Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 มกราคม 2547
แบงก์ตัวปัญหาแก้หนีเหลว"ไกรสร"ฮึดโละหมื่นล้าน/ด.             
 


   
search resources

กรมบังคับคดี
ไกรสร บารมีอวยชัย
Auctions




กรมบังคับคดี ระบุ สถาบันการเงินเจ้าหนี้เป็นต้นตอปัญหาหนี้เสีย เหตุปรับโครงสร้างหนี้ผิดพลาด มุ่งลดตัวเลขและภาระกันสำรอง ทำให้ลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ได้ สุดท้ายต้องบังคับจำนองตกเป็นภาระให้กรมบังคับคดีสะสาง "ไกรสร บารมีอวยชัย" ฮึดตั้งเป้าจำหน่ายสินทรัพย์ปีนี้ 1.2 แสนล้านบาท หรือเดือนละหมื่นล้าน

นายไกรสร บารมีอวยชัย อธิบดีกรมบังคับคดี เปิดเผยถึงแผนการจำหน่ายทรัพย์สินในปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546-กันยายน 2547) ว่าได้วางเป้าที่ จะทำให้ได้ 120,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยจำหน่ายทรัพย์สิน 10,000 ล้านบาทต่อเดือน จากพอร์ตทรัพย์สินรวม 240,000 ล้านบาท เป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจากปีงบ ประมาณ 2546 (ต.ค. 45-ก.ย. 46) อยู่ที่ 155,000 ล้านบาท เพราะมีการตีโอนทรัพย์เข้ามารวมอีก 85,000 ล้านบาท

ตัวเลขล่าสุดในช่วงเดือนต.ค.-พ.ย. 2546 ของ ปีงบประมาณ 2547 กรมบังคับคดีสามารถผลักดันทรัพย์สินที่ค้างอยู่ออกไปได้มากถึง 39,566 ล้านบาท แบ่งเป็นในส่วนคดีแพ่ง 33,000 ล้านบาท ส่วนคดีล้ม ละลาย 6,226 ล้านบาท ขณะที่ปีงบประมาณ 2546 สามารถจำหน่ายทรัพย์สินได้ประมาณ 111,500 ล้าน บาท จากพอร์ตรวม 270,000 ล้านบาท แบ่งเป็นส่วน ของคดีแพ่ง 97,000 ล้านบาทและคดีล้มละลาย 19,000 ล้านบาท

นายไกรสร ระบุ สาเหตุที่การบังคับจำนองเพิ่มขึ้นว่าเกิดจากการเจ้าหนี้สถาบันการเงินวางแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ผิดพลาด ส่วนใหญ่มุ่งลด ตัวเลขหนี้เสียเพื่อลดภาระการกันสำรอง ทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถชำระคืนหนี้ได้ตามกำหนด สถาบันการ เงินต้องบังคับจำนองลูกหนี้ ขณะเดียวกันลูกหนี้ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ธุรกิจไม่อาจดำเนินการต่อ มีเพียงบางรายเท่านั้นที่มีเงินชำระแต่ยักยอกเงินออกไป (ล้มบนฟูก)

อธิบดีกรมบังคับคดีเปิดเผยว่า ตัวเลขการบังคับจำนองที่เพิ่มขึ้นยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ โดยก่อน วิกฤตฟองสบู่เฉลี่ย 20,000 ล้านบาท แต่หลังฟองสบู่แตกตัวเลขขยับขึ้นเป็น 10 เท่า โดยเฉพาะในปี 2544-2545 การยึดทรัพย์พุ่งสูงสุด โดยคาดว่าสถาน การณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติประมาณสิ้นปี 2549

"คาดว่าในไตรมาส 2 ของปีงบ 47 จะจำหน่าย ทรัพย์สินได้เพิ่มประมาณ 10% เพราะกรมบังคับคดี ได้รวบรวมทรัพย์สินรายใหญ่ๆ ที่มีมูลค่า 10 ล้านบาท ขึ้นไปจัดขายเป็นพิเศษให้กับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการ"

ขณะที่ตัวเลขการจำหน่ายทรัพย์ปลายปีที่สูง เป็นผลจากมาตรการด้านภาษีของกระทรวงการคลังที่ ไม่มีการต่ออายุ ลูกค้าจึงเร่งโอนมากขึ้น นอกจากนี้ยังเกิดจากการผ่อนปรนการจำหน่ายทรัพย์ของกรมบังคับคดีที่หากครั้งแรกการขายทรัพย์ไม่ถึง 80% ของ ราคาประเมิน จะปรับราคาลงมาอยู่ที่ 50% สุดท้ายผู้ซื้อจะเป็นตัวกำหนดให้ราคาขยับขึ้น เพราะเฉลี่ยราคาที่ได้จะอยู่ที่ 70% ของราคาประเมิน

ส่วนการบริหารสินทรัพย์ 58 ไฟแนนซ์ นายไกรสรกล่าวว่า อยู่ระหว่างการขายทอดตลาดจากการ บังคับคดีประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us