Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2547
คาฟูนโชว             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 





เหลืออีกเพียงแค่เดือนเดียวฤดูใบไม้ผลิที่ใครหลายคนเฝ้ารอก็จะมาเยือนอีกครั้ง อากาศที่อบอุ่นพร้อมกับการผลิดอกซากุระที่แต่งแต้มญี่ปุ่นให้กลายเป็นสีชมพูไปทั่วทั้งเกาะ แค่นึกถึงภาพช่วงเวลาที่สวยที่สุดในรอบปี และฮานามิใต้ต้นซากุระก็อยากให้ฤดูหนาวในเดือนกุมภาพันธ์ผ่านพ้นไปเร็วๆ ถึงกระนั้นก็ตามยังมีใครอีกหลายๆ คนที่ไม่อยากให้เวลานั้นมาถึง เพราะนั่นหมายถึงช่วงเวลาที่ทรทานจากสิ่งที่เรียกว่า คาฟูนโชว (Kafunshou)

คาฟูนโชว เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มอาการแพ้ละอองเกสรดอกไม้ ที่ปลิวมาตามกระแสลมในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม จากการตรวจสอบชนิดของละอองเกสรพบว่า มีเกสรจากต้นไม้กว่า 40 ชนิดที่เป็นสาเหตุของคาฟูนโชว แต่ชนิดที่คนส่วนใหญ่แพ้คือ เกสรจากต้นสนญี่ปุ่น 2 พันธุ์ คือ ต้นสุกิ (Sugi) และต้นฮิโนะคิ (Hinoki)

โดยส่วนใหญ่แล้วธรรมชาติออกแบบดอกไม้ให้มีกลิ่นหอม หรือมีสีสันรูปทรงที่สวยงามเพื่อล่อแมลงให้มาผสมเกสร ซึ่งเกสรจากดอกไม้สวยงามเหล่านั้นมักจะไม่ทำให้เกิดคาฟูนโชว เนื่องจากเกสรมีขนาดใหญ่และหนัก ทำให้ไม่สามารถปลิวไปตามกระแสลมได้ไกล ดังนั้นอิเคะบานะ (การจัดดอกไม้ญี่ปุ่น) ร้านขายดอกไม้ รวมทั้งสวนดอกไม้จึงไม่ใช่สาเหตุหลักของคาฟูน โชว แต่ธรรมชาติก็ออกแบบให้ต้นไม้อีกบางประเภทที่ไม่มีดอก สวยงามไว้ล่อแมลงสามารถผสมเกสรได้โดยอาศัยลม ซึ่งเกสรของต้นไม้กลุ่มนี้มักจะมีขนาดเล็ก เบา และมีปริมาณมากทำให้ ปลิวไปผสมเกสรได้ไกลๆ เช่น สนญี่ปุ่น เป็นต้น เกสรของสนญี่ปุ่นมีขนาดเล็กมาก (ประมาณ 30 ไมครอน) ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทำให้หายใจเอาละอองเกสรของสนญี่ปุ่นที่ปลิวมาตามลมเข้าไปได้โดยไม่รู้ตัว

การแพ้ที่เรียกว่าคาฟูนโชวนั้นต่างจากการแพ้อื่นๆ เช่น อาการภูมิแพ้ปกติที่พบบ่อยๆ คือ การแพ้ที่เกิดจากฝุ่นหรือสารเคมี และยังแตกต่างจากการแพ้ของไข้ละอองฟาง (Hay fever) ที่พบในยุโรปหรืออเมริกา ทั้งนี้เนื่องมาจากละอองเกสร จากต้นสนญี่ปุ่นจะถูกลมพัดมาเฉพาะช่วงเวลา ดังนั้นคาฟูนโชว จึงเป็นอาการแพ้ประจำปีที่ไม่หมือนกับการแพ้ฝุ่นซึ่งแพ้ตลอดปี นอกจากนี้ละอองเกสรขนาดเล็กและเบา ที่ปลิวจากป่าเข้ามาในเมืองนั้นมีปริมาณมากและครอบคลุมบริเวณไกลหลายร้อยตารางกิโลเมตร จึงมีผลกระทบต่อคนเป็นจำนวนมากกว่าไข้ละอองฟางที่มักจะเป็นกันเฉพาะแถบชนบทที่ปลูกข้าว

