Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2547
Living Museum พระราชวังพญาไท             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
search resources

พระราชวังพญาไท




"พระราชวังพญาไท" มีประวัติอันยาวนานเกือบหนึ่งศตวรรษ เริ่มจากสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาเป็นพระตำหนักของพระพันปีหลวงจนถึงวันเสด็จสวรรคต ก่อนจะเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเคยเป็น "โฮเต็ลพญาไท" ที่หรูหราแห่งหนึ่งในภาคพื้นตะวันออกไกล

ถนนราชวิถีที่คับคั่งแออัด และจอแจไปด้วยรถราที่วิ่งกันขวักไขว่ มีกลิ่นควันจากท่อไอเสียคละคลุ้งนั้น ในอดีตเมื่อเกือบ 100 ปีก่อนคือ "ท้องทุ่งพญาไท" ที่เต็มไปด้วยเรือกสวนและไร่นา โดยมีคลองสามเสนอันใสสะอาดไหลผ่าน

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในย่านนี้เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2452 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เข้าไปซื้อที่ดินประมาณ 100 ไร่ เพื่อสร้างเป็น "พระตำหนักพญาไท" ไว้ประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถ เมื่อเสด็จสวรรคต สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชชนนีได้เสด็จมาประทับเป็นการถาวรจนตลอดพระชนมายุ

ลุล่วงมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รื้อตำหนักที่ประทับ และอาคารบริวารออกเหลือเพียงพระที่นั่งเทวราชสภารมย์องค์เดียว พร้อมทั้งสร้างหมู่พระราชมณเฑียรใหม่ คือพระที่นั่งพิมานจักรีไวกูณฐเทพยสถาน ศรีสุทธนิวาส และอุดมวนาภรณ์ พร้อมด้วยพระราชอุทยานซึ่งจัดเป็นรูปสวนแบบเรขาคณิต ตามแบบสถาปัตยกรรมอิตาเลียนสมัย "เรอเนซองต์" แต่เรียกกันว่า "สวนโรมัน"

สถาปัตยกรรมของพระราชวังพญาไท เป็นรูปแบบที่พัฒนาจากตะวันตกยุคฟื้นฟู เน้นความเรียบง่ายแต่สง่างาม มีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับภูมิอากาศของเมืองไทยอย่างลงตัว เห็นได้จากพระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน และพระที่นั่งพิมานจักรี ซึ่งมีหน้าต่างเปิดกว้างรับลมได้ทุกด้าน พระที่นั่งทั้ง 4 องค์ เชื่อมต่อกันทั้งหมด การก่อสร้างก่ออิฐฉาบปูนมีความสูงเพียง 2 ชั้น นอกจากพระที่นั่งไวกูณฐ์ ซึ่งได้ต่อเติมขึ้นภายหลัง

หลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2468 พระราชวังพญาไท ที่เคยรุ่งเรืองได้ถูกปรับปรุงเป็น "โฮเต็ลพญาไท" โรงแรมชั้นหนึ่ง เพื่อนำรายได้ มาเป็นค่าบำรุงรักษา ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ.2475 โฮเต็ลพญาไทประสบภาวะขาดทุนอย่างหนักจึงได้เลิกกิจการ และกระทรวงกลาโหมได้ใช้เป็นสถานที่ตั้งของกองเสนารักษ์ ซึ่งได้พัฒนาเป็นโรงพยาบาลทหารบก หรือโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในเวลาต่อมา ปัจจุบันตัวโรงพยาบาลได้ย้ายไปอยู่ในตึกต่างๆ ของอาคารหลังใหม่ที่ก่อสร้างขึ้นในเขตพระราชฐานเดิม

กาลเวลาที่เปลี่ยนไปทำให้สภาพของพระราชวังแห่งนี้อยู่ในสภาพที่ทรุดโทรม สิ่งที่น่าห่วงเป็นอย่างมากในช่วงเวลานั้นก็คือ หลังคาที่ชำรุดเสียหาย น้ำฝนรั่วไหล ทำลายภาพจิตรกรรมบนฝ้าเพดานไปส่วนหนึ่ง

ทางกองทัพบก หน่วยงานที่รับผิดชอบในปัจจุบัน จึงได้เข้ามามีบทบาทในการบูรณะ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 และในปี พ.ศ.2541 บริษัทเดียบอร์น สตรีท ดีไซน์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้ประมาณราคาเบื้องต้นงานซ่อมแซมบูรณะอาคารทั้งหมด เป็นเงินประมาณ 182 ล้านบาท

ชมรมคนรักวังเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อหารายได้สมทบกองทุนโครงการบูรณะ ซึ่งปัจจุบันกำลังทยอยการบูรณะอย่างต่อเนื่องตามกำลังเงินที่มี โดยมีเป้าหมายไว้ว่าเมื่อสำเร็จแล้วจะให้เป็น Living Museum ที่จัดแสดงพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พิพิธภัณฑ์ด้านการแพทย์ของกรมการแพทย์ทหารบก สำหรับประชาชนได้ศึกษา และระลึกถึงความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม และวัฒนธรรม ในยุคสมัยช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

ภาพนักเรียนและเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่เดินเข้าไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในพระราชวังเก่าแก่แห่งนี้มีมากขึ้นทุกวัน ทางชมรมคนรักวังได้จัดมัคคุเทศก์นำชมในวันเสาร์-อาทิตย์ เพิ่มขึ้นด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us