Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2547
The Wright Way             
 





แก้ปัญหาแบบพี่น้องตระกูล Wright

Mark Eppler ผู้แต่งซึ่งเป็นอาจารย์สอนธุรกิจ ศึกษาชีวิตการทำงานของพี่น้องตระกูล Wright (Wilbur และ Orville Wright) อย่างละเอียดและพบว่า กระบวนการแก้ไขปัญหาของพี่น้องตระกูล Wright อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อหาวิธีที่จะทำให้เครื่องบินซึ่งหนักกว่าอากาศบินขึ้นให้ได้ โดยนำหลักการทางวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบนั้น คือเบื้องหลังความสำเร็จอันงดงามของพวกเขา ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องบินแบบมีคนนั่งได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในโลกเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 1903

Eppler เห็นว่า กระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบของ 2 พี่น้องตระกูล Wright นี้น่าจะนำมาปรับใช้กับการแก้ปัญหาทางธุรกิจได้ด้วย ดังนั้น เขาจึงนำหลักการแก้ปัญหาของพี่น้องตระกูล Wright มาปรับและกลั่นจนได้หลักการ 7 ประการในการแก้ไขปัญหาธุรกิจ

เปิดศักราชใหม่แห่งการบิน

Eppler เห็นว่า ความสำเร็จของพี่น้องตระกูล Wright เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 20 เพราะพวกเขาสามารถแก้ไขปัญหาเทคนิคที่ใครๆ ต่างส่ายหน้าและลงความเห็นว่า ซับซ้อนและยากเกินกว่าจะแก้ได้ แต่พวกเขากลับสามารถแก้ได้โดยไม่มีใครช่วย ภายในเวลาอันรวดเร็วและด้วยพลังสมองอันน่าทึ่ง ทั้งๆ ที่เขาทั้งสองเป็นเพียงช่างซ่อมจักรยานธรรมดาๆ จากเมือง Dayton ที่ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการน้อยมาก

Eppler ได้ตั้งชื่อหลักการทั้ง 7 ที่เขากลั่นมาจากหลักการทำงานของพี่น้องตระกูล Wright โดยพยายามโยงให้เกี่ยวกับงานของทั้งสองซึ่งเป็นช่างซ่อมจักรยานดังนี้

- การเผาและตีเหล็ก (เพื่อขึ้นรูปชิ้นส่วนจักรยาน) หรือหลักการขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ การถกเถียงกันอย่างสร้างสรรค์ซึ่งจะทำให้สามารถค้นพบความคิดและวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ ก็เปรียบเหมือนการเผาและตีเหล็กที่ต้องใช้ความร้อนสูงเป็นเวลานาน กว่าจะได้รูปร่างตามต้องการ

- จัดการหัวหน้าวายร้าย หรือหลักการจัดการปัญหาที่เลวร้ายที่สุดก่อน จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายหากพบว่าวิธีแก้ปัญหาที่นำมาใช้ไม่ได้ผล

- ปะโน่นนิดนี่หน่อย หรือหลักการแก้ปัญหาทีละเปลาะ การแก้ปัญหาไปทีละจุดอาจนำไปสู่วิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ ได้ เพราะในระหว่างที่เราแก้ปัญหาแต่ละจุดเราจะเกิดความเข้าใจภาพรวมของปัญหามากขึ้น

- ปล่อยใจให้คิดแผลง หรือหลักการคิดนอกกรอบ การคิดแผลงๆ คือการมองหาความเป็นไปได้ที่อยู่นอกเหนือครรลองความคิดปกติ ที่มักจะถูกจำกัดด้วยแนวทางหรือประสบการณ์เดิมๆ

- เตรียมงานอย่างทรหดหรือหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งจำเป็นในการสั่งสมข้อมูลใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา

- วัด 2 ครั้ง หรือหลักการแห่งความรอบคอบ วิธีแก้ปัญหาที่รวดเร็วและได้ผลที่สุดคือการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและรอบคอบ

- เพิ่มพลังทวีคูณ หรือหลักการทำงานเป็นหมู่คณะ พลังของกลุ่มที่มีเป้าหมายร่วมกันจะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ จากการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจและความซื่อสัตย์ต่อกัน ตลอดจนการแบ่งปันผลประโยชน์และสิทธิอย่างเท่าเทียม

รวดเร็วปานจักรผัน

Eppler แสดงให้เห็นว่า พี่น้องตระกูล Wright นำหลักการทั้ง 7 มาใช้แก้ปัญหาที่ไม่เคยมีใครแก้มาก่อนได้อย่างไร ซึ่งนอกจากจะทำให้พวกเขาสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย โดยใช้เงินไม่ถึง 1,000 ดอลลาร์ในการประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษได้แล้ว ยังทำให้พวกเขาสามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วปานจักรผันอีกด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us