Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 มกราคม 2547
สคิบประกาศเป็นแกนนำควบแบงก์รัฐฝุ่นเริ่มจาง             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารทหารไทย
โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย
โฮมเพจ ธนาคารนครหลวงไทย
โฮมเพจ ธนาคารไทยธนาคาร
โฮมเพจ บริษัทเงินทุนธนชาติ

   
search resources

ธนาคารกรุงไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนชาต, บล.
ธนาคารทหารไทย
ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ.
ธนาคารไทยธนาคาร, บมจ.
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย - IFCT
กระทรวงการคลัง
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
ธาริษา วัฒนเกส
สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
รัชนก ด่านดำรงรักษ์
สมหมาย ภาษี
Banking




ธนาคารนครหลวงไทยยอมเพื่อชาติ สนับสนุนการควบรวมแบงก์พาณิชย์รัฐ แต่ขอเป็นแกนนำ ทำให้อนาคตแบงก์รัฐ 4 แห่งชัดเจนขึ้น คลังเผย ปัญหา "ไทยธนาคาร-ไอเอฟซีที" มีทางเลือกมากขึ้น อาจยุบทั้งสองแห่งไปควบกับนครหลวงไทยเพื่อเป็นแบงก์รัฐแห่งที่ 2 รองจากกรุงไทยตามแผนแม่บททางการเงิน ส่วนทหารไทยรอคัดพันธมิตร 3 ราย "สมคิด" ปฏิเสธอุ้มนครหลวงไทย

แหล่งข่าวธนาคารนครหลวงไทย เปิดเผยว่า หากจำเป็นต้องควบรวมธนาคารพาณิชย์รัฐให้เหลือ 2 แห่ง ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือแผนแม่บททาง การเงิน (FMP: Financial Master Plan) ธนาคารนครหลวงไทยพร้อมเป็นแกนนำ เนื่องจากฐานะแข็งแกร่ง เพียงแต่สินทรัพย์มีเพียง 4.6 แสนล้านบาท ไม่อาจเป็นธนาคารขนาดใหญ่ตามนิยามแผนแม่บท ทางการเงินที่ต้องการเห็นสินทรัพย์มาก กว่า 8 แสนล้านบาท ประกอบกับการทำธุรกิจ ซ้ำซ้อนกับธนาคารกรุงไทย ธนาคารพาณิชย์ ขนาดใหญ่ของรัฐที่มีสินทรัพย์มากกว่า 1 ล้าน ล้านบาท

"จริงแล้วเราอยู่ได้โดยไม่ต้องควบรวมแต่ถ้าจำเป็นเพราะสินทรัพย์ไม่มากพอ เราก็ไม่มีปัญหา ขออย่างเดียว นครหลวงไทยต้อง เป็นแกนนำเท่านั้น" แหล่งข่าวกล่าว

ทั้งนี้ ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าธนาคารพาณิชย์ของรัฐควรจะเหลือเพียง 2 แห่ง โดยธนาคารที่ต้องอยู่ได้โดยไม่ต้องควบ รวม คือธนาคารกรุงไทย ดังนั้นธนาคารที่เหลือ ได้แก่ ธนาคารทหารไทย ไทยธนาคาร และนครหลวงไทยต้องเหลือเพียง 1 แห่ง

อย่างไรก็ตาม ธนาคารทหารไทยมีแผนชัดเจน ที่จะดึงพันธมิตรมาซื้อหุ้นกระทรวงการคลังที่ถืออยู่ 40% ล่าสุดมีข่าวควบรวมกับธนาคารไทยพาณิชย์ แต่ กระทรวงการคลังออกมาปฏิเสธ จึงเหลือทางเลือกเดิมคือทำการตรวจสอบและประเมินทรัพย์สินกับดีบีเอสไทยทนุ ขณะเดียวกันอยู่ระหว่างเจรจากับแบงก์ เอเอ็นแซดและแบงก์ไชน่า โดยกระทรวงการคลังจะแถลงผลสรุปทั้งหมดได้ภายในเดือนม.ค.นี้

ดังนั้นไทยธนาคาร นครหลวงไทย และไอเอฟซีที จึงต้องเหลือแค่ 1 แห่ง แต่ก่อนหน้านี้นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ออกมาระบุว่า นครหลวงไทยไม่ต้องควบรวมกับใครเพราะมีการพูด คุยกันระหว่างนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และร.อ.สุชาติแล้ว

วานนี้ (12 ม.ค.) นายสมคิดให้ความเห็นในเรื่อง ดังกล่าวว่า "ผมไม่เคยแทรกแซงในเรื่องนี้ รู้แต่ว่าแบงก์นครหลวงไทยแข็งแกร่งสามารถเป็นแกนได้"

