Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2547
เมื่อ Nissan มาแรงแซง Big Three             
 

   
related stories

กลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพของ Nissan
โรงงานยอดเยี่ยม/ยอดแย่

   
www resources

โฮมเพจ เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย)

   
search resources

ฟอร์ด มอเตอร์
เจเนอรัล มอเตอร์
ไครสเลอร์
GM
Nissan
Auto Manufacturers




เผยกลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพของ Nissan ที่สร้างความได้เปรียบ เหนือผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ทั้งสามของสหรัฐฯ

เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่ "3 ผู้ยิ่งใหญ่" หรือ Big Three ซึ่งหมายถึง 3 ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตรถยนต์ของสหรัฐฯ คือ General Motors, Ford และ Chrysler ต่างเร่งเครื่องอย่างหนักที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อไล่กวดคู่แข่งจากญี่ปุ่นอย่าง Toyota, Honda และ Nissan ให้ทัน จนในที่สุด GM ก็ประสบความสำเร็จเมื่อโรงงานประกอบรถยนต์ที่ดีที่สุดของ GM สามารถ เอาชนะโรงงานที่ดีที่สุดของ Toyota ไปได้แล้วในขณะนี้ แต่ทุกครั้งที่ 3 ผู้ยิ่งใหญ่แห่ง Detroit กำลังจะไล่ทันคู่แข่งจากแดนอาทิตย์อุทัยอยู่นั้น อีกฝ่ายก็ดูเหมือนจะสามารถเร่งความเร็วหนีพ้นไปได้อีกทุกครั้งไป ดังนั้นเกมเล่นไล่จับนี้จึงยังคงดำเนินอยู่

Nissan เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตอย่างไม่ลดละมาเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน ในเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว Nissan เพิ่งเปิดโรงงานประกอบรถยนต์แห่งใหม่ในเมือง Canton รัฐ Mississippi โรงงานมูลค่า 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐแห่งนี้ถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่นในการผลิตอย่างสูง และใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ชาญฉลาด ตลอดจนมีฝ่ายบริหารที่มีอำนาจสิทธิขาดในการควบคุม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นมาตรฐานเดียวกับที่ใช้อยู่ในโรงงาน ที่เมือง Smyrna ในรัฐ Tennessee โรงงานอายุ 20 ปีของ Nissan ที่ได้รับการยกย่องว่า มีประสิทธิภาพการผลิตดีที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ มาหลายปีติดต่อกัน โดยโรงงานที่ Smyrna นี้สามารถสร้างรถยนต์ 1 คันได้ภายในเวลาต่ำกว่า 16 ชั่วโมง ซึ่งต่ำกว่าเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในโรงงานของ Honda และ Toyota 6 ชั่วโมง และต่ำกว่า GM 8 ชั่วโมง รวมทั้งต่ำกว่า Ford 10 ชั่วโมง กำไรต่อคันของโรงงาน Smyrna ซึ่งอยู่ที่ 2,069 ดอลลาร์ ก็เป็นผลกำไรที่ดีที่สุดในอเมริกาเหนือ

Nissan วางแผนจะให้โรงงาน Canton ผลิตรถที่แตกต่างกันถึง 5 โมเดล และมีแผนจะรุกตลาดรถปิกอัพและสปอร์ตอเนกประสงค์ (SUV) อย่างหนัก ซึ่ง Nissan สามารถทำได้อย่างสบาย เพราะมีส่วนต่างกำไรที่กว้างพอ โดยเมื่อ Nissan เปิดตัวปิกอัพรุ่นใหม่ Titan ในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว Nissan ได้ตั้งราคาไว้ที่ 22,000 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นการตัดราคา Ford F-150 ถึง 2,000 ดอลลาร์เป็นอย่างน้อย โดยยังคงกินส่วนต่างกำไรได้อย่างสบายๆ

ความลับของ Nissan คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตอย่างไม่ลดละ การใช้แรงงานที่ไม่สังกัดสหภาพแรงงานซึ่งมีราคาถูกกว่าการจ้าง supplier หลายรายประกอบส่วนย่อยๆ ของรถยนต์ และความยืดหยุ่นอย่างสูงในสายการประกอบรถยนต์

ที่ Nissan สามารถลดเวลาการทำงานในสายการผลิตแม้เพียงไม่กี่วินาทีก็มีความหมาย เพราะการคิดเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตคืองานประจำวันของ Nissan

Nissan ใช้แท่นเคลื่อนที่ได้ที่เรียกว่า lineside limo คนงานจะยืนทำงานบนแท่นนี้ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ไปได้รอบรถที่กำลังประกอบ พร้อมกับบรรทุกอุปกรณ์เครื่องมือและชิ้นส่วนทุกอย่างที่คนงานต้องการใช้ไปด้วยได้ ทำให้คนงานไม่ต้องเสียเวลาเดินกลับไปกลับมาเป็นระยะทางประมาณ 20 ฟุต สามารถประหยัดเวลาการทำงานลงได้อย่างมาก Nissan เริ่มติดตั้งแท่น lineside limo นี้ตั้งแต่ 13 ปีก่อนตามคำแนะนำของคนงานในสายการผลิต

