Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 มกราคม 2547
"สมคิด"พลิกสภาพัฒน์เน้นนักวางกลยุทธ์ชาติ             
 


   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ทักษิณ ชินวัตร
ทนง พิทยะ
จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช
Economics




"สมคิด" ให้เวลาสภาพัฒน์ 2 ปี ปรับโครงสร้างองค์กรเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 54 ปี องค์กรมันสมองของรัฐแห่งนี้ มอบนโยบายเน้นทำยุทธศาสตร์ เพิ่มความแข็ง แกร่ง "เป็นนักวางกลยุทธ์ระดับชาติ เป็นมันสมองที่แท้จริงของรัฐบาล" โดยให้ระบบการทำ งานเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ใช้ทีมงานคนรุ่นใหม่มากขึ้น ขณะที่ "จักรมณฑ์" รับลูก จะใช้แผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 ที่จะสิ้นสุดปี 49 เป็นฉบับ สุดท้าย หลังจากนั้น เน้นทำแผน 7 ยุทธศาสตร์ ขณะที่ "ทนง" คาดอนาคต อาจต้องดึงเอกชนร่วมบอร์ดสภาพัฒน์

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์)ตามที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นประธานเปิดสัมมนาและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "บทบาทใหม่ของสศช." วานนี้ (7 ม.ค.) เพื่อรับฟังความคิดเห็นผู้ที่เกี่ยวข้อง และนำมาปรับปรุงการทำงานของ สภาพัฒน์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เขากล่าวว่า ตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 บทบาทสภาพัฒน์เงียบหายไป และทำงานเป็นระบบราชการมากขึ้น ข้อมูลล้าสมัย ผิด จากอดีตที่เคยเป็นองค์กรที่มีพลังและผิดจากธนาคารแห่งประเทศไทยที่บริหารองค์กรมีประสิทธิภาพกว่ามาก เขาจึงต้องการให้สภาพัฒน์เปลี่ยนแปลงการทำงานให้รวดเร็ว และทันการเปลี่ยนแปลง ทั้งในประเทศ และในโลก โดยให้ระบบการทำงานเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ใช้ทีมงานคนรุ่นใหม่มากขึ้น สภาพัฒน์ต้อง เป็นองค์กรที่มีพลัง น่าเชื่อถือ ซึ่งจะได้เห็นบทบาทสภาพัฒน์ที่เปลี่ยนแปลงชัดเจน ภายใน 1-2 ปีนี้

นายสมคิดกล่าวว่า จะให้เวลาสภาพัฒน์ 1-2 ปีปรับปรุงโครงสร้างองค์กร เพื่อให้เป็นองค์กรชี้นำสังคมได้ ตลอดจนเป็นตัวแทนให้ คำแนะนำรัฐ ในฐานะ"นักวางยุทธศาสตร์ระดับชาติ (National Strategist) เป็นมันสมองรัฐที่แท้จริง"ในการดำเนินยุทธศาสตร์บริหารประเทศ ซึ่งสภาพัฒน์ต้องปรับตัวเองให้แข็งแกร่ง เฉียบคม ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงภายนอก จนสามารถนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จได้

"เป็นนิมิตหมายที่ดี ที่จะได้เห็นการเปลี่ยน แปลงของ สศช. (สภาพัฒน์) ในรอบหลายสิบปี สศช.ต้องขยับตัวให้ทัน รัฐบาลก็พร้อมที่จะให้ การสนับสนุนอย่างเต็มที่ การเปลี่ยนแปลงต้องมีหลายขั้นตอน โดยเฉพาะเรื่องการทำงานและบุคลากร" รองนายกรัฐมนตรีกล่าว

นายสมคิดกล่าวอีกว่า ให้สภาพัฒน์ทำแผนปรับบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้เสนอแผนที่จะต้องใช้งบประมาณเพิ่ม หากจำเป็น เพื่อพัฒนาองค์กรนี้ให้เป็นนักวางยุทธศาสตร์ระดับชาติอย่างแท้จริง เป็นการพลิกบทบาทสภาพัฒน์ครั้งแรกในรอบ 54 ปีขององค์กรนี้

ขณะเดียวกัน เขากล่าวว่า บอร์ดสภาพัฒน์อาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนใหม่ โดยดึงบุคคลภายนอก ทั้งตัวแทนภาครัฐและเอกชน ที่สามารถทำงานทุ่มเทเต็มเวลาให้กับสภาพัฒน์ได้ แทนที่จะเป็นตัวแทนหน่วยงานต่าง ๆ ตามประเพณีปฏิบัติ ซึ่งทำงานได้ไม่เต็มที่ อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบัน

นายทนง พิทยะ ประธานบอร์ดสภาพัฒน์ กล่าวเห็นด้วยกับนายสมคิด ที่สภาพัฒน์ต้องปรับตัวเองให้ทันสมัย ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยอนาคต บอร์ดสภาพัฒน์อาจจำเป็นต้องดึงภาคเอกชนร่วมทำงานเต็มเวลา

เน้นยุทธศาสตร์

ด้านนายจักรมณฑ์ ผาสุกวณิช เลขาธิการสภาพัฒน์ กล่าวว่าสภาพัฒน์จะปรับปรุงการทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติใหม่ ให้เป็นเชิงยุทธศาสตร์มากขึ้น โดยหลังจาก แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 9 ครบวาระปี 2549 จะไม่มีการทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 อีก แต่จะเปลี่ยนมาทำแผนยุทธศาสตร์ สภาพัฒน์แทน เนื่องจากคล่องตัว ฉับไว และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงดีกว่าการทำแผนพัฒนาฯ ที่มีขั้นตอนมาก

โดยเขาแนะว่า แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว ควรจะมีอายุ 4 ปี ตามวาระรัฐบาล เริ่มแผนแรกปี 2547-2550 อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ประกาศใช้ จะใช้ควบคู่กับแผนยุทธศาสตร์สภาพัฒน์ ภายใต้ 7 แผนยุทธศาสตร์ ที่สำคัญ คือ 1. วางแผนเพื่อการพัฒนา เป็นแผนยุทธศาสตร์มุ่งเน้นทำแผนบริหารประเทศ ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และระบบเศรษฐกิจ

2. พัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ปรับปรุงโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ คุ้มค่า 3. พัฒนาทุนทางสังคมและแก้ปัญหาความยากจน 4. พัฒนาเชิงพื้นที่และภูมิภาค ให้สอดคล้องกับการพัฒนาจังหวัด ตามนโยบายผู้ว่าราชการแบบบูรณาการ (ซีอีโอ) 5.พัฒนาระบบ ข้อมูล และเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจและสังคม ให้รวดเร็ว ถูกต้อง มีมาตรฐานและน่าเชื่อถือ 6. กำกับประเมินผล และสร้างความรู้ ความเข้าใจ เพื่อการพัฒนา และ 7. พัฒนาองค์กรให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และประสิทธิภาพสูง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us