การมารับเก้าอี้ใหญ่ใน TT&T ของประจวบ ตันตินนท์ และ
สุรซ ล่ำซำ น่าจะเป็นช่วงที่ต้องเผชิญความท้าทายมากที่สุด
ในชีวิตการทำงานอีกครั้งหนึ่งของเขาทั้งสอง
ปัญหาใหญ่ของ TT&T นอกจากปัญหาการจ่ายส่วนแบ่งรายได้เป็นค่าสัมปทานสูงลิบลิ่ว
43.1% สูงกว่าผู้ให้บริการทุกราย การ แก้ไขสัญญาไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆ
ต้องรอให้มีคณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติ (กทช.) ซึ่งก็ต้องใช้เวลามาแล้ว 5
ปีเต็ม
ยังมีปัญหาหนี้สิน 28,000 ล้านบาท ที่ต้องจ่ายให้กับเจ้าหนี้ทุกปี เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนใหม่ๆ
เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับ การแข่งขันในอนาคต
นอกจากนี้นโยบายของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ที่ต้องการให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น
โดยเฉพาะในเรื่องอัตราค่าบริการ ที่ต้องการให้แข่งขันได้เต็มที่ หรือ Flexible
tariff ล้วนแต่มีผลกระทบโดยตรงต่อ TT&T เพราะต้องจ่ายค่าสัมปทานแพงกว่าคนอื่น
ความชำนาญทางด้านการเงินของประจวบ และประสบการณ์ทางด้านการตลาด ของสุรซ
จึงถูกคาดหมายจากทั้งผู้ถือหุ้น คณะ กรรมการ และเจ้าหนี้ ว่า เขาทั้งสองจะช่วยให้
TT&T รอดพ้นภาวะที่ท้าทายเหล่านี้ไปได้
ประจวบเป็นมืออาชีพด้านการเงินที่ ผ่านงานหลากหลาย เขาเรียนจบปริญญาโทจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
มหา วิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มงานแรกที่บริษัท Arthur Andersen ซึ่งให้ประสบการณ์ในด้าน
กว้าง เพราะต้องดูแลลูกค้ากลุ่มน้ำมัน ไฟแนนซ์ โรงงานผลิต
จากนั้นย้ายมาทำงานที่บริษัท AIA ดู ทางด้านบัญชี ทำได้ 2 ปี มาเริ่มบุกเบิกธุรกิจ
สยามซินเทค รับผิดชอบตั้งแต่การเงิน และดูการตลาด ก่อนจะถูกชักชวนมาเป็น
CFO ที่ Jusmine International โดยฝากผลงานชิ้นโบแดง คือ การปรับโครงสร้างหนี้โดยเจ้าหนี้ยอมลดมูลหนี้ลงถึง
85%
"ผู้บริหารคงเห็นว่าผมสามารถทำงาน ประสานกับทุกฝ่ายได้ สถานการณ์ของ TT&T
เวลานี้ต้องการความร่วมมือจากหลายฝ่าย ถ้ามีปัญหาขัดแย้ง งานไม่ทันเดินก็จบแล้ว
แต่ถ้าสามารถนั่งคุยกัน อันไหนเป็นประโยชน์ กับเขา"
ส่วนสุรซ ล่ำซำ เป็นลูกหลานของตระกูลล่ำซำ ผ่านงานมาหลากหลาย เคยร่วม บุกเบิกธุรกิจ
TT&T ในช่วงก่อตั้งใหม่ๆ จากนั้นก็กลับมาทำงานที่บริษัทล็อกซเล่ย์ ก่อตั้งธุรกิจตัวแทนขายโทรศัพท์มือถือ
และบุกเบิกธุรกิจลอจิสติก ด้วยการจัดตั้งบริษัท TNT Logistics ซึ่งเขาบอกว่า
ท้าทายที่สุดในชีวิตการทำงาน และนำเกมออนไลน์ Warax เข้า มาทำตลาดในไทย เป็นธุรกิจล่าสุดของเขา
ภารกิจแรกของประจวบ คือ การบินไปเจรจากับเจ้าหนี้ต่างประเทศและไทย 20 ราย
เพื่อขออนุมัตินำเงินมาลงทุน แทนการใช้หนี้คืนก่อนกำหนด ซึ่งเป็นนโยบายของผู้บริหารคนก่อน
ผู้บริหารของ TT&T คาดหมายว่าปี 2547 พวกเขาจะต้องควักกระเป๋าลงทุนไม่ต่ำกว่า
2,000 ล้านบาท มาใช้สร้างเครือข่ายให้รองรับกับบริการบรอดแบนด์ และบริการเสริมอื่นๆ
เพื่อมาสร้างรายได้ทดแทนบริการ ทางด้านเสียงที่นับวันรายได้จะลดลงไปเรื่อยๆ
การเบนเข็มมาที่บริการเสริม นอกจาก สร้างโอกาสในการหารายได้เพิ่มขึ้นแล้ว
ยังทำให้ TT&T จ่ายส่วนแบ่งรายได้เพียงแค่ 20% ตามข้อตกลงที่ทำไว้กับบริษัท
ทศท คอร์ปอเรชั่น
แม้ว่าพวกเขาจะต้องเผชิญการแข่งขันที่สูงมากจากบริการบรอดแบนด์ แต่การมีฐานลูกค้า
1.3 ล้านราย ก็สร้างความเชื่อมั่นให้กับแนวทางใหม่
ขั้นตอนต่อไปตามแผนปรับเปลี่ยนของสุรซ ก็คือ การปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่
แทนที่จะมีแพ็กเกจหลายราคา ยากต่อโฆษณา ก็หันมาใช้แพ็กเกจง่ายๆ ที่แข่งขันได้
ทั้งประจวบ และสุรซ จะมีเวลา 3 ปี ในการพลิกสถานการณ์ของ TT&T มาเป็นบวก
ตามที่เขาได้สัญญาไว้กับผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ และคณะกรรมการบริษัท