Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน21 มกราคม 2547
บ้านปูหวังพีเบิมเอเชียฟันกำไรถ่านหิน-ไฟฟ้า             
 


   
search resources

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง, บมจ.
บ้านปู, บมจ.
ผลิตไฟฟ้า, บมจ.
ชนินท์ ว่องกุศลกิจ
Energy




กลุ่มบ้านปู (Banpu) เตรียมรุกสยายปีกลงทุนภูมิภาคเอเชียภายใน 5 ปีข้างหน้า เน้น ด้านเหมืองถ่านหิน-ไฟฟ้าเป็นหลัก โดยจะเน้นลงทุนในจีน ด้วยเป้าหมายต่อไปที่อินเดีย หรือออสเตรเลีย ปีนี้ เน้นเก็บเกี่ยวกำไรจากการลงทุนเหมืองถ่านหินคุณภาพดี ซึ่งธุรกิจกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น ที่รุกลงทุน ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 44 ในแดนอิเหนาเป็นหลัก ขณะที่ "ชนินทร์" ปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่ "ขาใหญ่" ในตลาด หุ้นไทย แต่ยอมรับเป็นผู้ถือหุ้นระยะยาวหากคิดจะลงทุนหุ้นใด ซึ่งขณะนี้มุ่งเน้นบริหารบ้านปูตอบสนอง ผู้ถือหุ้นเป็นหลัก ส่วนดีลแลกหุ้น RATCH-EGCOMP กับ กฟผ.บ้านปูคิดหนักก่อนหน้านี้ แต่จะทำให้ กลุ่มได้งานธุรกิจไฟฟ้าเพิ่มง่ายขึ้น

นายชนินทร์ ว่องกุศลกิจ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่มของเขาวางแผน 5 ปีข้างหน้า จะรุกธุรกิจเหมืองถ่านหิน ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัททั่วเอเชีย โดยจะเน้นร่วมทุน และลงทุนขนาดใหญ่ ในจีน ซึ่งมีโอกาสทางธุรกิจมหาศาล เนื่องจากเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ของโลก

เป้าหมายของกลุ่มบ้านปู คือการ รุกทำเหมืองถ่านหิน-ไฟฟ้าครบวงจรในเอเชีย โดยกลุ่มกำลังพิจารณาขยายการ ลงทุนด้านเหมืองแร่ต่อจากจีน มุ่งอินเดีย หรือออสเตรเลีย เพื่อให้เป็น "ผู้เล่น" หลักด้านถ่านหิน-ไฟฟ้าในเอเชีย

โดยขณะนี้ บริษัทร่วมเป็นผู้ถือหุ้น เหมืองถ่านหินในจีนบ้างแล้ว ปี 2546 บริษัทถือหุ้นบริษัท เอเชียน อเมริกัน โคล อิงค์ (AACI) 20% เพื่อพัฒนาโครงการเหมืองถ่านหิน คุณภาพดีที่ดานิง (Daning) มณฑลชานซี (Shanxi)

แผนปีนี้ เขากล่าวว่ากลุ่มบ้านปูยังคงมุ่งเน้น ลงทุนธุรกิจเหมืองถ่านหิน ที่ลงทุนต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2544 โดยเฉพาะเหมืองถ่านหินคุณภาพดีในอินโดนีเซีย ที่ขณะนี้เป็นช่วงขาขึ้นของธุรกิจนี้ ซึ่งปัจจุบันทำรายได้ให้กลุ่มบ้านปูกว่า 60-65% ของรายได้กลุ่มทั้งหมด ขณะที่เหลือเป็นรายได้ จากการผลิตขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.)

บ้านปูวินวินแลกหุ้นกฟผ.

