Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 มกราคม 2547
จี้ตั้งนิคมเชียงรายปีนี้จีนสนลงทุน2.5พันล.             
 


   
search resources

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
Investment




"สมคิด" เร่งเปิดประตูการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน เชื่อมจีนตอนใต้-เอเชียอาคเนย์ กำหนดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ/นิคมฯเชียงรายภายในปีนี้ เฉพาะนิคมฯต้องรู้ผลก่อนเยือนจีนเม.ย. 47 ขณะที่ยุทธศาสตร์ภาคเหนือ ตอนบน เน้นท่องเที่ยว-SMEs หมู่บ้านโอทอป และเขตเศรษฐกิจพิเศษ ระบุชัด เป้าหมายต้องการเห็นจีดีพีภาคเหนือดีขึ้น โตเฉลี่ย 8% เท่าจีดีพีประเทศ พร้อมทั้งลดช่องว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจแต่ละจังหวัด ขณะที่กว่า 100 บริษัทจีน ทั้งกิจการไบโอนิค ชีวภาพ อิเล็กทรอนิกส์ สุราและท่องเที่ยว สนใจจะลงทุนก่อตั้งนิคมฯ ที่เชียงราย 100 กว่าราย รวมมูลค่าลงทุนมากกว่า 500 ล้านหยวน(2,500 ล้านบาท)

วานนี้ (12 ม.ค.) ที่โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม พิจารณายุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน และการประชุมผลักดันยุทธศาสตร์ล้านนาสู่การปฏิบัติ ครั้งที่ 1 ร่วมกับผู้ว่าราชการ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แพร่ พะเยา น่าน และแม่ฮ่องสอน รวมทั้งตัวแทนส่วนราชการ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ระหว่างการประชุม นายสมคิดย้ำว่า มีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับยุทธศาสตร์พัฒนาพื้นที่ภาคเหนือตอนบนที่ต้องหารือกัน 3 เรื่อง ได้แก่ การพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคเหนือตอนบน พัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมขนาดกลางขนาดย่อม (SMEs) สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจภาคเหนือ เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้า การ ลงทุน และประตูการค้ากับประเทศ เพื่อนบ้าน โดยเฉพาะจีนตอนใต้ พม่า กัมพูชา

ส่วนการส่งเสริมการท่องเที่ยว ภาคเหนือตอนบนนั้น เขาเน้นว่าให้ส่งเสริมภาพรวมภาคเหนือตอนบนทั้งหมด ไม่ใช่การเฉพาะเจาะ จงเพียงจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง ให้สร้างจุดขายในภาพรวมของทุกจังหวัด เพื่อเพิ่มมูลค่า

ทั้งนี้ นายสมคิดมอบหมายให้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) หารือกับผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้ง 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คิดหาวิธีที่จะประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ที่เป็นลักษณะภาพรวมทุกจังหวัด

โดยกำหนดว่า อาจจะจัดงานสงกรานต์ปีนี้อย่างยิ่งใหญ่ ที่มีลักษณะเป็นงานสงกรานต์ของภาคเหนือตอนบน เชื่อมโยงเรื่องราวทุกจังหวัดเข้าด้วยกัน และประชาสัมพันธ์ให้ต่างประเทศ โดย เฉพาะคนจีนทราบ โดยให้เวลาคิดหาวิธีจัดงาน 1 เดือน หากไม่สามารถจัดงานทัน ก็ให้หาช่วงอื่นที่เหมาะ เพื่อจัดงานโดยเร็วที่สุด

นอกจากนี้ ให้เร่งพัฒนาหมู่ บ้าน ที่ผลิตสินค้าโอทอป ที่มีศักยภาพ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ภายใต้ แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่ามีหลายหมู่บ้านที่ศักยภาพสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ไม้แกะสลัก บ้านถวาย จ.เชียงใหม่ ชาอู่หลง บ้านแม่สลองนอก จ.เชียงราย ผ้าฝ้ายทอมือ บ้านหนองเงือก จ.ลำพูน เซรามิก บ้านชมพู จ.ลำปาง ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา บ้านสันป่าม่วง จ.พะเยา น้ำมันงา บ้านปางหมู จ.แม่ฮ่องสอน ผ้าตีนจกบ้านนามน จ.แพร่ ผ้าทอลายน้ำไหล บ้านหนองบัว จ.น่าน

ส่วนนี้ รองนายกรัฐมนตรีต้องการให้เร่งดำเนินการ โดยไม่ต้องรอการสั่งการจากส่วนกลาง ซึ่งอาจใช้งบประมาณที่มีอยู่จ้างเอกชนที่มีความรู้ เป็นผู้ดำเนินการให้ ขณะที่การพัฒนาศักยภาพ SMEs และ OTOP เขาเห็นว่าภาคเหนือเป็นพื้นที่ SMEs และ OTOP ที่มีศักยภาพสูงมาก

