Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 มกราคม 2547
แบงก์กรุงเทพไฟเขียวรัฐบาลแก้ปัญหา2บง.             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
บัวหลวง, บง.
สินเอเซีย, บง.
ชาตรี โสภณพนิช
โชค ณ ระนอง
Banking and Finance




บิ๊กบอสแบงก์กรุงเทพ "ชาตรี โสภณพนิช" เผยทางออกการแก้ปัญหาบง.สินเอเชีย และบง.บัวหลวง ด้วยการเปิดทางให้กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นเป็นคนจัดการ ระบุยังมีเวลาตัดสินใจอีก 6 เดือน พร้อมยืนยันฐานะแบงก์กรุงเทพแข็งแกร่ง สามารถต่อสู้กับแบงก์ต่างชาติได้ ขณะเดียวกันมีแผนเร่งจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นให้ได้เร็วที่สุด

นายชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรมการ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวถึง ความคืบหน้าการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัทเงินทุน(บง.) บัวหลวง และบริษัท เงินทุน (บง.) สินเอเชีย ว่า เรื่องดังกล่าว ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐบาลเป็นหลัก เนื่องจากบง.สินเอเชีย มีกระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ในสัดส่วนประ-มาณ 1 ใน 3 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล

"ตอนนี้ขอเพียงความชัดเจนจากภาครัฐเท่านั้น ว่าจะให้ดำเนินการอย่างไร กับบง.สินเอเชีย จะให้ควบรวมหรือจะให้ เป็นบริษัทจำกัด เพราะรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นอยู่แล้ว แต่เรื่องนี้ยังมีเวลาที่จะต้องพิจารณาอีก 6 เดือน หลังจากนั้นจะใช้เวลาในการดำเนินการอีก 1 ปี ขณะที่บง. บัวหลวงเอง จะควบรวมกับใครก็ไม่รู้ ซึ่งอาจควบกับบง.สินเอเชียก็ได้ ซึ่งในขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้"

สำหรับแผนการดำเนินงานของธนาคารกรุงเทพนั้น นายชาตรี กล่าวว่า ธนาคารคาดว่าจะสามารถจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ภายในปี 2548 หรืออย่างเร็วที่สุดอาจจะเห็นได้ภายในปี 2547 ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหารที่จะสามารถชำระบัญชี และดำเนินการด้านภาษีได้รวดเร็วเพียงใด ซึ่งหากธนาคารสามารถเริ่มการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ก็จะต้องมีการจ่ายอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของธนาคารที่ต้องการจ่ายผลตอบแทนคืนให้กับผู้ถือหุ้นในกรณีที่ธนาคารมีผลกำไร

ส่วนการแข่งขันด้านธุรกิจธนาคารในปี 2547 นี้ ธนาคารพาณิชย์ยังมีการแข่งขันอย่างต่อ เนื่อง เพราะในแต่ละปีจะมีปัจจัยต่างๆ เข้ามากระทบต่อธุรกิจธนาคารแตกต่างกัน จึงทำให้ธนาคารแต่ละแห่งต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการ แข่งขันตลอดเวลา แต่หากต้องการแข่งขันในระดับนานาชาติ ควรจะต้องมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งมากกว่านี้ สำหรับธนาคารกรุงเทพ ถือว่ามีศักยภาพในการแข่งขันอยู่แล้ว

ด้านนายโชค ณ ระนอง ผู้อำนวยการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีนี้ธนาคารตั้งเป้าเพิ่มยอดบัตรเครดิตอีก 150,000 บัตร จากปัจจุบันที่มีอยู่ 460,000 บัตร โดยส่วนหนึ่งจะมาจาก บัตรเครดิตท่องเที่ยวธนาคารกรุงเทพ ที่เปิดตัวเมื่อวานนี้(8ม.ค.) จำนวน 50,000 บัตร ส่วนที่เหลือจะมาจากผลิตภัณฑ์ที่จะออกภายในปีนี้อีก ประมาณ 2-3 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นในกลุ่มชอปปิ้ง

สำหรับการแข่งขันธุรกิจบัตรเครดิตในปัจจุบันยังมีการแข่งขันอย่างรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการรายเดิมและผู้ประกอบการรายใหม่ต่างเข้ามารุกธุรกิจนี้กันมาก ขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการรายเดิมเองต้องรักษาฐานลูกค้าเดิมเอาไว้ โดยใช้กลยุทธ์ด้านต่างๆ ขณะที่ธนาคารกรุงเทพ ได้งัดกลยุทธ์ฟรีค่าธรรมเนียมตลอดชีพ หากผู้ถือบัตรมีการใช้จ่ายผ่านบัตร 5,000 บาทต่อปี

สำหรับการที่ธุรกรรมด้านบัตรเครดิตของธนาคารได้หยุดมานานนั้น นายโชค กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการพัฒนาระบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมกับมีระบบเครดิตสกอริ่งที่ช่วยคัดสรรลูกค้า จึงทำให้มั่นใจได้ว่าบัตรเครดิตของธนาคาร สามารถเติบโตได้อีก และขณะนี้เศรษฐกิจของไทยยังไม่มีสัญญาณที่ชี้ชัดว่าจะเข้าสู่สภาพ ฟองสบู่ ด้านบัตรเครดิตเหมือนกับที่เกิดขึ้นในประเทศเกาหลี

ด้านยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตนั้น ปัจจุบัน อัตราการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตอยู่ที่ประมาณ 8,300 บาทต่อคนต่อเดือน ซึ่งธนาคารมีเป้าหมาย จะกระตุ้นการใช้จ่ายให้เพิ่มขึ้นเป็น 8,700 บาทต่อคนต่อเดือน ขณะที่ยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล อยู่ที่ประมาณ 2.1% เพิ่ม ขึ้นเล็กน้อยจากปี 2545 ที่อยู่ในระดับ 2%

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us