เอไอเอสตั้งเป้าสร้างรายได้โมบายล์ไลฟ์ซึ่งเป็นบริการประเภทนอนวอยซ์รอบปี 47
ไว้ที่ 7,000 ล้านบาท หลังปี 46 ปิดตัวเลขที่ 5,200 ล้านบาท มั่นใจยอดผู้ใช้บริการ
GPRS ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเป็นตัวกระตุ้นรายได้ พร้อมวางแนวทางปรับรูปแบบบริการให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค
เพื่อ มุ่งสู่สังคมไร้สายหรือไวร์เลส โซไซตี้ หวังพลิก วิถีชีวิตคนไทยให้ใช้โทรศัพท์มือถือคนเดียวมากกว่า
1 เครื่อง ตามจุดประสงค์การใช้งาน
นายสุวิทย์ อารยะวิไลพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักธุรกิจการให้บริการเสริม บริษัท แอดวานซ์
อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส กล่าวว่า จากการที่เอไอเอสมุ่งปรับภาพลักษณ์ของการเป็น
โมบายล์โอเปอเรเตอร์สู่การเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สาย หรือไวร์เลส เซอร์วิส
โพวายเดอร์ เป็น การมุ่งพัฒนาเครือข่ายสื่อสารไร้สายให้กลายเป็น เครือข่ายพื้นฐานหลักของการใช้บริการด้านโทรศัพท์ในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป
ทั้งนี้ บริการเสริมเป็นส่วนหนึ่งของแนว ทางการพัฒนาธุรกิจที่มีบทบาทในการสร้างรายได้
ให้กับธุรกิจสื่อสารไร้สายมากขึ้น จากการรีลอนช์ แบรนด์ โมบายล์ไลฟ์ของเอไอเอสในปีที่ผ่านมาส่ง
ผลให้เอไอเอสมีรายได้รวมจากบริการเสริมปี 2545 อยู่ที่ 3,258 ล้านบาท คิดเป็น 6%
ของราย ได้จากการให้บริการ ในปี 2546 ทำได้ 5,200 ล้าน บาท หรือประมาณ 7% ของรายได้จากการให้บริการ
และในปี 2547 คาดว่าจะมีรายได้จากธุรกิจบริการเสริมมากกว่า 7,000 ล้านบาท หรือมากกว่า
7% ของรายได้จากการให้บริการ
"เอไอเอสมั่นใจว่าจะมียอดตัวเลขผู้ใช้บริการ เสริมและจะทำรายได้สูงถึง 7,000
ล้านได้ เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนไป สังเกตได้จากยอดผู้ใช้บริการ
GPRS ของเอไอเอสเพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 17,000 รายต่อเดือนเมื่อต้นปี 2546 มาอยู่ที่
470,000 รายต่อเดือน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นถึงหลักล้านในสิ้นปีนี้"
สำหรับรายได้ของบริการเสริมในปีที่ผ่านมาของ เอไอเอส 50% มาจากบริการเสริมจากเครื่องลูกข่ายหรือ
Call Management, SMS 38%, ข้อมูลด้าน ความบันเทิง หรือ Infotament และดาต้า อีก
3%
เอไอเอสวางเป้าหมายในอนาคตไว้ว่า จะให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจร่วมกับบิซิเนส
พาร์ตเนอร์ มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพาร์ตเนอร์ที่อยู่ในธุรกิจเอน-เตอร์เทนเมนต์
เอ็มคอมเมิร์ซ และอินฟอร์เมชั่น ซึ่ง ที่ผ่านมานั้นพาร์ตเนอร์ส่วนใหญ่ของเอไอเอสอยู่ใน
ธุรกิจเอนเตอร์เทนเมนต์ 85% อินฟอร์เมชั่น 12% และด้านแมสเซจ อีก 3% โดยมองว่าในอนาคตเอนเตอร์เทนเมนต์น่าจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น
ส่งผลให้พาร์ตเนอร์ด้านเอนเตอร์เทนเมนต์น่าจะเพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วย
"ด้วยพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค จะส่งผลให้พฤติกรรมการใช้โทรศัทพ์มือถือของคนทั่วไปเปลี่ยนไปจากเดิมที่พกโทรศัพท์เพียงเครื่องเดียวมาเป็นหลายเครื่องตามจุดประสงค์การใช้งาน
ใน สำนักงานก็จะพกโทรศัพท์ที่มีฟังก์ชั่นที่หลากหลายอำนวยความสะดวกทุกประโยชน์การใช้งาน
ขณะที่เปลี่ยนเป็นโทรศัพท์เครื่องเล็กมีฟังก์ชั่นการใช้งานไม่มากนักในโอกาสเดินทาง"
เป้าหมายหลักในการให้บริการของเอไอเอสรอบปี 2547 ด้านบริการเสริมจะมุ่งเน้นการพัฒนาบริการเสริมบนเครือข่ายอัจฉริยะความเร็วสูง
เพิ่มทาง เลือกให้กับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น โดยเน้นกลยุทธ์แบบ Base on lifestyle
& Segmentation ที่ศึกษา ถึงความต้องการและพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง โดยอาศัยฐานข้อมูลด้าน
CRM เข้าหาความต้องการ ที่แท้จริงของผู้บริโภค
"เราต้องการปรับแนวคิดการใช้บริการเสริมของ ผู้บริโภคในปัจจุบันจากเดิมที่ใช้บริการเสริมในบางโอกาสอย่างช่วงเทศกาล
หรือช่วงที่มีความต้องการเท่านั้น มาเป็นการใช้บริการเสริมในชีวิตประจำมากยิ่ง
ขึ้น สร้างไวร์เลส โซไซตี้ขึ้น โดยเอไอเอสจะพัฒนาบริการเสริมที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันมากขึ้น
รวมทั้งสนองความต้องการ กลุ่มลูกค้าที่เป็นองค์กรธุรกิจแต่ละกลุ่ม ซึ่งคาดว่าในแต่ละเดือนจะมีบริการเสริมออกมาประมาณ
10 ถึง 20 บริการ"
นายสุวิทย์ กล่าวว่า ตามเป้าหมายการสร้างตัวเลขรายได้จากธุรกิจบริการเสริมที่
7,000 ล้านบาท เอไอเอสจะออกบริการใหม่ๆ ที่เป็นไฮไลต์ของปี 2547 เช่น สื่อโฆษณาผ่านทางโทรศัพท์มือถือแทนที่ผู้บริโภค
จะคอยรับแผ่นโบรชัวร์ตามห้างสรรพสินค้า สร้างสถานีบันเทิงบนโทรศัพทมือถือเพื่อให้ผู้ผลิตมีเดียใช้เป็นช่องทางในการเผยแพร่ไวร์เลส
โซไซตี้ เปลี่ยนพฤติกรรมผู้ใช้ในบางโอกาสให้เป็นการใช้ประจำ