สำหรับกรณีแลกหุ้นระหว่างกลุ่มบ้านปู-บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) (EGCOMP)-บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) ในเครือกฟผ.ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการขณะนี้ นายชนินทร์กล่าวว่า เริ่มมีการเจรจากันช่วงกลาง ธ.ค.ปีที่แล้ว

โดยกลุ่ม China Light Power (CLP) จาก จีน ซึ่งเป็น 1 ในผู้ถือหุ้นหลักบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด เพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ที่ระยอง กว่า 2 ปี แล้ว ร่วมกับ BANPU ที่ถือหุ้นบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ 50% ชักชวนให้บริษัทของเขาร่วมดีลนี้

ก่อนหน้านี้ มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) เบื้องต้น ระหว่างบ้านปู (Banpu) และ กฟผ. ซื้อขายหุ้น RATCH และ EGCOMP โดย MoU เบื้องต้นดังกล่าว ระบุว่า BANPU จะขาย หุ้น RATCH ให้ กฟผ. 14.99% ของหุ้นทั้งหมด ราคาหุ้นละ 43.86 บาท เป็นเงินประมาณ 9,535 ล้านบาท ขณะเดียวกัน BANPU จะซื้อหุ้น EGCOMP จาก กฟผ. 24.99% ของหุ้นทั้งหมด ราคาหุ้นละ 82.58 บาท เป็นเงินประมาณ 10,865 ล้านบาท

นอกจากนี้ CLP หุ้นส่วนของ BANPU ซึ่ง ชักชวน BANPU ร่วมดีลนี้ จะซื้อหุ้น EGCOMP จากกฟผ. 0.42% ของหุ้นทั้งหมด ราคาเดียวกัน การลงนามสัญญาซื้อขายดังกล่าว คาดว่าจะเสร็จ ภายในม.ค. หากข้อกำหนดสิทธิและเงื่อนไขต่างๆ บรรลุผล คาดว่าจะโอนหุ้น และชำระเงินค่าหุ้นได้ภายในก.พ.

หากการดำเนินการดังกล่าวเสร็จสิ้นสมบูรณ์ จะทำให้ BANPU กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุดใน EGCOMP 24.99% ของหุ้นทั้งหมด ขณะที่ กฟผ. จะไม่ถือหุ้น EGCOMP เลย ส่วนการถือหุ้น กฟผ. ใน RATCH จะเพิ่มจาก 45% เป็น 60% ซึ่งจะมีผลให้ RATCH เปลี่ยนสถานะจากบริษัทเอกชน เป็นรัฐวิสาหกิจ ภายใต้พ.ร.บ.งบประมาณ

ความสัมพันธ์ระหว่าง RATCH และ กฟผ. จะใกล้ชิดมากขึ้น จะทำให้ RATCH มีโอกาสขยายโครงการโรงไฟฟ้าอนาคตง่ายขึ้น

สำหรับ BANPU การแลกเปลี่ยนหุ้นโรงไฟฟ้า จากปัจจุบันที่ถือหุ้น RATCH 14.99% เป็นถือหุ้น EGCOMP 24.99% จะทำให้ BANPU มีบทบาทบริหารจัดการโรงไฟฟ้ามากขึ้น อีกทั้งยังลดข้อจำกัดลงทุนโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมอนาคต

นายชนินทร์กล่าวว่ากฟผ.เร่งกลุ่มบ้านปูให้ตัดสินใจดีลนี้ เพื่อ กฟผ.จะสามารถทำโรดโชว์ขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไป เพื่อจดทะเบียนใน ตลาดหุ้นไทย ทันมี.ค. โดยไม่มีปัญหาถือหุ้นใน EGCOMP อีก ซึ่งอาจเป็นคำถามที่กองทุนต่างชาติ ที่สนใจหุ้น กฟผ.ถาม

ขณะเดียวกัน เขากล่าวว่าก่อนหน้านี้ กลุ่ม บ้านปูก็คิดหนัก ว่าจะร่วมดีลนี้หรือไม่ เพราะโดย เฉพาะ การแลกเปลี่ยนหุ้น จะเป็นผลให้กลุ่มบ้าน ปูถือหุ้นโรงไฟฟ้าที่เก่ากว่าเดิม ด้วยอายุสัญญาขายไฟฟ้าให้ กฟผ.สั้นกว่าเดิม ที่สำคัญอีกส่วนคือ การทำดีลนี้ จะมีภาษีที่ต้องจ่ายถึงเกือบพันล้านบาท ซึ่งถือเป็นภาระหนักสำหรับกลุ่มบ้านปู

ยันไม่ใช่ "ขาใหญ่"