เวลาหายใจเอาละอองเกสรของสนญี่ปุ่นเข้าไปมากๆ กลไกการป้องกันตัวของร่างกายจะตอบสนองโดยการจามอย่างรุนแรง น้ำมูกไหล คัดจมูก ถ้าละอองเข้าไปถึงคอ ก็จะคันคอและไออย่างรุนแรง ลามไปถึงอาการคันหู ถ้าปลิวเข้าตา จะเกิดการเคืองตา น้ำตาไหลจนถึงตาอักเสบ ในบางรายอาจมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง หรือผิวหนังอักเสบได้

เมื่อละอองเกสรของสนญี่ปุ่นสัมผัสกับเนื้อเยื่อโพรงจมูก ร่างกายจะมีการตอบสนองต่อละอองเกสร ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม (Antigen) โดยการส่งสัญญาณไปที่ระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อกระตุ้นให้สร้างสาร IgE (Antibody) ขึ้นมาต่อต้าน ทำให้ เกิดอาการจามเพื่อขับเอาสิ่งแปลกปลอม (ละอองเกสร) ออกไป เนื่องจากละอองเกสรของสนญี่ปุ่นมีขนาดเล็กมากจึงไม่ใช่เรื่อง ง่ายที่จะขับสิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กๆ นี้ได้ด้วยกลไกปกติ

ในทางตรงกันข้ามหลังจากการถูกกระตุ้นครั้งแรก น้ำมูกที่หลั่งออกมากลับกลายเป็นสิ่งที่ช่วยยึดละอองเกสรที่หายใจเพิ่มเข้ามา โดยไม่รู้ตัวให้ติดอยู่ในโพรงจมูกมากขึ้น เมื่อหายใจเอาละอองเกสรเข้าไปมากๆ จำนวน IgE ก็ถูกกระตุ้นออกมามากเช่นกันกลายเป็นวงจร จนกระทั่งปริมาณของ IgE สะสมจนเกินระดับมาตรฐาน ในคนที่ไม่มี gene ที่คอยควบคุม ระดับของ IgE ก็จะแสดงอาการของคาฟูนโชวออกมา โดยการจามอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ในที่สุดลงท้ายด้วยอาการคัดจมูก เพื่อป้องกันไม่ให้จำนวนของละอองเกสรเพิ่มขึ้นไปอีก พอมาถึงระยะนี้ผู้ป่วยคาฟูนโชวจะเริ่มทรมานจากการหายใจลำบาก จนต้องใช้การหายใจทางปากเข้าช่วย

เมื่อกลายเป็นอย่างนั้นแล้ววงจรที่ 2 ของคาฟูนโชวก็เริ่มขึ้น เนื่องจากช่องปากไม่มีกลไกการกรองสิ่งแปลกปลอมเหมือนในจมูก ละอองเกสรขนาดเล็กและมีปริมาณมากก็จะไปสัมผัสกับเนื้อเยื่อในลำคอโดยตรง ส่งผลให้ IgE ถูกกระตุ้น ออกมาอีก ทำให้เกิดอาการไออย่างรุนแรง ในขณะเดียวกันการจามพร้อมๆ กับอาการคัดจมูกนั้นยิ่งเพิ่มความอึดอัดทรมานขึ้นไปอีกเป็นเท่าตัว

แล้วละอองเกสรของสนญี่ปุ่นนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ขอเท้าความไปถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นตกอยู่ในสภาพที่เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีอะไรเหลือเลย การพัฒนาประเทศทั้งหมดกลับไปตั้งต้นใหม่จากศูนย์ ดูเหมือนว่า "ที่อยู่อาศัย" ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความสำคัญในอันดับ ต้นๆ การสร้างบ้านเมืองขึ้นมาใหม่ในเวลานั้นอาศัยไม้ซึ่งเป็นวัสดุหาง่ายราคาถูก แต่ทรัพยากรป่าไม้ถูกใช้ไปในระหว่างสงครามจนแทบจะไม่มีป่าธรรมชาติเหลืออยู่ รัฐบาลญี่ปุ่นในสมัยนั้นจึงดำเนินนโยบายปลูกป่าทดแทนขึ้นทั่วประเทศ

