระวังกรณีดำเนินการโดยได้รับ มติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น พฤติกรรมไม่เหมาะสม ให้กู้แก่บริษัทส่วนตัวผู้ถือหุ้นใหญ่ เพื่อลงทุนโครง การที่ความเสี่ยงสูง บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ก. ได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้บจ.ก.ให้กู้แก่บริษัท ส่วนตัวผู้ถือหุ้นใหญ่ เป็นเงินประมาณ 1,500 ล้านบาท เพื่อลงทุนโครงการแห่งหนึ่ง ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง และบจ.จะไม่ได้เป็นผู้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าว ต่อมาหลัง วิกฤตเศรษฐกิจ โครงการดังกล่าวถูกเลื่อนไม่มีกำหนด บริษัทส่วนตัวผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ ทำให้บจ.ก.ต้องตั้งสำรองเผื่อหนี้สูญ ทั้งจำนวน

พฤติกรรมไม่เหมาะสมอีกกรณี คือลดหนี้เงินให้กู้บริษัทส่วนตัวผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยให้บจ. รับภาระหนี้สูญ เช่น บริษัทจดทะเบียนข.ได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ให้บจ.ข.ให้กู้บริษัทส่วน ตัวผู้ถือหุ้นใหญ่ เป็นเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท ต่อมา บริษัทนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งเป็นผู้บริหารบจ.ข.ด้วย จึงเสนอที่ประชุมผู้ถือ หุ้นอนุมัติปรับโครงสร้างหนี้ โดยลดหนี้ให้บริษัท ส่วนตัวของผู้บริหาร ทำให้บจ.ข.ต้องรับภาระหนี้ สูญจากการปรับโครงสร้างหนี้

ส่วนดำเนินการโดยไม่ผ่านที่ประชุมผู้ถือหุ้น พฤติกรรมไม่เหมาะสม คือซื้อทรัพย์สินราคาสูงจากบุคคลที่เกี่ยวข้องของผู้ถือหุ้นใหญ่ เช่น บริษัทจดทะเบียนค. ลงทุนซื้อหุ้น 25% บริษัทง. ซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นใหญ่ ราคา 15 ล้านบาท ทั้งที่มูลค่าตามบัญชีบริษัทง. เพียง 2 ล้านบาท โดยอ้างว่ามูลค่าที่จ่ายเพิ่ม เป็นค่าความ นิยมบริษัทง. อีก 1 เดือนต่อมาบจ.ค.ตั้งสำรองเผื่อขาดทุนหุ้นบริษัทง. 13 ล้านบาท บริษัทง.ก็เลิกกิจการอีก 1 ปีถัดมา

พฤติกรรมไม่เหมาะสม กรณีขายเงินลงทุน บริษัทย่อยในราคาต่ำ ให้บุคคลที่สงสัยว่าเป็นบุคคลเกี่ยวข้องของผู้ถือหุ้นใหญ่ เช่น บริษัทจดทะเบียนจ. ขายหุ้นบริษัทย่อยให้บุคคลที่สงสัยว่าเป็นบุคคลเกี่ยวข้องของผู้ถือหุ้นใหญ่ ราคาเพียง 1 ล้านบาท โดยอ้างว่ามูลค่าตามบัญชีบริษัทย่อยติดลบ ทั้งที่บริษัทย่อยทรัพย์สิน มูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท หนี้สินเกือบทั้งหมด ของบริษัทย่อยเกือบ 20,000 ล้านบาท เป็นเงินกู้ บจ.จ.เอง หลังขายบริษัทย่อยไปแล้ว บจ.จ.ไม่ติด ตามทวงหนี้จากบริษัทนั้นตั้งเป็นหนี้สูญ พฤติกรรมไม่เหมาะสม จ่ายค่าเช่าตึกล่วงหน้า 99 ปี ให้บริษัทที่เกี่ยวข้อง เช่น บริษัทจดทะเบียนฉ. ทำสัญญาเช่าอาคารสำนักงานจากบริษัทส่วนตัวผู้ถือหุ้นใหญ่ และจ่ายค่าเช่าอาคาร ล่วงหน้าทันทีถึง 99 ปี เป็นเงิน 2,000 ล้านบาท ทั้งที่สัญญาเช่า อายุเพียง 3 ปี และต่ออายุได้ ทุกๆ 3 ปี เสรีค่าคอมฯ ยังไร้ข้อสรุป

ด้านการประชุมร่วมกัน ระหว่างผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และผู้แทนสมาคมบริษัทหลักทรัพย์วานนี้ (22 ม.ค.) ตกลง ร่วมกัน ว่าจะพบปะกันทุก 3 เดือน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นการกำกับและพัฒนาตลาดทุน การประชุมครั้งนี้ ก.ล.ต.ขอให้สมาคมบริษัทหลัก ทรัพย์ศึกษา เพื่อกำหนดแนวทางบริหารวงเงินลูกค้าให้เหมาะสม และจัดสรรหุ้นจอง

นายธีระชัยกล่าวว่าการประชุมวานนี้ ก.ล.ต. ขอให้บริษัทหลักทรัพย์ศึกษา เพื่อกำหนดแนวทาง บริหารวงเงินลูกค้า โดยคำนึงถึงหุ้นที่ลูกค้านำเงินไปซื้อ ซึ่งแต่ละหุ้นก่อเกิดความเสี่ยงบริษัทหลักทรัพย์ต่างกัน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดกับระบบเคลียริ่งหุ้นโดยรวม เบื้องต้นอาจ พิจารณาหุ้นที่อยู่ในข่ายต้องรายงานก.ล.ต.

หุ้นที่สัดส่วนราคาหุ้นต่อกำไร (P/E ratio) สูงที่ซื้อขายคึกคักมากเทียบจำนวนหุ้นหมุนเวียน จริงในกระดาน (free float) 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่ง อาจมีเหตุผลสนับสนุน เช่น เป็นบริษัทแนวโน้มกำไรเพิ่มสูง (growth company) เมื่อกำไรเพิ่ม จะทำให้ P/E ratio ลดลงอนาคต
แต่อีกกลุ่ม อาจเป็นหุ้นที่ซื้อมากเกินไปตามกระแสข่าวลือ หรือแนะนำกัน หลายกรณี ไม่ใช่ทำโดยผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัทจดทะเบียน จึงแนะนำผู้ลงทุนรายย่อย ศึกษาวิเคราะห์หุ้นที่ P/E ratio สูง ที่อยู่ในบัญชีหุ้นหมุนเวียนสูง (Turnover list) อย่างละเอียดรอบคอบ

ปี 2547 คาดว่าจะมีหุ้นใหม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งการเพิ่มทุนบริษัทจดทะเบียน (บจ.) จำนวนมาก จึงเห็นว่าจะร่วมกันกำหนดแนวทางจัดสรรโปร่งใสและชัดเจน กรณี หุ้นรัฐวิสาหกิจจะร่างแนวทางจัดสรรเสนอหน่วย งานเกี่ยวข้อง เพื่อให้หุ้นรัฐวิสาหกิจกระจายสู่ประชาชน

กรณีเปิดเสรีค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ก.ล.ต.รับฟังปัญหาต่างๆ ที่บริษัทหลักทรัพย์คาด ว่าจะเกิดขึ้น หากเปิดเสรีก.ล.ต.จะนำข้อมูลพิจารณาอย่างรอบคอบ และสอบถามความเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อสรุปเป็นธรรมแก่ทุก ฝ่าย และบริษัทหลักทรัพย์จะมีเวลาเตรียมพร้อม นายธีระชัยกล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us