นายชนินทร์ยังยืนยันว่า เขาไม่ใช่ "ขาใหญ่" ในตลาดหุ้นไทย อย่างที่หลายฝ่ายเข้าใจ โดยปัจจุบัน เขาเป็นผู้บริหารกลุ่มบ้านปูเต็มตัว ซึ่งต้อง รับผิดชอบการบริหารงานให้ดี เพื่อตอบสนองผู้ถือหุ้นบริษัท ขณะที่ปัจจุบัน เขาถือหุ้นไม่ถึง 1% ในบล.ยูไนเต็ด (UNITED) แต่กล่าวเสริมว่า หาก เขาคิดจะลงทุนหุ้นใดจะเน้นถือลงทุนยาวเป็นหลัก ไม่เน้นเก็งกำไร

ด้านผลประกอบการกลุ่มบ้านปู ปี 2546 รายได้รวมกว่า 1.25 หมื่นล้านบาท ขณะที่รายได้ปีนี้ เขาคาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 15-20% บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผล 60% ของกำไรสุทธิ ต่อปี ด้านทรัพย์สินรวม ปัจจุบันประมาณ 3 หมื่น ล้านบาท

ปูมบ้านปู

เมื่อครั้งที่ทั่วโลกเกิดวิกฤตการณ์พลังงานปี 2523 กลุ่มตระกูลว่องกุศลกิจ และตระกูลเอื้ออภิญญกุล เห็นว่าถ่านหินจะเป็นเชื้อเพลิงใช้ทดแทนเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ ที่ราคาแพงได้ จึง หาแนวทางจะขยายธุรกิจถ่านหินจากกลุ่มลูกค้าเดิม คืออุตสาหกรรมบ่มใบยาสูบ

ปี 2526 กลุ่มผู้บริหารตัดสินใจร่วมประมูล แหล่งถ่านหินใหม่ ซึ่งตั้งอยู่หมู่บ้านบ้านปู อ.ลี้ ลำพูน จากกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานต่อมา หลังจากได้รับคัดเลือก จึงตั้งบริษัทดำเนินธุรกิจ ใช้ชื่อบริษัท เหมืองบ้านปู จำกัด เพื่อเป็นเกียรติ แก่ชุมชนบ้านปูที่อยู่พื้นที่นั้น

ปี 2532 บริษัท เหมืองบ้านปูจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ไทย และขยายกิจการอย่างมาก ธุรกิจถ่านหินและแร่ และธุรกิจไฟฟ้า ทั้งในไทย และต่างประเทศ และแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)

ธุรกิจถ่านหินและแร่ บริษัทขยายผลิตถ่าน หินเพิ่มขึ้น โดยเริ่มที่แหล่งแม่ทาน อ.แม่ทะ อ.สบปราบ ลำปาง ปี 2536 และแหล่งเชียงม่วน อ.เชียงม่วน พะเยา ปี 2539 รวมทั้งได้รับงานขุดขนดิน และถ่านหิน ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย ที่เหมืองแม่เมาะ ลำปาง ส่วนธุรกิจ แร่อุตสาหกรรม ได้แก่ ผลิตแร่ดินขาวที่ระนอง แคลเซียมคาร์บอเนต ที่เวียดนาม เป็นต้น

ปี 2534 บริษัทยังหาช่องทางลงทุนเพิ่มเติม เหมืองถ่านหินในอินโดนีเซีย โดยได้รับสัมปทาน ผลิตและจำหน่ายถ่านหินจากแหล่งถ่านหินโจ-ร่ง และแหล่งถ่านหินมัมปุนปันดัน โดยเริ่มผลิตและจำหน่ายถ่านหินจากแหล่งโจ-ร่งตั้งแต่ปี 2541

ปี 2544 บริษัทได้สิทธิเหมืองถ่านหินคุณภาพดีอีก 4 แหล่ง ในอินโดนีเซีย รวมเรียกว่าอินโดโคล ทำให้ปัจจุบัน บริษัทมีสำรองถ่านหิน (Coal Reserves) 157.567 ล้านตัน และแร่ถ่านหิน (Coal Resources) 139 ล้านตัน ในอินโดนีเซีย

