Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 มกราคม 2547
ขุนคลังไฟเขียวแผนฟื้นฟูทีพีไอลดหุ้นกลุ่มเลี่ยวไพรัตน์เหลือ1%             
 


   
search resources

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย, บมจ.
ไทยพาณิชย์, บล.
กระทรวงการคลัง
บรรษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์
สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
มงคล อัมพรพิสิฏฐ์
สมชาย วสันต์ทวีสุทธิ
Cement




ขุนคลังเห็นชอบแผน ฟื้นฟูฯฉบับปรับปรุงใหม่ของทีพีไอ ที่ จะลดทุนจดทะเบียนของบริษัท เพื่อล้าง ขาดทุนจำนวน 8 หมื่นล้านบาทให้หมด ไป จากนั้นจะมีการเพิ่มทุนโดยแปลงหนี้เป็นทุน เพิ่มสัดส่วนให้เจ้าหนี้ถือหุ้น ในทีพีไอเพิ่มขึ้นจาก 75% เป็น 80-90% ระบุเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ส่วนตระกูลเลี่ยวไพรัตน์เหลือแค่ 1%จากเดิม 10% "ประชัย"มั่นใจแผนฟื้นฟูฯดังกล่าว เจ้าหนี้ต่างชาติปฏิเสธเพราะเสียหายมาก ขณะที่เจ้าหนี้แบงก์ไทยไฟเขียว เนื่องจากเป็นเจ้าหนี้มีประกัน

ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรม การบริหารแผนฟื้นฟูฯ ที่ปรึกษาในการจัดทำแผนแก้ไขปรับปรุงแผนฟื้นฟู และ ตัวแทนเจ้าหนี้ในประเทศของบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI) ว่าหลังจากบริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ในฐานะที่ปรึกษาทาง การเงินและการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ TPI ได้เสนอแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ต่อที่ประชุมได้รับทราบ ทางกระทรวงการ คลังเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว เพราะ เห็นว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้ แต่ไม่ได้คาดหวังกับเจ้าหนี้ต่างประเทศมากนัก

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าเจ้าหนี้ทุกรายจะเห็นชอบกับแผนดังกล่าว เพราะเห็นว่าเป็นแผนฯที่ดี และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

สำหรับรายละเอียดการปรับปรุงแผนฟื้นฟู กิจการดังกล่าว จะประกอบด้วยการลดทุนจดทะเบียน TPI เพื่อให้สามารถล้างขาดทุนทั้งหมด จำนวน 80,000 ล้านบาท หลังจากนั้นจะมีการเพิ่ม ทุนโดยการแปลงหนี้เป็นทุน ทำให้สัดส่วนของเจ้า หนี้ในการถือหุ้นเพิ่มจาก 75% เป็น 80-90% ส่วน รายย่อยจะเหลือ 10% พนักงาน 5% และตระกูล เลี่ยวไพรัตน์ เหลือ 1% ซึ่งแนวทางการปรับปรุงแผนฟื้นฟูฯครั้งนี้ จะมีมาตรการในการคุ้มครอง ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อยและพนักงานไม่ให้สัดส่วนเหลือ 0%

นายสมชาย วสันต์ทวีสุทธิ ที่ปรึกษาพิเศษ บรรษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท กล่าวว่าที่ปรึกษา ในการจัดทำแผนได้นำเสนอแผนให้เจ้าหนี้ในประเทศได้รับฟัง ซึ่งรายละเอียดเรื่องการลดทุน เพิ่มทุนว่าจะเป็นเท่าไรยังไม่สามารถตอบได้ในเวลานี้ แต่การลดทุนจะลดจากราคาพาร์ 10 บาท ลงไปค่อนข้างมาก จึงจำเป็นต้องมีมาตรการคุ้ม ครองให้กับผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่ได้รับความเดือดร้อนด้วย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

"สัดส่วนของผู้ถือหุ้น TPI ตามแผนปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ จะประกอบด้วย เจ้าหนี้ถือหุ้น ใหญ่ประมาณ 80-90% รายย่อย 10% และพนักงาน 5% ส่วนกรณีของคุณประชัยนั้นจากเดิมที่ถือ หุ้นอยู่ 10% ก็จะเหลือเพียง 1% เท่านั้น"

นายสมชาย กล่าวว่า แนวทางการปรับปรุง แผนฟื้นฟูนี้ได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ในประเทศเป็นอย่างดี ส่วนเจ้าหนี้ต่างประเทศนั้น ทางผู้จัดทำแผนแจ้งว่า ได้มีการประสานข้อมูลไป ให้กับเจ้าหนี้ต่างประเทศบางรายรับทราบแล้ว และคงจะมีการนำเสนอให้เจ้าหนี้ต่างประเทศที่เหลือในลำดับต่อไป

"แผนนี้คาดว่าจะนำเสนอต่อศาลล้มละลายกลางประมาณเดือนมีนาคมนี้ เพื่ออนุมัติ รับแผนฯ แต่คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะได้ยกเลิกการวีโต้ไปแล้ว ซึ่งหากแผนผ่านความเห็นชอบก็จะมีการดำเนินการลดทุน /เพิ่มทุนตาม แผน หลังจากนั้นก็จะมีการหาพันธมิตรกลยุทธ์เข้ามาร่วมทุน โดยแผนฯได้เปิดช่องในการเข้าร่วมทุนไว้ 30-50% ซึ่งที่ปรึกษาทางการเงินจะเป็น ผู้หามา แต่คิดว่าน่าจะเป็นพันธมิตรในประเทศมากกว่า" นายสมชาย กล่าว

