กระทรวงการคลังนำแผนการ แก้หนี้ทั้งระบบเข้าครม.พรุ่งนี้ โดยเสนอให้แก้กฎหมายบบส.เพื่อซื้อและบริหารหนี้แบงก์
พร้อมสั่ง"แบม"ช่วย เชื่อทำหน้าที่ได้ดีกว่าแบงก์ ที่มุ่งขายทิ้งทำให้แก้หนี้ล้มเหลว
ด้านบิ๊กบบส.-แบมขานรับนโยบายยันมีศักยภาพเพียงพอ
ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าได้ลงนามในร่างแผนการแก้ไขทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(เอ็นพีเอ) คาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายใน 20 ม.ค. การเร่งดำเนินการในครั้งนี้เพื่อให้กระบวนการแก้ไขทรัพย์สินและหนี้เสีย
(เอ็นพีแอล) มีความคืบหน้า ธนาคารพาณิชย์ สามารถทำหน้าที่ตัวเองและทำให้ระบบเศรษฐกิจ
มีความเข้มแข็ง
ขณะที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยืนยันว่าในส่วน
ของธปท.จะปรับปรุงหลักเกณฑ์และกฎระเบียบการดูแลสถาบันการเงิน เพื่อบีบให้สถาบันการเงิน
เร่งแก้ไขปัญหาให้เร็วขึ้น ขณะที่กระทรวงการคลังก็จะออกกฎหมายเพิ่มอำนาจให้บรรษัท
บริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) และบริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) ของแต่ละธนาคารรับซื้อเอ็นพีเอและเอ็นพีแอลได้
โดยเฉพาะการเพิ่มอำนาจให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ สถาบันการเงิน (บบส.) ซึ่งเป็นองค์กรที่ออกเป็น
พ.ร.ก.รับซื้อหนี้เฉพาะ 56 ไฟแนนซ์ จะต้องซื้อหนี้ในราคาที่สามารถขายต่อได้
"รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยืนยันมาแล้วว่าจะออกกฎหมายในวันที่ 20 ม.ค."
นายรุ่งเรือง พิทยศิริ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง กล่าวว่า ร.อ.สุชาติ
เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เห็นชอบแผนที่ธปท.เสนอมา สาระสำคัญจะมอบหมายให้บบส.
และบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพฯพาณิชย์ (แบม) เป็นแกนนำ ซึ่งจะทำให้มีกำลังพอในการจัดการ
เพราะทั้งสององค์กรมีประสบการณ์ในการจัดการหนี้เสียเป็นอย่างดี
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังเสนอออกเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เนื่องจากบบส.ถูกจัดตั้งขึ้นด้วยพระราชกำหนด
(พ.ร.ก.) ซึ่งในพ.ร.บ.จะมีการปรับเปลี่ยนหน้าที่ของบบส. จากเดิมที่กฎหมายการจัดตั้งบบส.ระบุให้ทำหน้าที่การรับซื้อและขายหนี้เสียจาก
การปิด 56 ไฟแนนซ์ แต่หนี้ที่อยู่นอกเหนือ 56 ไฟแนนซ์ไม่สามารถทำได้ การแก้ไขโดยออกเป็น
พ.ร.บ.จะเปิดกว้างให้บบส.ทำธุรกรรมได้มากขึ้น
"ที่ผ่านมากระทรวงการคลังพอใจกับการทำงาน ของบบส.และแบม เพราะงานมีประสิทธิภาพสามารถ
แก้ไขปัญหาหนี้เสียได้ดี การติดตามหนี้ได้ราคาที่พึงพอใจและยังเป็นราคาที่ไปฟื้นฟูสภาพสินทรัพย์ใน
ลักษณะของการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งดีกว่าการปรับโครงสร้างหนี้ของแบงก์ที่ขายทิ้งอย่างเดียว