ปี 2546 บริษัทขยายธุรกิจถ่านหินออกไปจีน โดยถือหุ้นบริษัท เอเชียน อเมริกัน โคล อิงค์ (AACI) 20% เพื่อพัฒนาโครงการเหมืองถ่านหิน คุณภาพดีที่ดานิง (Daning) มณฑลชานซี (Shanxi)

ธุรกิจไฟฟ้า

ปี 2535 บริษัทขยายธุรกิจสู่ไฟฟ้า โดยร่วม ประมูลโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) และโครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อย (SPP) การไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จนปัจจุบัน บริษัทถือหุ้นบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด 50% เพื่อ ก่อสร้างโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ที่ระยอง บริษัทยังถือ หุ้นบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (Ratch) 14.99%

ธุรกิจไฟฟ้าต่างประเทศ บริษัทลงทุนโครง การโรงไฟฟ้า บริษัท อมตะ เพาเวอร์ (เบียนหัว) จำกัด ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ในเวียดนาม

ธุรกิจถ่านหินและแร่

เริ่มธุรกิจผลิตถ่านหินเหมืองแม่ตีบ อำเภอ งาว ลำปาง ปี 2517 ในนามบริษัท แพร่ลิกไนท์ จำกัด โดยนายเมธา เอื้ออภิญญกุล ผู้บุกเบิกใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงแทนฟืนบ่มใบยาสูบ และช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่า

กลุ่มตระกูลว่องกุศลกิจร่วมบริหาร และขยายแนวทางธุรกิจสู่ลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ซึ่งสอดคล้องการเกิดวิกฤตการณ์พลังงานปี 2523

ตั้งบริษัท เหมืองบ้านปู จำกัด ปี 2526 เพื่อ ผลิตและจำหน่ายถ่านหินจากแหล่งบ้านปู อำเภอลี้ ลำพูน ของสำนักงานพลังงานแห่งชาติ ซึ่งยังผลิตถึงปัจจุบัน

ปี 2541 บริษัทผลิตถ่านหินจากแหล่งโจ-ร่ง ตั้งอยู่เกาะกาลิมันตันใต้

ปี 2542 บริษัทผลิตแร่แคลเซียมคาร์บอเนต จากแหล่งในเวียดนาม โดยร่วมทุนกับบริษัท Yenbai Mineral Co.,Ltd. เพื่อจำหน่ายในเวียด-นาม และส่งออกประเทศต่างๆ ภาคพื้นแปซิฟิก

ปี 2544 บริษัทได้สิทธิเหมืองถ่านหินคุณภาพดีอีก 4 แหล่ง ในอินโดนีเซีย ที่รวมเรียก ว่า อินโดโคลŽ

ปี 2546 เพิ่มเงินลงทุนอินโดมิงโก จาก 65% เป็น 100% และขยายการลงทุนไปจีน โดยถือหุ้น 20% บริษัท เอเชียน อเมริกัน โคล อิงค์ (AACI)

สรุปธุรกิจไฟฟ้า

บริษัทตั้งบริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด เพื่อลงทุนธุรกิจไฟฟ้า โดยถือหุ้นบริษัท ไตร เอนเนอจี้ จำกัด

ผู้ผลิตไฟฟ้าภายใต้โครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระกฟผ. โครงการตั้งอยู่ราชบุรี กำลังผลิต 700 เมกะวัตต์ แต่ปัจจุบัน ขายหุ้นให้ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เนื่องจากบริษัทมีนโยบายเน้นธุรกิจไฟฟ้าใช้ถ่าน หินเป็นเชื้อเพลิง

บริษัทฯ มีโครงการโรงไฟฟ้าขนาด 1,434 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างดำเนินการ ในนามบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยอง ปัจจุบัน บริษัทถือหุ้น 50%

บริษัทถือหุ้น 14.99% บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตกระแสไฟฟ้า ให้กฟผ. โครงการตั้งอยู่ที่ราชบุรี กำลังผลิต 3,645 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง

บริษัทถือหุ้นบริษัท อมตะ เพาเวอร์ (เบียน หัว) จำกัด ผลิตกระแสไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรม ตอนใต้ของเวียดนาม โดยผลิตที่ 20 เมกะวัตต์ ตั้งแต่ปี 2542

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us