GM และผู้ผลิตรถยนต์สหรัฐฯ รายอื่นๆ ก็ได้นำแท่น limo นี้มาใช้เช่นกัน แต่ไม่ให้ความสำคัญนัก

Nissan ใช้แรงงานนอกสหภาพแรงงาน ซึ่งนอกจากจะได้รับค่าจ้างต่ำกว่าแล้ว พวกเขายังได้รับสวัสดิการต่ำกว่าคนงานประกอบรถยนต์ของ Big Three ซึ่งสังกัดสหภาพแรงงานรถยนต์สหรัฐฯ เป็นเงิน 3 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง นอกจากนี้ ยังใช้กลยุทธ์ outsourcing หรือการจ้าง supplier หลายๆ รายประกอบส่วนย่อยๆ แต่ละส่วนของรถยนต์ คือ โครงรถ แผงหน้าปัด ที่นั่ง ระบบไฟฟ้าและประตู โดยคนงานของ supplier เหล่านี้สามารถทำงานเสร็จเร็วกว่าที่ Nissan ทำเอง ทั้งยังได้รับค่าจ้างน้อยกว่าที่ Nissan ต้องจ่ายให้แก่คนงานในสายการผลิตของตนถึง 3 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง ช่วยให้ Nissan ประหยัดเงินได้มากถึง 15-30%

ส่วน Big Three กลับไม่มีอิสระในการใช้การ outsource ได้อย่างใจเหมือน Nissan เพราะต้องเจรจากับสหภาพแรงงานเสียก่อน ซึ่งไม่ค่อยเต็มใจให้บริษัท outsource เท่าใดนัก และต้องการให้บริษัทเลือกใช้แต่ supplier ที่เป็นมิตรกับสหภาพเท่านั้น

การมีสายการผลิตที่ยืดหยุ่นอย่างสูงกล่าวคือ สามารถใช้สายการผลิตเดียวประกอบรถยนต์ได้ทุกประเภทหรือมากกว่า 1 ประเภท คือ ข้อได้เปรียบที่สำคัญมากของบริษัทญี่ปุ่น เนื่องจากทำให้ทั้ง Nissan, Toyota และ Honda ใช้ความสามารถในการผลิตได้เต็ม 100% หรือมากกว่า (ในกรณีการทำงานล่วงเวลา) ยกตัวอย่างเช่น หากดีมานด์ในรถรุ่น Titan เพิ่มขึ้น Nissan ก็สามารถลดการผลิตรถรุ่น Altima ซึ่งดีมานด์เริ่มแผ่วได้เพื่อเพิ่มการผลิต Titan แทน เนื่องจากใช้สายการผลิตเดียวกัน ทำให้ คนงานของ Nissan ไม่เคยที่จะอยู่ว่างๆ

ส่วน Big Three ใช้ความสามารถในการผลิตเพียง 85% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม GM กำลังเปลี่ยนให้สายการผลิตครึ่งหนึ่งของตนที่มีอยู่ 35 แห่งในอเมริกาเหนือ สามารถประกอบรถยนต์ได้มากกว่า 1 ประเภท โดยมีโรงงานประกอบรถ Cadillac ในเมือง Lansing รัฐ Michigan ซึ่งสามารถประกอบรถยนต์หรูได้ 3 รุ่นคือ CTS, STS Sedan และ SRX SUV เป็นโรงงานต้นแบบ สำหรับการยกเครื่องโรงงานอื่นๆ ต่อไป

กระนั้นก็ตาม ถึงแม้ว่า Big Three จะสามารถไล่ทันบริษัทญี่ปุ่นในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต แต่ก็ยังต้องเผชิญกับการจ่ายเงินชดเชยแก่คนงานที่จะถูกลอยแพ ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินชดเชย 75% ของค่าจ้าง

แต่ก็ใช่ว่า Nissan จะมีแต่ข้อได้เปรียบ Big Three อยู่ร่ำไป จุดอ่อนของ Nissan คืออัตราการบาดเจ็บของแรงงาน ซึ่งสูงถึง 31 รายต่อคนงาน 1,000 คน ในปี 2001 หรือสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของ Big Three ถึง 2 เท่า ซึ่ง Nissan ไม่ปฏิเสธตัวเลขนี้ แต่แจ้งว่า ได้ดำเนินมาตรการลดอัตราการบาดเจ็บหลายอย่างแล้ว เช่น ให้คนงานทำงานที่แตกต่างกัน 4 อย่างในระหว่างชั่วโมงทำงาน 8 ชั่วโมงต่อกะ เพื่อลดการบาดเจ็บที่เกิดจากการทำงานซ้ำๆ และอ้างว่าสามารถลดอัตราการบาดเจ็บลงได้ 60% แล้วในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา นอกจากนี้จุดอ่อนอีกอย่างอยู่ที่รถยนต์ที่ประกอบเสร็จของ Nissan ซึ่งยังถูกจัดอันดับด้านคุณภาพต่ำกว่าค่าเฉลี่ย

แปลและเรียบเรียงจาก
BusinessWeek, December 22, 2003
โดย เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us