Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2543
The ROI of Human Capital             
 





ดูเหมือนจะเป็นแฟชั่นไปเสียแล้วที่องค์กรธุรกิจจะต้องพูดถึง "ทุนมนุษย์" ว่าเป็นสินทรัพย์สำคัญที่สุดในปัจจุบัน แต่สิ่งที่ต้องขบคิดกันให้ตกก็คือ จะหาวิธีชั่งตวงวัดคุณค่าต่างๆ ที่จัดได้ว่าเป็นทุนมนุษย์ได้อย่างไร นี่คือคำถามหลักที่ แจ๊ค ฟิตซ์-เอนซ์ ผู้เขียน The ROI of Human Capital ตั้งไว้ และเสริมด้วยว่า ถ้าเราไม่รู้ว่าจะวัดสินทรัพย์อย่างไรแล้ว เราก็ไม่อาจจะบริหารจัดการใดๆ ได้เลย

ฟิตซ์-เอนซ์ เสนอระบบการวัดคุณค่าของทุนมนุษย์ โดยเป็นระบบการวัดในเชิงปริมาณ และกำหนดขึ้นจากการวัดในสามด้านด้วยกันคือ การบริหารทุนมนุษย์ การบริหารองค์กร และการบริหารเชิงหน้าที่

การบริหารองค์กร เป็นการเริ่มต้นจากทฤษฎีองค์กรที่ว่าด้วยการไหลเวียนภายในองค์กรโดยมีจุดเริ่มต้นที่เป้าหมายขององค์กร ผู้เขียนมุ่งเน้นที่มาตรวัด ที่เป็นเชิงปริมาณแล้วสร้างเป็นโมเดลการวัด และกำหนดสิ่งบ่งชี้การเปลี่ยนแปลง ห้าประการคือ ต้นทุน, เวลา, ยอดขาย, ข้อผิดพลาด และปฏิกิริยาของพนักงาน

การบริหารเชิงหน้าที่ ผู้เขียนชี้ว่ากระบวนการทางธุรกิจเป็นการเชื่อมโยงระหว่างผู้คนกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ขององค์กร เขาจึงเสนอมาตรวัดสำหรับ หน่วยทางด้านหน้าที่ คุณภาพและการผลิตที่ควบคู่ไปกับดัชนีการเปลี่ยนแปลง 5 ประการข้างต้น แล้วจึงเชื่อมโยงต่อขึ้นไปทั่วทั้งองค์กรและเชื่อมกลับลงมาที่ทุนมนุษย์

การบริหารทุนมนุษย์ ผู้เขียนอธิบายว่ามีกิจกรรมพื้นฐาน 5 อย่างในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ได้แก่ การวางแผนด้านบุคลากร การสรรหาบุคลากร การรักษาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร และการรักษาบุคลากรที่เป็นสินทรัพย์ขององค์กร จากนั้นจึงกำหนดมาตรวัดกิจกรรมเหล่านี้คู่กับดัชนีการเปลี่ยนแปลงทั้งห้าประการ ซึ่งเขาบอกว่าเป็นวิธีที่จะทำให้สามารถประเมินและระบุถึงการเปลี่ยนแปลงคุณภาพ, บริการและผลิตภาพขององค์กรได้

หลังจากนั้นผู้เขียนได้เสนอวิธีการประสมประสานหลักการทั้งสามหลักเข้าด้วยกัน และเสริมท้ายด้วยบทที่ว่าด้วยทิศทางแนวโน้มในอนาคต และประเมินศักยภาพในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้าง การผนวกกิจการ และการซื้อกิจการ เป็นต้น

ถึงแม้จะเป็นงานที่สลับซับซ้อนอยู่บ้าง แต่มีค่าควรแก่การอ่าน และเป็น คู่มือดีเยี่ยมสำหรับมือโปรด้านทรัพยากรมนุษย์และผู้บริหารที่ตระหนักถึง ความจำเป็นที่จะต้องมีระบบการวัดคุณค่าของพนักงานในองค์กรที่วัดได้ในเชิงปริมาณ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us