อธิบดีกรมบังคับคดีฉะซ้ำ ระบุเจ้าหนี้ โลภและคิดสั้นคัดค้านการนำเงินที่ได้จากการขายทรัพย์สิน
ของลูกหนี้มาคืนให้กับผู้ประมูล ย้ำการปรับปรุงภาษีเงิน ได้บุคคลใหม่ เพื่อให้ผู้ประมูลขอคืนภาษีได้ภายใน
15 วัน ช่วยจูงใจให้การจำหน่ายหนี้เร็วขึ้น เตรียมนัดนายแบงก์ หารือโดยยืมมือกรมสรรพากรชี้แจงแทน
ด้านสรรพากร ยันกรมบังคับคดีมีสิทธิ์ทำได้
นายไกรสร บารมีอวยชัย อธิบดีกรมบังคับคดี เปิด เผยว่าได้ทำการแก้ไขการขายทอดตลาด
ทรัพย์สินของกรม บังคับคดีที่ให้ผู้ประมูลซื้อทรัพย์รับผิดชอบภาษีเงินได้บุคคลทั้งหมด
เป็นผู้ที่ประมูลทรัพย์สามารถขอคืนภาษีได้ โดยเมื่อได้รับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์แล้วจะต้องดำเนินการ
เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่สำนักงานที่ดิน และต้องสำรองจ่ายไปก่อน แต่สามารถนำใบเสร็จมา
ขอรับเงินคืนได้ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันรับหนังสือ โอนกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้เป็นไปตามการปรับปรุง
การเสีย ภาษีเงินได้บุคคลใหม่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546
"เป็นการจูงใจผู้ประมูลอสังหาริมทรัพย์ กรมบังคับคดีจึงสำรองจ่ายไปก่อน
หลังจากนั้นค่อยหักจากราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ประมูลได้ ที่ผ่านมาเงินได้ บุคคลธรรมดาที่ผู้ประมูลซื้อทรัพย์สินไป
ไม่สามารถ คาดการณ์ได้ว่าจะเสียภาษีเท่าไร และมีปัญหาที่ผู้ประมูลซื้อทรัพย์ไปแล้ว
จะต้องเสียภาษีเงินได้จำนวนมาก ทำให้การซื้อทรัพย์มีราคาแพงขึ้น" นายไกรสรอธิบาย
นายไกรสร กล่าวว่าตามกฎหมายภาระการรับผิดชอบเรื่องภาษีเงินได้ เป็นของจำเลยหรือลูกหนี้ตาม
คำพิพากษา ไม่ได้อยู่ที่ผู้ประมูลซื้อทรัพย์ แต่หลังจากมีการแก้ไขดังกล่าวพบว่า
ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็น เจ้าหนี้ของลูกหนี้ที่ถูกบังคับจำนอง และขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์
กลับไม่ต้องการให้นำเงินที่ได้ จากการประมูลขายทอดตลาดมาหักคืนให้กับผู้ที่ประมูลได้
กรมบังคับคดีจึงต้องเชิญตัวแทนจากสถาบันการเงินเข้ามาหารือร่วมกับกรมสรรพากร ภาย
ในเดือนก.พ.นี้
"แบงก์ส่วนใหญ่แสดงความเห็นมาว่า กรมบังคับคดีควรทบทวนเรื่องนี้เสียใหม่
ผมว่าแบงก์จะต้องคิดถึงผลระยะยาวที่ก่อประโยชน์ให้กับแบงก์ เนื่องจากช่วยให้ขายสินทรัพย์ได้รวดเร็วขึ้น
เพราะผู้ซื้อจะสบายใจไม่ต้องกังวลว่าต้องสำรองจ่ายก่อนมากน้อยเพียงใด แล้วค่อยมาขอคืนภาษี
ซึ่งกินเวลา นาน ทำให้ความสามารถในการซื้อของลูกค้าลดลง และสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ซื้อ
ผมก็สงสัยว่าแทน ที่ลูกหนี้จะเรียกร้องกลับเป็นเจ้าหนี้ ซึ่งไม่ยุติธรรมกับผู้ซื้อ
สงสัยเจ้าหนี้คิดว่าจะได้คืนมูลหนี้ที่น้อยลง ทั้งๆ ที่ในหลักการแล้วเจ้าหนี้สามารถจะเรียกทรัพย์จากลูกหนี้ได้เพื่อให้มูลหนี้ครบตามที่เป็นจริง"
นายไกรสรกล่าว
แหล่งข่าวกรมสรรพากร กล่าวว่าตามหลักของ กฎหมายแล้ว ผู้ซื้อจะต้องรับภาระในการเสียภาษีเงิน
ได้บุคคล แต่หากผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ซึ่งขณะนี้คือกรมบังคับคดีมีสิทธิ์ในการจะออกเกณฑ์หรือผ่อนปรนการขอคืนภาษีได้
กรมสรรพากรคงต้องชี้แจงในส่วนของกฎหมาย
นายไกรสรกล่าวถึงความคืบหน้ามาตรการที่จะลดความเสี่ยงให้กับผู้ซื้อทรัพย์สินว่า
กฎหมายที่ผู้ซื้อสามารถขับไล่ผู้ที่อยู่ในทรัพย์สิน (ที่ดิน,บ้าน, สิ่งปลูกสร้าง)
ออกไปได้ โดยให้ศาลบังคับทันทีนั้น คาดว่าในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรช่วงเดือนก.พ.-มี.ค.จะมีการพิจารณาให้ผ่านและประกาศใช้ในเร็วๆ
นี้ นอกจากนี้ กรมบังคับคดีจะปรับราคาทรัพย์สินใหม่ตามที่กรมธนารักษ์ประกาศราคาประเมินที่ดินใหม่โดยเฉี่ย
14.44%
สำหรับแผนการจำหน่ายทรัพย์สินของกรมบังคับคดีในปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม2546-กันยายน
2547) วางเป้า 120,000 ล้านบาทหรือเฉลี่ย จำหน่ายทรัพย์ 10,000 ล้านบาทต่อเดือน
จากพอร์ต ทรัพย์สินรวม 240,000 ล้านบาท