Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 มกราคม 2547
เลห์แมนคาดศก.ไทยปีนีใสรองจากจีน-เงินแข็งต่อเนือง             
 


   
search resources

เลแมน บราเดอร์ส
ร็อบ ซับบาราแมน
จอห์น เลอเวลลัน
Economics




เลห์แมน บราเดอร์สคาดเศรษฐกิจไทยปี 47 ทิศทางเติบโตสดใสที่สุดในเอเชีย รองจากจีน ขณะที่เอเชีย ยกเว้นญี่ปุ่น จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก แต่เตือนเงิน เฟ้อในเอเชียจะเพิ่ม เหตุมีเงินเหลือมาก แถมค่าเงินมีสิทธิ์แข็งต่อเนื่อง

เลห์แมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนระดับโลกจากแดนมะกัน พยากรณ์ทิศทางเติบ โตเศรษฐกิจโลกปี 2547 โดยราย งานเรื่อง "Outlook 2004 : Two Cheers for the Recovery" เลห์แมน บราเดอร์ส คาดว่า ปัจจัย เชิงบวกต่างๆ จะผลักดันเศรษฐกิจ โลกอยู่ในช่วงขาขึ้นอีก 6-12 เดือน ข้างหน้า โดยจะฟื้นตัวแข็งแกร่งภายใต้สภาวะเงินเฟ้อต่ำ ขณะที่ธนาคารกลางชั้นนำ จะรักษาสถาน-การณ์ดังกล่าว โดยอาจจะปรับ ขึ้นดอกเบี้ยช้าๆ อย่างไรก็ตาม เลห์แมน บราเดอร์สส่งสัญญาณเตือนความไม่สมดุลด้านเศรษฐกิจ ซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงส่งผลเกิดภาวะตกต่ำเศรษฐกิจช่วงปลายปี 2547

เลห์แมน บราเดอร์สยังคาดการณ์เติบโตจีดีพีทั่วโลกว่า จะเป็น ไปแนวทางเดียวกับที่คาดหมายทั่วไป หากแต่ได้ประเมินความเสี่ยงจากเงินเฟ้อต่ำกว่าที่คาดการณ์ ปัจจุบันของประเทศต่างๆ โดยเลห์แมน บราเดอร์สเห็นว่า ธนาคาร กลางจะรักษาดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลายาวนานกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วน ใหญ่คาด

เอเชียยกเว้นญี่ปุ่นโดดเด่นสูงสุด

เอเชีย ยกเว้นญี่ปุ่น เป็นภูมิภาคที่มีโอกาสจะได้รับประ-โยชน์จากการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ซึ่งดำเนินมาเป็นเวลา 6 ปี โดย เลห์แมน บราเดอร์สชี้ว่า ความต้องการภายในประเทศในเอเชียที่แข็งแกร่ง ภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้น จะส่งผลความต้องการภูมิภาคแห่งนี้ เพิ่มขึ้นถึงระดับเทียบเท่าความต้องการในญี่ปุ่น เมื่อคิดเป็นดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2549

เลห์แมน บราเดอร์สพยากรณ์ การเติบโตจีดีพีในเอเชีย ยกเว้นญี่ปุ่น ว่าจะเพิ่มจาก 5.7% ปี 2546 เป็น 6.8% ปี 2547 ขณะที่การเติบ โตจีดีพีในจีน จะลดลงเล็กน้อย เหลือเพียง 8% ปี 2547 คาดว่าประเทศอื่นๆ ภูมิภาคแห่งนี้ จะเติบโตของจีดีพีเพิ่มจาก 3.6% เป็น 5.9% ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นการ บริโภค และการลงทุน

นายร็อบ ซับบาราแมน นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำภูมิภาค เอเชียของเลห์แมน บราเดอร์ส กล่าวว่า แม้ปี 2546 เอเชียประสบภาวะวิกฤตหลายครั้ง แต่ความต้อง การภายในประเทศ ยังคงอยู่ในระดับที่ดี

เราเห็นแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ นโยบายมหภาคที่ผ่อนคลาย ภาคการเงินและธุรกิจ ที่แข็งแกร่งมั่นคง หลังจากปรับโครงสร้างธุรกิจ การใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น โดยอัตราการออมลดลง และสภาพ คล่องแต่ละประเทศเพิ่มขึ้น สำหรับ ปี2547 เราคาดว่าเศรษฐกิจของไทย ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฮ่องกง และมาเลเซีย จะมีทิศทางการเติบโตสดใสŽ นายซับบาราแมนกล่าว

เศรษฐกิจไทยโตแกร่ง

สำหรับประเทศไทย เลห์แมน บราเดอร์ส ระบุว่า ไทยเป็นประเทศที่ฟื้นคืนเศรษฐกิจชัดเจน โดยปี 2547 ไทยจะขยายตัวเศรษฐกิจแข็งแกร่ง เป็นผลจากนโยบายมหภาคที่ผ่อนคลาย สินเชื่อผู้บริโภคสูงขึ้น อัตราว่างงานลดลง และการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยเลห์แมน บราเดอร์ส คาดว่า ประเทศไทยจะมีอัตราเติบโตจีดีพีเพิ่มเป็น 7% ปี 2547