ทำให้ ไทยได้รับบทเรียนเจ็บปวดมาแล้ว" นายรุ่งเรือง กล่าว
ที่ปรึกษา รมว.คลัง กล่าวว่า ขณะนี้ตัวเลขหนี้เสียคงค้างอยู่ในธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน
ต่างๆ มีมูลค่ารวม 7 แสนกว่าล้านบาท ยังไม่นับรวม ที่อยู่ในบริษัทบริหารสินทรัพย์แต่ละแห่งของสถาบัน
การเงิน โดยบบส.และแบมคงจะเข้าไปเสนอซื้อเพื่อรับหนี้มาบริหาร ส่วนธนาคารพาณิชย์และสถาบันการ
เงินจะเห็นความจำเป็นแค่ไหน เรื่องนี้ต้องเป็นหน้าที่ของธปท.ที่จะกระตุ้นธนาคารเอกชนเห็นประโยชน์ของการขายหนี้ให้มากขึ้น
ในส่วนของหนี้ที่รอขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี บบส.มีสิทธิ์ที่จะเข้าไปประมูลได้
ขึ้นอยู่กับว่าจะมีการตกลงกับทางกรมบังคับไว้อย่างไร แต่ทั้งหมดแล้วต้องเข้าใจว่าในข้อตกลงระหว่างธนาคาร
พาณิชย์กับลูกหนี้ ได้ระบุในสัญญาเปิดกว้างให้ลูกหนี้ ซื้อคืนทรัพย์สินได้ หากมีความสามารถ
บิ๊กบบส.-แบมหนุน
นายสิน เอกวิศาล กรรมการผู้จัดการ บบส. กล่าวว่าขณะนี้กำลังรอดูเรื่องของกฎหมายว่าจะออก
มาอย่างไร แต่บบส.มีความพร้อมและสามารถบริหาร เอ็นพีเอของทั้งระบบที่มีมากกว่า
160,000 ล้านบาท ได้อย่างสบาย แต่การโอนทรัพย์สินเข้ามาบริหารต้อง เป็นลักษณะค่อยโอน
หรือในส่วนของกรมบังคับคดีที่มีอยู่กว่า 100,000 ล้านบาท บบส.คาดหวังหากเข้าไปประมูลได้สัก
50% ก็น่าจะพอใจ
นายบรรยง วิเศษมงคลชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ แบม กล่าวว่าได้เตรียมความพร้อมกว่า
ปีเศษ ในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่อรองรับทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นคาดว่าจะสมบูรณ์แบบกรกฎาคมนี้
การพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีความสามารถในการจัดการทรัพย์สิน โดยขณะนี้แบมมีเอ็นพีเอ
ที่บริหาร อยู่ประมาณ 10,000 ล้านบาทจากก่อนนี้มีเพียง 4,000 ล้านบาทที่ซื้อจากเอเอ็มซีพญาไท
ส่วนธนาคารพาณิชย์จะจำหน่ายเอ็นพีเอ ให้กับแบมกับบบส.หรือไม่ นายบรรยงกล่าวว่าต้องดูแรง
จูงใจของธนาคารแต่ละแห่ง ซึ่งเชื่อว่าธนาคารอยากตัดเอ็นพีเอออกมา เพราะการบริหารเอ็นพีเอ
ไม่ใช่ธุรกิจหลักของธนาคารพาณิชย์ หากเอกชนสามารถแก้ไขทรัพย์สินได้จะช่วยให้มีกำลังคนมาเสริมในการ
ทำธุรกิจหลัก เพราะในอนาคตธนาคารมีภาระอีกมาก
ทั้งนี้ แบมมีความสามารถรับทรัพย์สินถึงแสน ล้านบาท เป็นขนาดทรัพย์สินที่เหมาะกับจำนวนพนัก
งาน 800 คนและสาขาที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ 24 แห่ง
"การขายหนี้ออกมาจะทำให้ธนาคารเอกชนไม่ต้องกังวลเรื่องการแก้ไขทรัพย์สิน
ซึ่งช่วยให้ดำเนินการได้เต็มที่ และธนาคารต้องมองว่าในระยะ 3-4 ปีข้างหน้าจะทำอย่าไรหากทรัพย์สินที่คงเหลือมีของดี
ของงามมีน้อยมาก อาจจะเกิดกากเหลือตรงนี้ยากต่อ การขายได้ ซึ่งหากขายออกมาก่อนระดับความเสี่ยงจะลดลง"
นายบรรยงกล่าว