โดยเฉพาะ SMEs ที่เป็นสมาชิกสมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าหัตถกรรมภาคเหนือ หรือ NOHMEX ซึ่งการพัฒนาศักยภาพภาคเหนือ จะเชิญ NOHMEX ในฐานะกลุ่มที่มีประสบการณ์ ทำงานร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด

รวมทั้งขอความร่วมมือสถาบันการศึกษาต่างๆ ทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งของ SMEs ภาคเหนือให้แข็งแกร่ง ยิ่งขึ้น เขตเศรษฐกิจพิเศษต้องเรียบร้อยใน 2 เดือน

ดันเป็นประตูการค้า-การลงทุนกับจีน

ด้านการตั้งเขตเศรษฐกิจภาคเหนือ เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน และประตูการค้า กับประเทศเพื่อนบ้าน นายสมคิดย้ำว่า เป็นความ ต้องการของรัฐบาลที่จะผลักดันเรื่องนี้ เพื่อเชื่อมโยงการค้าการลงทุนกับจีน ตลอดจนประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการต่างๆ ช่วงที่ผ่านมา พบว่าล่าช้า เกี่ยวกับการจัดตั้งเขตเศรษฐ-กิจชายแดนเชียงราย ซึ่งจะใช้เป็นประตูการค้าการลงทุนกับจีนตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม พื้นที่อำเภอเชียงแสน ที่ยังมีปัญหาติดขัดเกี่ยวกับการหาพื้นที่ และการศึกษาการจัดตั้ง

ส่วนที่เกี่ยวกับการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม นายสมคิดกำหนดเวลาดำเนินการใหม่ โดยให้หา ข้อสรุปเกี่ยวกับพื้นที่ให้ได้ภายใน 1 เดือน และศึกษาให้เสร็จภายใน 2 เดือน เพื่อจะนำข้อมูลความคืบหน้าที่ได้เสนอให้จีนรับทราบในการเดิน ทางเยือนจีนช่วงประมาณเม.ย.นี้ พร้อมผู้ว่าฯ ซีอีโอของไทยทั้ง 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน

เนื่องจากทางการจีนต้องการจะรับทราบความชัดเจน และความคืบหน้าเรื่องนี้อย่างมาก ขณะเดียวกัน เขากำชับว่า การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจ ชายแดนเชียงราย ต้องมีความชัดเจนทุกด้าน เพื่อพร้อมจะดำเนินการได้ปีนี้ด้วย

การหารือประเด็นเปิดประตูการค้าภาคเหนือตอนบนกับจีนตอนใต้/เอเชียอาคเนย์ นายสมคิดเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจังหวัดเชียงราย ในฐานะประตูการค้า การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ที่กำลังศึกษาแนวทางการตั้งนิคมฯ เชียงราย สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ดูแลเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงรายอยู่ ตลอดจนการท่า เรือแห่งประเทศไทย ต้องเร่งหาสถานที่ก่อสร้างท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 รองรับการขยายตัวการค้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

เขากล่าวต่อที่ประชุมว่า ก่อนที่เขาจะเดินทางเยือนจีน เม.ย.ปีนี้ ต้องมีคำตอบว่านิคมฯเชียงรายจะสร้างที่ไหนแน่ เนื่องจากจีนสอบ ถามเรื่องนี้หลายครั้ง จำเป็นต้องมีคำตอบ ส่วนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ควรเร่งศึกษาแนว ทางข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ว่าต้องแก้กฎหมายใดหรือไม่อย่างไร โดยเร็วที่สุด

พร้อมๆ กับการปรับปรุงระบบสาธารณูปโภครองรับทั้งท่าเรือริมฝั่งแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ของ เชียงแสน ที่เดิมการท่าเรือฯ กำหนดดำเนินการ เสร็จภายใน 5 ปี อาจร่นเวลาเร็วขึ้น ทางรถไฟที่จะเชื่อมโยงด้วย โดยให้ร่วมกันหาเจ้าภาพ ดำเนินงานเรื่องนี้ให้เร็วที่สุด จังหวัดเชียงรายที่เป็นเจ้าของพื้นที่ก็ต้องเร่งเรื่องนี้ เพราะเป็นผลประโยชน์ของทั้งภาคเหนือ

ที่ประชุมยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ตอนบน นายนรินทร์ พานิชกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ จัดตั้งนิคมฯเชียงราย / เขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย ประชุมร่วมกันที่ห้องประชุมศาลากลาง จังหวัดเชียงรายวันที่ 21 ม.ค.