วันเดียวกันนายอภิศักดิ์เปิดเผยว่าผลประกอบ การ 2546 ทุกด้านดีขึ้นมาก โดยเฉพาะการขยายตัวของสินเชื่อ การลดลงของต้นทุนเงินฝาก และการรักษาระดับของหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ได้ต่ำที่สุดของระบบธนาคารพาณิชย์ อีกทั้งการเชื่อมโยงระบบปฏิบัติงานและระบบคอมพิวเตอร์จากการควบรวม

กิจการกับธนาคารนครหลวงไทยเสร็จสมบูรณ์ ทำให้ ธนาคารมีฐานะที่แข็งแกร่งและมีความพร้อมในการแข่งขันมากขึ้น

นายอภิศักดิ์เปิดเผยว่า ผลประกอบการปี 2546 ธนาคารนครหลวงไทยมีกำไรสุทธิจำนวน 3,606 ล้าน บาท สูงกว่าประมาณการที่กำหนดไว้ที่ 2,185 ล้านบาท มีกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 1.71 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ที่ 0.54 บาทต่อหุ้น มีอัตราผลตอบแทนต่อทุน (ROE) เท่ากับ 10.67% และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) เท่ากับ 0.75% เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ที่เท่ากับ

3.29% และ 0.23% ตามลำดับ ขณะที่มีหนี้เสียเท่ากับ 2.66%

ณ 31 ธันวาคม 2546 มีสินทรัพย์รวม 469,406 ล้านบาท หนี้สินรวม 436,774 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้น 32,632 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ 31 ธันวาคม 2545 สินทรัพย์รวมลดลง 16,772 ล้านบาท คิดเป็น 3.4% รายการหลักที่ลดลงคือ AMC Note ลดลงจำนวน 14,470 ล้านบาท หรือ 3.2% เงินฝากลดลง 15,691 ล้านบาท ส่วนผู้ถือหุ้นลดลง 2,302 ล้านบาท กำไรสะสมเพิ่มขึ้น 3,389 ล้านบาท

ส่วนเรื่องการควบรวมนั้น นายอภิศักดิ์กล่าว ว่าเมื่อมองดูแล้วจะเห็นว่ามี 2 แนวทางคือ 1 การควบรวมเพื่อแก้ปัญหาของสถาบันการเงิน และแนว ทางที่ 2 คือ การควบรวมเพื่อให้กิจการดีขึ้น

"ธนาคารเองกำลังดูว่าวิธีการที่จะทำให้สินทรัพย์ โตขึ้นนั้นมี 2 วิธีคือ ควบรวมกิจการและซื้อสินทรัพย์ เพิ่ม หากดีขึ้นธนาคารก็จะทำ หรือถ้าทางการจะให้ไป อุ้มรายอื่นต้องดูว่าส่วนไหนที่เขาจะทำให้เราดีขึ้น ถ้า หากศักยภาพของเราเมื่อไปอุ้มเขาแล้วทำให้เขาดีขึ้นก็ จะทำ แต่ขณะนี้ขอยืนยันว่าไม่มีการควบรวมของธนาคารนครหลวงไทยเกิดขึ้นแน่นอน" นายอภิศักดิ์ กล่าว

ไทยธนาคาร-ไอเอฟซีทีใกล้จบ!

แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าถ้านคร- หลวงไทยไม่ตั้งกำแพงการควบรวม คลังจะมีทางเลือกในการแก้ปัญหาการควบรวมไทยธนาคารกับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ไอเอฟ-ซีที) ซึ่งมีปัญหาข้อกฎหมายและฐานะทางการเงินของ ไทยธนาคารที่รัฐต้องรับภาระหนี้เสียที่ยังไม่โอนออกไป

"การแก้ไขกฎหมายของไอเอฟซีที โดยออกเป็น พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) โดยหลักการจะแก้ไขเพื่อให้ไอเอฟซีทีอยู่ในสถานะที่จะควบรวมได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นไปตามแผนเดิมก็ได้ หากการ ควบไทยธนาคารกับไอเอฟซีทีมีปัญหามากเกินไปเรา มีนครหลวงไทยเป็นทางออก"

แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง กล่าวว่าจากการ ตรวจข้อมูลของธนาคารไทยธนาคาร พบว่าไทยธนาคารไม่ได้สะอาดอย่างที่คิด หนี้เสียยังอยู่ในบัญชี ขณะที่เมื่อสิ้นสุดปีที่ 5 ทั้งธนาคารและกองทุนเพื่อการ ฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ต้องมาตรวจสอบว่าการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน

นายสมหมาย ภาษี รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการไอเอฟซีที เปิดเผยว่า ภายในเดือนมกราคมนี้จะได้ข้อสรุปเรื่องการควบรวม ไอเอฟซีทีกับไทยธนาคาร เช่นเดียวกับการขายหุ้นธนาคารทหารไทยให้พันธมิตร

"ไม่เกินสิ้นเดือนรู้ผลว่าไทยธนาคารจะควบรวม กับไอเอฟซีทีหรือไม่ หมายดังกล่าวจะไม่มีเลื่อนอีกแล้ว เพราะทางการเข้าใจดีว่าการควบรวมที่ล่าช้าส่งผล กระทบต่อไอเอฟซีที" นายสมหมายกล่าว

