Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2547
อภิรักษ์ โกษะโยธิน             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 


   
search resources

อภิรักษ์ โกษะโยธิน




"ผมมองว่า เรื่องการลาออกจากตำแหน่ง CEO บริษัทแกรมมี่ของอภิรักษ์ โกษะโยธิน ไปสู่ทีเอ ออเร้นจ์ นั้นเป็นเรื่องโอกาสของมืออาชีพคนหนึ่ง มากกว่าที่จะเป็นเรื่องความขัดแย้ง

ประสบการณ์และโอกาสของเขาสอดคล้องกับยุคสมัย มันต้องควบคู่ไปกับความเก่ง ความเก่งเป็นนิยามจากความรู้สึกมากกว่าความเข้าใจ หากถามผม ผมคิดว่าอภิรักษ์มีความสัมพันธ์กับความเป็นไปของเขา

คนหนุ่มที่มีบุคลิกดี ที่เพิ่งผ่านวัย 40 ปีมาไม่นานอยู่ในวัยของความกระฉับกระเฉง ในฐานะนักบริหารที่อยู่ในโลกธุรกิจสมัยใหม่ โดยเฉพาะประสบการณ์สำคัญในการบริหารบริษัทฟริโต-เลย์ ในช่วงวิกฤติการณ์ประเทศไทยสามารถสร้างสินค้ามันฝรั่งทอดแบรนด์เนมตะวันตก เข้ายึดครองตลาดประเทศไทยสำเร็จ ประสบการณ์ 5-6 ปีของเขา มีความหมายมากทีเดียว

- ประสบการณ์ในการบริหารสินค้าที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ผู้คนในเมืองใหญ่ โดยพุ่งเป้าไปที่กลุ่มวัยรุ่น ซึ่งกลายเป็นฐานของสินค้าสมัยใหม่ อย่างสินค้าความบันเทิงของแกรมมี่ หรือโทรศัพท์มือถือ Orange

- ประสบการณ์ในการบริหารในบริษัทต่างประเทศ ในประเทศไทยในช่วงเวลาพอสมควร (มากกว่า 10 ปี) ความสำเร็จของมืออาชีพคนไทยในบริษัทต่างประเทศในประเทศไทย เป็นสิ่งที่อ้างอิงเสมอสำหรับสังคมธุรกิจไทย ตั้งแต่กรณีมืออาชีพจากเชลล์ เอสโซ่ ย้ายมาสู่เครือซิเมนต์ไทย เมื่อราว 30 ปีที่แล้ว

โอกาสของอภิรักษ์จึงเกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้"

ผมเขียนเรื่องนี้ไว้ช่วงที่เขาลาออกจากแกรมมี่ไป Orange จากบริษัทดาวรุ่งของเถ้าแก่ไทยรุ่นใหม่ไปสู่กิจการเก่าแก่ของไทยที่ผสมกับตะวันตก นับว่าเป็นคนหนุ่มที่มี ประสบการณ์หลากหลายมากคนหนึ่ง หากจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งการเมืองก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ

ที่สำคัญการตัดสินใจคราวนี้ อาจจะไม่มีเรื่องโอกาสเป็นประการสำคัญเสียแล้ว หากเป็นเรื่องของการสร้างคุณค่าของตนเอง ซึ่งในฐานะนักการตลาด คนอย่างอภิรักษ์มองตนเองเป็น Brand ที่ต้องสร้างคุณค่าให้เพิ่มขึ้นๆ (เข้าใจว่าเขาเข้าใจสิ่งนี้อย่างลึกซึ้งก็ตอนย้ายมาอยู่แกรมมี่)

หากมองในมุมนี้ประสบการณ์ที่ทำงานกับบริษัทฝรั่งที่บางคนบอกว่าไม่ต้องมี Strategic Thinking อะไรมากนัก เพราะฝรั่งมีทั้งแนวทางและแบบแผนการทำงานอย่างละเอียดอยู่แล้วนั้น เขาได้ประโยชน์จากประสบการณ์นั้นมาแล้วจากการย้ายงาน 2 ครั้งใน 2 ปี ด้วยคุณค่าที่เป็นตัวเงินเดือนที่มากกว่า 7 หลัก กับบทบาทในกิจการที่ใหญ่กว่าเดิมท้าทายกว่าเดิม

ต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งว่า การย้ายงาน 2 ครั้งใน 2 ปี ย่อมมีความไม่ "ลงตัว" ระหว่างประสบการณ์ บทบาทใหม่ ความคาดหวัง และความพึงพอใจ ดังนั้นการตัดสินใจครั้งใหม่นี้จึงเป็นเรื่องยุ่งยากมากทีเดียว

- เขากำลังก้าวจากเวทีระดับสังคมธุรกิจที่มีบุคลิกเฉพาะ มีกฎเกณฑ์ที่ค่อนชีวิตของเขาคุ้นเคย ไปสู่สังคมระดับกว้าง ระดับประเทศ ท่ามกลางสาธารณชนที่มีความคิดหลากหลายและเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ในเมืองหลวงที่มีโครงสร้างซับซ้อน มีความล้าหลัง และความทันสมัยที่ไม่สมดุลกัน

มองในมุมนี้เขาได้ไต่บันไดความเป็นมืออาชีพที่โลดโผนครั้งสำคัญในชีวิต แต่หากบวกอุดมคติที่ว่าด้วยประสบการณ์จากบริษัทฝรั่งสู่บริษัทไทย สุดท้ายเข้าสู่งานเพื่อสังคม ย่อมเป็นพัฒนาการทางคุณค่าที่น่าขายได้

เขาก้าวเข้ามาในพรรคการเมืองที่มีพันธะที่ไม่เข้มข้น พรรคการเมืองที่กำลังแสวงหา "ความใหม่" ในหลายมิติ การเข้ามาของเขาจึงกลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจทันที มองในมุมนี้ การเข้าสู่ตลาดที่ไม่ได้คาดหวังมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับภาระของ CEO ในธุรกิจที่แข่งขันสูง ย่อมเป็นเรื่องง่าย บางทีอาจจะง่ายกว่าการเปิดบริการใหม่ของโทรศัพท์มือถือด้วย

- อภิรักษ์เข้าใจเช่นเดียวกับพรรคการเมืองหลายพรรค ที่ยังเชื่อว่าการเมืองเป็นเรื่อง Brand ในความหมายที่หยาบพอสมควร (ศัพท์นี้สูงกว่า "การเมืองเป็นเรื่องการสร้างภาพพจน์") มิใช่เรื่องนโยบายหรือเป้าหมายอย่างเข้มข้น มิใช่การวัดผลงานที่จับต้องได้ แม้จะเป็นการบริหารเมืองหลวงขนาดใหญ่ก็ตาม ตามแนวคิดนี้เขาย่อมสามารถสร้างโอกาสใหม่ๆ สร้างคุณค่าของตนเองที่เพิ่มขึ้นได้

นี่คือความคิดใหม่ของมืออาชีพที่ข้ามพรมแดนระหว่างธุรกิจกับการเมือง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us