ต้นไม้พื้นเมืองที่มีเนื้อไม้คุณภาพเยี่ยม ปลูกง่าย โตเร็ว และสนองความต้องการการใช้ไม้ในเวลาเร่งด่วนแบบนั้นได้ดีที่สุดคือ สนญี่ปุ่น และเป็นไปดังที่คาดไว้สนญี่ปุ่นเติบโตรวดเร็ว สนองนโยบายรัฐได้เป็นอย่างดี การขยายการปลูกป่าสนจึงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จนพื้นที่ป่าธรรมชาติในช่วงก่อนสงครามกลายเป็นป่าสนญี่ปุ่นในเวลาเพียงข้ามทศวรรษ

เมื่อความหลากหลายทางพันธุกรรมตามธรรมชาติหายไปเพราะป่าทั้งป่ามีแต่ต้นสน ปริมาณละอองเกสรของต้นสน จึงเพิ่มขึ้นมหาศาล บวกกับกระแสลมแรงในครึ่งหลังของฤดูหนาวถึงปลายฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับการออกดอกของต้นสน พัดพาเอาละอองเกสรไปไกลหลายกิโลเมตรจนถึงในเมือง จึงแทบจะพูดได้ว่า คาฟูนโชวพบเฉพาะในญี่ปุ่นเท่านั้น

ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา คนญี่ปุ่นที่มีอาการคาฟูน โชวเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จากตัวเลขประมาณการคร่าวๆ 20% ของประชากรญี่ปุ่น (กว่า 24 ล้านคน) มีอาการของคาฟูนโชว และในแต่ละปีสมาชิกใหม่ของคาฟูนโชวก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

คาฟูนโชวไม่ได้จำกัดเฉพาะคนญี่ปุ่นเท่านั้น เพื่อนนักเรียนไทยคนหนึ่งก็เพิ่งจะมีอาการของคาฟูนโชวเมื่อปีที่แล้ว (หลังจากอยู่ที่ญี่ปุ่นได้ 4 ปี) วิธีที่ดีที่สุดที่จะรับมือกับคาฟูนโชว คือ การป้องกันไม่ให้ละอองเกสรเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นพอเข้าเดือนกุมภาพันธ์ก็จะเห็นคนใส่ mask กันเป็นเรื่องปกติ การใช้ ยาแก้แพ้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการได้แต่ก็เป็นการแก้ ที่ปลายเหตุ ในปัจจุบันการฉีดเพิ่มภูมิคุ้มกันเป็นการรักษาเพียง วิธีเดียวที่ยอมรับว่าได้ผล แต่ต้องไปโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง 2 ถึง 3 ปีและมีค่าใช้จ่ายสูงมาก

เร็วๆ นี้มีข่าวเกี่ยวกับความคืบหน้าของงานวิจัยข้าวพันธุ์ ใหม่ที่เชื่อว่า เมื่อบริโภคข้าวพันธุ์ดังกล่าวแล้วจะช่วยป้องกันและ/ หรือบรรเทาอาการของคาฟูนโชวได้ ก็ไม่รู้ว่าจะเท็จจริงอย่างไร คงต้องติดตามจากงานวิจัยนี้ซึ่งคาดว่าจะเสร็จในปี 2006

ถึงแม้ว่ายังไม่มีรายงานการเสียชีวิตจากคาฟูนโชวก็ตาม การที่ต้องทรมานตลอด 3 ถึง 4 เดือนต่อปีไปจนตาย ของคน 24 ล้านคน ถือเป็นปัญหาสุขภาพระดับชาติที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือหาทางแก้ไขกันต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us