บล.ธนชาติหนุนแบงก์ทักษิโณมิกส์

นางสาวรัชนก ด่านดำรงรักษ์ นักวิเคราะห์ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ธนชาติ วิเคราะห์ว่า แผนแม่บททางการเงินฉบับใหม่จะทำ ให้ปี 2547 เป็น "ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงและปรับโครง สร้าง" ทั้งสถาบันการเงินไทย และเศรษฐกิจไทย

นางสาวรัชนก มองว่าคุณสมบัติ (Qualifications) ไม่ใช่ปัญหา แต่เรื่องใหญ่คือ ขีดความสามารถ ในการแข่งขัน (Competitiveness) ดังนั้น การ ควบรวมกิจการ เรื่องคุณสมบัติไม่ใช่สิ่งหนักใจ เพราะส่วนใหญ่สอบผ่าน (14 ใน 20 แห่งมีเงินกองทุน เกิน 5 พันล้านบาท ขึ้นแท่น UB ได้) แต่สำคัญที่ขีดความสามารถในการแข่งขันในอนาคตต้องใหญ่และมีการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) จึงจะอยู่รอด

ทั้งนี้ แผนแม่บทฯฉบับใหม่ แบ่งสถาบันเป็น 2 ประเภท คือ "ธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบที่ทำธุรกิจ ได้ครบวงจร (UB: Universal Bank หรือ Full-service Bank)" และ "ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (RB: Restricted Bank)" ที่ให้บริการเฉพาะลูกค้า SMEs และระดับรากหญ้า โดยมีเส้นแบ่งเขตการทำธุรกิจเป็น "เงินกองทุน (Tier 1+2)" คือ หากจะเป็น UB ต้องมีเงินกองทุนขั้นต่ำ 5,000 ล้านบาท แต่ หากน้อยกว่านั้นแต่เกินกว่า 250 ล้านบาท ให้ตกชั้นเป็นแค่ RB (และหากเล็กกว่า 250 ล้านบาท ก็เป็นได้แค่ Credit Company ที่ปล่อยสินเชื่อได้ แต่รับฝากเงินไม่ได้)

บล.ธนชาติสรุปสาระสำคัญของ FMP ที่ส่งผล ต่อระบบสถาบันการเงินว่าแบ่งสถาบันการเงินออกเป็น 3 กลุ่ม "เป็นต่อ-คาบเกี่ยว-เป็นรอง" จากสถาบัน การเงินทั้งหมดที่มีอยู่กว่า 80 แห่งทั่วประเทศ อยู่ใน ตลาดฯ 22 แห่ง (เป็นธนาคาร 14 แห่ง และบริษัทเงินทุน 8 แห่ง) โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามคุณสมบัติที่กล่าวไปข้างต้น ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เงินกองทุนเกิน 5 หมื่นล้านบาท (10 เท่าของขั้นต่ำสำหรับ UB) ประกอบด้วย BBL-KBANK-SCB-KTB-BAY ถือว่าเป็นกลุ่ม "เป็นต่อ" เพราะพร้อมที่สุด (ทั้งคน เงิน และเทคโนโลยี) ที่จะ เป็น UB และยังอยู่ในฐานะแกนนำที่จะไปเทกโอเวอร์ กิจการคนอื่น เพื่อรองรับการแข่งเดือดในอนาคตหลังเปิดเสรีทางการเงิน โดยเฉพาะจากต่างชาติ

กลุ่มที่ 2 เงินกองทุน 5,000-50,000 ล้านบาท อยู่ในตำแหน่ง "คาบเกี่ยว" เพราะคุณสมบัติพร้อมที่จะเป็น UB แต่ยังไม่ใหญ่พอที่จะอยู่คนเดียว สมาชิกในกลุ่มประกอบด้วย 9 แห่ง TMB-(BT+IFCT)-SCIB-(NFS+NBANK)-BOA-DTDB-KK-TISCO-ACL

กลุ่มที่ 3 เงินกองทุนต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 6 แห่ง UOBR-SCNB-SICCO-BC-BFIT-AITCO ถือว่าอยู่ในฐานะ "เป็นรอง" เพราะต้อง เลือกตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง 1) ควบรวม กับคนอื่น เพื่อขยับฐานเงินกองทุนให้เกิน 5 พันล้าน บาท หวังยกระดับเป็น UB หรือ 2) ยอมรับสภาพคือไม่ควบกับใคร พอใจที่จะทำธุรกิจจำกัดขอบเขต/เฉพาะด้าน (RB) แต่เชื่อว่าส่วนใหญ่อยากที่จะเป็น UB

นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่าในวันนี้ (13 ม.ค.) ธปท.จะเชิญผู้บริหารสถาบันการเงินมารับฟังหลักการ ของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เพื่อให้เข้าใจตรงกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us