Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 มกราคม 2547
2กลุ่มทุนยักษ์"สหวิริยา-สวัสดิ์"ชิงผุดโรงงานเหล็กขั้นต้น3แสนล.             
 


   
search resources

เอ็น.ที.เอส.สตีลกรุ๊ป, บมจ.
มิลเลนเนียม สตีล, บมจ.
สหวิริยาสตีลอินดัสทรี, บมจ.
กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
ปูนซิเมนต์ไทย, บมจ.
สยามยูไนเต็ด สตีล - SUS
สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง
ทักษิณ ชินวัตร
พินิจ จารุสมบัติ
ซูโตมุ ยามาดะ
Metal and Steel




ผู้ผลิตเหล็กค่ายยักษ์ "สหวิริยา" และ "เอ็น.ที.เอส." กลุ่มสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง ชิงลงทุนตั้งโรงถลุงเหล็กมูลค่าสูงถึง 3 แสนล้านบาท หลังนโยบายพินิจ จารุสมบัติ ประกาศให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้น ขณะที่ ทักษิณŽ เน้นปล่อยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนเองรัฐดูห่างๆ มอบสศช.ศึกษาอีกทาง "สหวิริยา" ยอมรับกำลังศึกษาและจีบ JFE คอร์ปอเรชั่นจากญี่ปุ่นอยู่

แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหล็กสนับสนุนแนวทางให้เกิดโรงงาน เหล็กต้นทุนในประเทศ เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมเหล็กในภาพ รวมที่ยังคงต้องนำเข้าวัตถุดิบเหล็กมาผลิตจากต่างประเทศทำให้ต้นทุนสูง ขณะที่ความต้องการก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งเรื่องดังกล่าวส่งผลให้ทาง ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ต่างให้ความ สนใจที่จะเสนอผ่านกระทรวงอุตสาหกรรมผลักดันให้เกิดโรงงานถลุงเหล็ก

อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้นำเสนอ รายงานถึงแนวทางการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเหล็กต่อที่คณะรัฐมนตรีไปแล้วและทางพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้สั่งให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ไปศึกษารายละเอียดและได้มอบนโยบายที่จะสนับสนุนให้เอกชน เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมดโดยรัฐบาลจะไม่สนับสนุนใดๆ เป็นพิเศษยกเว้น แต่ในเรื่องที่เหมาะสมเช่น ระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ

สำหรับการตั้งโรงงานเหล็กขั้นต้น ล่าสุดมีผู้ยื่นเสนอต่อกระทรวงอุตสาหกรรม 2 กลุ่มคือ กลุ่มเอ็น.ที.เอส. สตีลกรุ๊ป จำกัด ของกลุ่มนายสวัสดิ์ หอรุ่งเรืองที่ขณะนี้ได้รวมตัวกันภายใต้บริษัทเมเลเนียมสตีล กับค่ายปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะตั้งโรงงานเหล็กขั้นต้นอยู่ในบริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยอง เพื่อเน้นป้อนอุตสาหกรรมเหล็กในบริเวณดังกล่าว ขณะที่อีกรายคือ บริษัทสหวิริยา สตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI โดยมีแผนที่จะดำเนินการตั้งโรงงานถลุงเหล็กที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีแผนลงทุน สูงถึง 3 แสนล้านบาทโดยจะมีการ ลงทุนในส่วนของท่าเรือน้ำลึก และส่วนอุตสาหกรรมเหล็กต่อเนื่องโดยจะทยอยแบ่งเป็นเฟส

แหล่งข่าวจากบริษัทสหวิริยา สตีลอินดัสตรี จำกัด(มหาชน) หรือ SSI กล่าวว่า บริษัทฯมีความพร้อมที่ จะลงทุนในโรงงานถลุงเหล็กแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับภาครัฐบาลจะสนับสนุนในเรื่องของระบบสาธารณูปโภค สิทธิประโยชน์มากน้อยเพียงใดด้วยเพราะต้องลงทุนสูงถึง 3 แสนล้านบาท ซึ่งหากมีความชัดเจนจากภาครัฐบาลการเจรจากับพันธมิตรร่วมทุนก็คงไม่มีปัญหาอะไร เพราะขณะนี้มีการหารือกันในขั้นต้นแล้วกับบริษัท JFE คอร์ปอเรชั่น จากประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็น ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของประเทศญี่ปุ่นและขณะนี้ก็เป็นหนึ่งในผู้ร่วมทุน กับบริษัทอยู่แล้ว

"การลงทุนค่อนข้างสูงเพราะจะแบ่งเป็นเฟสและโรงถลุงจะเป็นเทคโนโลยีระดับสูง ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงจะได้ Pig Iron มีกำลังการ ผลิต 10 ล้านตันต่อปี ดังนั้นหากจะเกิดโรงงานยอมรับว่าส่วนหนึ่งรัฐบาล คงจะต้องสนับสนุนเพราะไม่เช่นนั้นก็ทำให้ไม่มั่นใจเพราะลงทุนสูงมาก"

แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า ก่อนหน้านี้สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยก็ได้ว่าจ้างแมคแคนซี ศึกษาปัญหาอุตสาหกรรมเหล็กไทยและได้เสนอให้ตั้งโรงงานเหล็กขั้นต้นขนาดเล็กที่ลงทุนไม่เกินหมื่นล้านบาทหรือ Mini Blast Furnace ขึ้น ซึ่งเอกชนก็สนับสนุนแนวทางดังกล่าว แต่ก็ไม่มีความชัดเจนว่าท้ายสุดแล้วจะสนใจร่วมทุนกันจริงจังมากน้อยเพียงใดเพราะนโยบายรัฐบาลชัดเจนว่าจะไม่ลงทุนเอง

นายซูโตมุ ยามาดะ ประธานบริษัทสยามยูไนเต็ดสตีล จำกัด (มหาชน)หรือ SUS กล่าวว่า การสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำหรือโรงถลุงเหล็กในไทยนับเป็น เรื่องที่ดีต่อวงการอุตสาหกรรมเหล็กไทยเพราะจะทำให้ครบวงจรขึ้น ซึ่งเหล็กนั้นยังคงเป็นวัตถุดิบสำคัญของ อุตสาหกรรมต่อเนื่องแม้ว่าจะมีการ หันมาใช้พลาสติกทดแทนก็ตาม และ ขณะนี้ราคาวัตถุดิบก็สูงขึ้นมากเพราะ ความต้องการที่สูงขึ้นขณะที่ซัปพลาย ได้ลดต่ำลงเพราะการปิดกิจการเหล็ก ช่วงเกิดวิกฤติ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us