แบงก์กสิกรไทย ดึง "ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" นั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ
ดัน "บัณฑูร ล่ำซำ" เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ควบคุมการบริหารให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์
ระบุเตรียมเสนอผู้ถือหุ้นอนุมัติเมษายนที่จะถึงนี้ ขณะที่นักลงทุนในตลาดหุ้นไม่มั่นใจฝีมือ
เทขาย "KBANK" กดราคาร่วงจากวันก่อน 1 บาท มูลค่ารวมเฉียด 2.5 พันล้านบาท
นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการ ผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย
เปิดเผยว่า ที่คณะกรรมการครั้งที่ 1/2547 อนุมัติให้มีการปรับโครงสร้างการบริหาร
ด้วยการแต่งตั้งนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ขณะที่ตนยังคงดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารเพียงตำแหน่งเดียว
ทั้งนี้จะมีผลในทางปฏิบัติหลังจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติเห็น ชอบประมาณเดือนเมษายน
2547
สำหรับสาเหตุของการปรับโครงสร้างการบริหารงานครั้งนี้ เพื่อเป็นการรองรับแผนแม่บทพัฒนาระบบสถาบันการเงินและเพิ่ม
ขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยมอบหมายให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมีหน้าที่กำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์ของธนาคาร
แสวงหาโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ รวมทั้งพันธมิตรทางธุรกิจที่คิดว่าสามารถ เอื้อประโยชน์กับธนาคารและลูกค้าได้ดีขึ้น
"ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ต้องเผชิญกับโจทย์ที่ยากขึ้น การโยกย้ายและจัดสรรเจ้าหน้าที่ระดับสูงจึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา"
นายบัณฑูร กล่าวว่า ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร จะดูแลและรับผิดชอบด้านนโยบายเหมือนเดิม
ขณะที่นายประสาร จะเข้ามาดูแลด้านปฏิบัติการ อย่างเต็มที่ เพราะมีประสบการณ์ที่หลากหลายและสามารถประสานงานได้อย่างสมบูรณ์
"ผมเป็นผู้ทาบทามนายประสาน เข้ามาร่วมงาน เพราะเห็นว่าเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์
คุณสมบัติครบถ้วน มีบารมี รวมทั้งประสบการณ์ทางด้านตลาด เงินตลาดทุนยาวนาน มั่นใจว่าจะเป็นผลทางด้านบวก
ให้กับธนาคารเป็นอย่างมาก" นายบัณฑูร กล่าว
ส่วนอายุการดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของนายประสาร นั้น มีแนวทางปฏิบัติเหมือนกับ
ผู้บริหารระดับสูงทั่วๆ ไป โดยตำแหน่งกรรมการ ผู้จัดการมีสัญญาและกำหนดอายุการดำรงตำแหน่งไว้คราวละ
5 ปี
นายประสาร กล่าวว่า ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย นับเป็นสิ่งที่ท้าทายความ
สามารถ และมั่นใจว่าสามารถทำได้ เพราะมีประสบการในตลาดเงินและตลาดทุนมานานกว่า
20 ปี โดย ทำงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ ก.ล.ต.มาเป็นเวลานาน แห่งละกว่า
10 ปี รวมทั้ง ได้ ทำงานผ่านภาคเอกชนมากที่จะสามารถนำประสบ การณ์มาบริหารให้เกิดประโยชน์กับธนาคารและลูกค้าได้
"ผมยังไม่สามารถกำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจได้ในขณะนี้ เพราะยังไม่ได้เข้ามาทำงาน
แต่ใน ภาพกว้างๆ แล้ว การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว การที่จะผ่านเกณฑ์ใหม่ๆ
โดยเฉพาะแผนแม่บทถือเป็นเรื่องท้าทายที่แบงก์พาณิชย์ ต้องปรับตัวให้ทัน"
ไถ่ถอนสลิปส์หมดแล้ว
นายบัณฑูร กล่าวถึง ความคืบหน้าการไถ่ถอน สลิปส์ ที่มีอยู่ทั้งหมด 40,000 ล้านบาท
ว่าขณะนี้ธนาคารได้ดำเนินการไถ่ถอนหมดเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม ที่ผ่านมา
ทำให้ให้ธนาคารสามารถลดต้นทุนทางด้านดอกเบี้ยลงหลายพัน ล้านบาท
"ธนาคารมีการปรับโครงสร้างการเงินตลอด เวลา เพื่อให้ได้ต้นทุนที่ต่ำสุด
ล่าสุดได้ออกหุ้นกู้จำนวน 1 หมื่นล้านบาท ดอกเบี้ยคงที่ในระยะยาวประมาณ 5-10 ปี
เหมือนกับธนาคารพาณิชย์ อื่นที่มีการขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาวเป็นการ จัดโครงการทางการเงินที่ต้องการฟิกซ์ดอกเบี้ยระยะยาวไว้"
ส่วนประเด็นที่จะต้องมีการควบรวมกิจการนั้น ธนาคารเชื่อว่ามีความเข้มแข็งเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจ
และสามารถแข่งขันได้ โดยหลังจากที่มีการไถ่ถอนสลิปส์แล้ว ธนาคารยังมีเงินกองทุนที่เพียงพอ
ภายใต้การดำเนินธุรกิจที่ขยายสินเชื่อในปีนี้ประมาณ 5% เชื่อว่าเงินกองทุนของธนาคารเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ
ราคาหุ้นรูดรับเอ็มอีคนใหม่
ด้านความเคลื่อนไหวราคาหุ้นธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK วานนี้ (13 ม.ค.) ได้มีแรงขายหุ้นออกมาหลังเปิดตลาดในช่วงบ่าย
ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงจากที่ปิดในช่วงเช้า 65.50 บาท และลดลงไปที่ระดับต่ำสุด
62.50 บาท ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 63 บาท ลดลงจากวันก่อน 1 บาท หรือคิด เป็น 1.56%
มูลค่าการซื้อขายรวม 2,495.01 ล้านบาท ติดอันดับการซื้อขายสูงเป็นอันดับ 3
นักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ ได้ความเห็นว่าปัจจัยที่ทำให้มีแรงเทขาย KBANK
ออกมา เนื่องจากนักลงทุนไม่มั่นใจในตัวของนายประสารที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการคนใหม่ว่าจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้มากน้อยเพียงใด
รวมทั้งได้มีการตั้งข้อสังเกตว่าการปฏิบัติงานในอดีตที่ผ่านมา ของนายประสาร ไม่เข้าขากับรัฐบาลชุดนี้
อาจจะส่งผลต่อการปฏิบัติงานในธนาคารกสิกรไทยได้
ก่อนหน้านี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) กสิกรไทย บริษัทในเครือของธนาคารกสิกรไทย
ได้แต่งตั้งนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ดำรง ตำแหน่งประธานกรรมการ เมื่อวันที่ 2
เมษายน 2546 หลังจากที่ลาออกจากตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
(สพช.) ซึ่ง ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าแนวทางการทำงานของนาย ปิยสวัสดิ์ ที่ผ่านมาสวนทางกับนโยบายรัฐบาล