ขณะที่การพิจารณาชี้ขาดสถานที่ก่อสร้างนิคมฯ เชียงราย กนอ.จะเร่งสรุปผลชี้ชัดวันที่ 22 ม.ค. หลังจากศึกษาตั้งแต่ปี 2545 ก่อนจะศึกษา เรื่องผลกระทบต่อไปภายใน 2-3 เดือน

เซ็นสัญญาร่วม 8 ผู้ว่าฯ ซีอีโอ

หลังการประชุม นายสมคิด พร้อมนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ปลัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมพิธีลงนามคำรับรองการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการทั้ง 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน

รองนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า การประชุมและพิธีลงนาม เป็นจุดเริ่มต้นการทำงานตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ โดยจะเน้นการท่องเที่ยว SMEs-OTOP โดยเฉพาะการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนที่คั่งค้างมานาน ซึ่งขณะนี้ เขาสั่งการ กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเร่งดำเนินการเรื่องนี้โดยเร็วที่สุด และให้เสร็จภายใน 1 ปี เพราะเป็นเรื่องที่จีนสนใจอย่างมาก

ทั้งนี้ จีนเป็นประเทศที่ศักยภาพสูง หาก เข้ามาทำการค้าการลงทุนในไทย ถ้าไทยสามารถ ใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์ได้มากจริง จะส่งผล ดีต่อการผลิต และการจ้างงานภาคเหนืออย่าง มาก

ดัน GPP เหนือโต 8%

สำหรับตัวชี้วัดต่างๆ ที่กำหนดอยู่ในยุทธศาสตร์ นายสมคิดกล่าวว่าไม่มีความจำเป็น เพราะเขาจะร่วมทำงานด้วยใกล้ชิดอยู่แล้ว เชื่อมั่นว่าจะได้ผลดี โดยตัวชี้วัดเป็นเพียงดัชนีที่ ทางราชการต้องการกำหนดขึ้นเพื่อใช้ทำสัญญาร่วมกันเท่านั้น

ทั้งนี้ สิ่งที่คาดหวังจากการดำเนินยุทธศาสตร์ คือการที่ผลผลิตมวลรวม (Gross Provincial Product-GPP) ภาคเหนือสูงขึ้น อย่าง น้อยเฉลี่ยประมาณ 8% ปีนี้ ให้เท่าเป้าหมายจีดีพีประเทศ และสามารถลดช่องว่างเศรษฐกิจที่เป็นความแตกต่างของแต่ละจังหวัดได้

พร้อมสร้างให้เกิดความเจริญก้าวหน้าเท่าเทียมกัน ขณะที่การประเมินผลการทำงาน จะไม่มี แต่จะประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าทุกเดือน

จีนเร่งไทยเดินเครื่องนิคมฯ

สำหรับกรณีนิคมฯ เชียงราย เมื่อเร็วๆ นี้ นายสู หรง ข่าย ผู้ว่าการมณฑลหยุนหนาน จีน พร้อมคณะเดินทางหารือกับนายนรินทร์ พานิชกิจ ผู้ว่าฯเชียงราย การหารือกันครั้งนั้น ตัวแทนฝ่าย จีน โดยนายหลิว หมิง ผู้ว่าการนิคมฯ มณฑลหยุนหนาน กล่าวต่อผู้ว่าฯ เชียงราย ว่าหยุนหนาน ศึกษาแนวทางการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงราย กว่า 1 ปีแล้วและรวบรวมเอกชนที่สนใจจะเข้ามาลงทุนแล้วกว่า 100 บริษัท

มีทั้งกิจการไบโอนิค ชีวภาพ อิเล็กทรอนิกส์ สุรา และท่องเที่ยว ล่าสุด ผู้ประกอบการจีนลงนามบันทึกช่วยจำกับกลุ่มบริษัทร่วมทุนไทย-จีน ที่จะลงทุนก่อตั้งนิคมฯ ดังกล่าวแล้ว 100 กว่าราย รวมมูลค่าลงทุนมากกว่า 500 ล้านหยวน (มากกว่า 2,500 ล้านบาท)

แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะติดขัดปัญหาสถานที่ก่อตั้งนิคมฯ ที่ฝ่ายไทย ยังไม่มีข้อสรุป ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าล่าช้ามาก ดังนั้น หากภายในปีนี้ยังไม่ได้รับคำตอบจากฝ่ายไทย พวกเขาจะหันไปลงทุนในมณฑลหยุนหนานแทน

โครงการก่อตั้งนิคมอุตสาหกรรมเชียงราย กลุ่มบริษัทร่วมทุนไทย-จีน เสนอให้ตั้งในพื้นที่ประมาณ 3,000 ไร่ เขต ต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ที่ฝ่ายจีนส่งเจ้าหน้าที่ศึกษาความ เหมาะสมมาแล้ว

สำหรับบริษัทร่วมทุนไทย-จีน กลุ่มทุนไทย ที่ร่วมทุนด้วย คือกลุ่มบริษัท ปภามาศ จำกัด ที่ ร่วมมือกับบริษัทควบคุมทรัพย์สินของรัฐ เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงประจำนคร คุนหมิง ขอจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมพื้นที่ 2,200 ไร่ ที่ตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน จ.เชียงราย แต่ต่อมา นายยงยุทธ ติยะไพรัช เลขาธิการนายก รัฐมนตรีเสนอยกเลิก เพราะเห็นว่ายังไม่ผ่านการ พิจารณาของจังหวัดเชียงราย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us