สำหรับเอเชียโดยรวม เลห์แมน บราเดอร์ส ส่งสัญญาณเตือนปัจจัยเสี่ยงเกิดภาวะตกต่ำเศรษฐกิจปี 2547 ซึ่งได้แก่ การกลับมาแพร่ระบาดโรคซาร์ส สถานการณ์เลวร้ายในเกาหลี เหนือ และความขัดแย้งระหว่างจีนและไต้หวัน ที่ ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

ด้านนายจอห์น เลอเวลลัน หัวหน้าคณะนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโลกของเลห์แมน บราเดอร์ส กล่าวว่าการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย ขณะนี้ จะทำให้เกิดลู่ทางเสริมสร้างความ แข็งแกร่งร่วมกัน เพื่อช่วยหนุนเสริมเศรษฐกิจโลกเติบโตดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา แนวโน้มจะถดถอยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลเศรษฐกิจยุโรป และญี่ปุ่น ขยายตัวปานกลางเท่านั้น และยังเป็นอุปสรรคลบช่องว่างกำลังผลิต แท้จริงกับกำลังผลิตที่ตั้งเป้าไว้ ซึ่งสูงสุดนานกว่า ทศวรรษ

เลห์แมน บราเดอร์ส คาดว่า จีดีพีสหรัฐ อเมริกาจะเติบโตเฉลี่ย 4% ปี 2547 ซึ่งต่ำกว่าช่วงฟื้นตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯปีที่ผ่านมา 2%

เงินแข็งต่อเนื่อง

ภาวะกดดันตลาดต่ออัตราแลกเปลี่ยน เงินตราของโลกจะยังคงปรากฏต่อไปในปี 2547 โดยสหรัฐฯจะมีปริมาณผลผลิตสูงกว่าคู่ค้าของตนอีกหลายประเทศ แต่สัดส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้ ยังไม่พอ เนื่องจากการใช้จ่ายในสหรัฐฯเพิ่มขึ้น

คาดว่าจะส่งผลสหรัฐฯขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงขึ้น ขณะที่ค่าใช้จ่ายสาธารณะที่เพิ่มขึ้นสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะมีปลายปีนี้ จะส่งผลงบประมาณสหรัฐอเมริกาประสบภาวะขาดดุลสูงขึ้น ตลอดจนดอลลาร์อ่อนตัวลง และดอกเบี้ยระยะยาวสูงขึ้น

นายซับบาราแมนกล่าวว่า ปัจจุบัน สกุลเงิน เอเชียแข็งแกร่งขึ้นอย่างมาก ส่วนใหญ่จะมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 15% หากแต่ยังต่ำกว่าค่าเงินก่อนเกิด วิกฤตเศรษฐกิจเอเชียปี 2540 เป็นผลจากการแทรกแซงของธนาคารกลาง เลห์แมน บราเดอร์ส คาดว่า สกุลเงินเอเชียจะแข็งแกร่งต่อไปต่อเนื่อง

"ในความเห็นของเรา ภูมิภาคเอเชียสะสมเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสูงเกินกว่าที่ พวกเขาต้องการ และการแทรกแซงของธนาคารกลางในการเพิ่มเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอย่างมากนั้น จะเป็นตัวเร่งการเติบโตของ ปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในเอเชีย" นายซับบาราแมนกล่าว

เลห์แมน บราเดอร์ส ยังคาดต่อว่า การเพิ่ม ขึ้นเงินเฟ้อดังกล่าว จะส่งผลธนาคารกลางต้องรีรอปรับดอกเบี้ยเพิ่ม สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเกิดภาวะเงินตึง เนื่องจากค่าเงินเพิ่มขึ้น ตลอดจนการที่หลายประเทศมีแผนเลือกตั้งปีหน้า คาดว่าการขาดดุลงบประมาณสูงจะเป็นสิ่งแรกที่จะเกิดหลังเลือกตั้ง

เลห์แมน บราเดอร์ส ก่อตั้งปี 2393 เป็นผู้นำนวัตกรรมธุรกิจการเงินของโลก เป็นผู้ให้บริการการเงินบริษัทเอกชน รัฐบาล และองค์กรของรัฐ ตลอดจนกลุ่มลูกค้าประเภทสถาบัน และประเภทบุคคลชั้นนำทั่วโลก เลห์แมน บรา-เดอร์ส ยังเป็นผู้นำด้านขายหุ้นทุนและตราสารหนี้ การซื้อขายและวิเคราะห์หลักทรัพย์ เป็นที่ปรึกษาการลงทุน ให้บริการปรึกษาเพื่อร่วมทุน และให้บริการลูกค้าส่วนบุคคลระดับสูง

เลห์แมน บราเดอร์ส สำนักงานใหญ่ในนิวยอร์ก สำนักงานในลอนดอน และโตเกียว ดำเนินงานรูปแบบเครือข่ายสำนักงาน ซึ่งมีอยู่ทั่วโลก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us