ด้านพลเอกมงคล อัมพรพิสิฏฐ์ ประธานผู้บริหารแผน TPI กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมา TPI มีกำไรประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้การดำเนินงานทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ส่วนประเด็นเรื่องการแลกหุ้นระหว่าง TPI กับ นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจากันอยู่ ซึ่งทาง TPI ได้จ้างบริษัท เอดีบี เป็นที่ปรึกษา ซึ่งขณะนี้ได้ทำการศึกษาแผนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนทางนายประชัย ได้จ้างบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร เป็นที่ปรึกษา แต่ยังทำการศึกษาไม่เสร็จ ทำให้ยังไม่ได้เจรจากัน แต่คาดว่าเมื่อทำแผนฯเสร็จแล้ว ก็จะได้มาเจรจาต่อไป

มั่นใจเจ้าหนี้ต่างชาติปฏิเสธแผนฯ

นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ข้อเสนอการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการTPI ของบล.ไทยพาณิชย์ครั้งนี้ เชื่อว่าเจ้าหนี้ต่างประเทศจะไม่เห็นด้วย เพราะจะได้รับความเสียหายมากจากการลดพาร์ ลง และไม่ใช้หนี้ที่มีการค้ำประกัน ขณะที่แบงก์เจ้าหนี้รายใหญ่ของไทยบางราย กลับได้ประโยชน์ เต็มที่ เพราะเป็นเจ้าหนี้มีประกัน หากลดพาร์แล้ว ก็จะนำส่วนที่สูญเสียจากการลดทุนมาเรียกเก็บกับตน เพราะได้มีการค้ำประกันส่วนตัวเอาไว้

ปัจจุบัน สภาพคล่องของ TPI ดีขึ้น ไม่มีความจำเป็นต้องลดพาร์และแปลงหนี้เป็นทุน เพราะแต่ละเดือน TPI มีกำไรก่อนค่าเสื่อม ดอกเบี้ยจ่ายและภาษี (EBITDA) สูงถึง 1 พันล้านบาท

"ผมเชื่อว่าเจ้าหนี้ต่างประเทศคงไม่เอาด้วย เพราะเสียหาย ขณะเดียวกันผู้ถือหุ้นรายย่อยและผู้ถือหุ้นเดิมก็ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว เช่นกัน ที่ผ่านมา ผมเสนอแนวทางในการฟื้นฟูกิจการ TPI โดยไม่ต้องมีการลดทุน แถมยืนยัน ว่าจะซื้อหุ้นคืนภายใน 2 ปีข้างหน้า แต่ก็ไม่ได้รับการพิจารณา"

ก่อนหน้านี้นายประชัยได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาทางการเงินของ TPI ภายหลังจากมีข่าวลือออกมาว่าที่ปรึกษาทางการเงินเสนอให้มีการลดพาร์จาก 10 บาทเหลือหุ้นละ 10 สตางค์ และในฐานะผู้บริหารลูกหนี้ พร้อมที่จะซื้อหุ้นคืนบวกดอกเบี้ย ตามข้อเสนอที่ได้ยื่นไปด้วย หรือประมาณหุ้นละ 25 บาท จากที่เจ้าหนี้แปลงหนี้เป็นทุนในราคาหุ้นละ 20 บาท

สำหรับข้อเสนอการปรับแผนโครงสร้างทาง การเงินใหม่ฉบับนี้ มีประเด็นหลัก 6 ประเด็นคือ ประเด็นแรก เสนอให้ลดหนี้ทีพีไอ จาก 2,640 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เหลือ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยหนี้ที่ลดไป 2,140 ล้านดอลลาร์ จะนำไปรวมกับดอกเบี้ยระหว่างปี 2541-2543 จำนวน 752 ล้านดอลลาร์ รวมเป็นหนี้ทั้งสิ้น 2,892 ล้าน ดอลลาร์ ให้เจ้าหนี้แปลงเป็นทุนในราคาหุ้นละ 20 บาท หรือเท่ากับ 5,845 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 75% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด จากเดิมที่เจ้าหนี้แปลงหนี้เป็นทุนในอัตราที่ 5.52 บาทต่อหุ้น

ประเด็นที่ 2 เสนอจ่ายดอกเบี้ยสำหรับเงิน กู้สกุลบาทในอัตรา 3.50% และอัตรา LIBOR+1 สำหรับเงินกู้สกุลต่างประเทศ ประเด็นที่ 3 กำหนดชำระหนี้คืนภายใน 4 ปี ผ่อนชำระปีละ 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่า หากมีเงิน เหลือมากขึ้น ซึ่งตามประมาณการอาจชำระคืนได้ภายใน 2 ปี

ประเด็นที่ 4 กำลังการผลิตน้ำมันโรงกลั่นเฉลี่ย 1.8 แสนบาร์เรลต่อวัน หรืออาจเพิ่มได้อีก 3.5 หมื่นบาร์เรลต่อวัน ประเด็นที่ 5 เสนอบังคับ ให้ให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นเดิมทีพีไอซื้อหุ้นคืน ภายในเวลา 4 ปี ในราคาหุ้นละ 20 บาท บวกดอกเบี้ยเอ็ม-แอลอาร์ ประเด็นที่ 6 ให้บรรษัทการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอฟซี หรือเจ้าหนี้รายอื่น สามารถ ใช้สิทธิ์แปลงหนี้เป็นหุ้นกู้แปลงสภาพกำหนดเวลา ชำระคืน 4 ปี อัตราดอกเบี้ย 6% ต่อปี หรือแปลง เป็นหุ้นสามัญในราคาหุ้นละ 50 บาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us