Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 มกราคม 2547
แห่ซื้อBANPUพุ่ง12.50%ทิ้ง"RATCH-EGCOMP"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

   
search resources

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง, บมจ.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บ้านปู, บมจ.
หลักทรัพย์ บัวหลวง, บมจ.
หลักทรัพย์ ไซรัส, บล.
เคจีไอ (ประเทศไทย), บล.
ผลิตไฟฟ้า, บมจ.
ซีมิโก้, บล.
Energy




นักลงทุนเทขายหุ้น RATCH-EGCOMP ร่วง หนัก เมื่อกฟผ.ลงนามเอ็มโอยูซื้อหุ้น RATCH จากบ้านปู หลังประเมินกฟผ.กำหนดราคาทำเทนเดอร์ฯ RATCH ในราคาเดียวกับที่ซื้อจากบ้านปูหุ้นละ 43.86 บาท ต่ำกว่าราคาในกระดาน ขณะเดียว กันแห่ซื้อหุ้น BANPU ดันราคาหุ้นดีดแตะสูงสุด 163 บาทก่อนขาย ทำกำไรออกมาปิดตลาดที่ 144 บาท เพิ่มขึ้น 12.50% เนื่องจากบริษัทฯ จะรับผลดีจากการดีลดังกล่าว ทำให้ผลการดำเนินงานดีขึ้นและมีอำนาจในการบริหาร EGCOMP เต็มที่

วานนี้ (6 ม.ค.) นักลงทุนได้เทขายหุ้นบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ทันทีที่เปิดทำการซื้อขาย ภายหลังจากตลาดหลักได้ปลดเครื่องหมาย SP (Suspension ) หลักทรัพย์บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) (BANPU) บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) (EGCOMP) และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (RATCH)

โดยมีแรงเทขาย RATCH ออกมา โดยเปิดตลาดที่ 44.50 บาท กดราคาลงต่ำสุดที่ 41.75 บาท ก่อนมีแรงซื้อเข้ามาดันราคาหุ้นขึ้นไปปิดตลาดที่ 42.00 บาท ลดลง 7.00 บาท เปลี่ยนแปลงลดลง 14.29% มูลค่าการซื้อขาย 2,511.99 ล้านบาท

ความเคลื่อนไหวหุ้น EGCOMP เปิดตลาดอยู่ที่ระดับ 89.50 บาท ได้มีแรงเทขายออกมาจนต่ำสุดของวันที่ระดับ 83.00 บาท ก่อนจะดีดตัวขึ้นไปเล็กน้อย ปิดตลาดที่ 84.00 บาท ลดลง 6.00 บาท เปลี่ยนแปลง 6.67% มูลค่าการซื้อขายรวม 1,562.56 ล้านบาท

สำหรับราคาหุ้น BANPU เปิดตลาดอยู่ที่ระดับ 160 บาท ได้มีแรงซื้อต่อเนื่องดันราคาหุ้นแตะสูง สุดที่ 163.00 บาท ก่อนจะมีแรงเทขายทำกำไรออกมา ปิดตลาดที่ 144.00 บาท เพิ่มขึ้น 16 บาท เปลี่ยนแปลง 12.50% มูลค่าการซื้อขายรวม 1,810.33 ล้านบาท เนื่องจากดีลที่เกิดขึ้นครั้งนี้ มองว่า BANPU ได้ประโยชน์ชัดเจนที่สุด

สาเหตุที่มีแรงเทขาย RATCH-EGCOMP ออกมา เนื่องจากกฟผ.ได้ลงนามสัญญาเอ็มโอยู ซื้อหุ้น RATCH จากบริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือสัดส่วน 15% ในราคาหุ้นละ 43.8589 บาท ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของกฟผ. เพิ่มเป็น 60% จาก 45% และจะต้องทำเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ ซึ่งคาดว่าจะเป็นราคาเดียวกับที่ซื้อ ต่อจากบ้านปู ขณะเดียวกันกฟผ.จะขายหุ้นEGCOMP ให้กับBANPUและ CLP (China Light Power) สัดส่วนประมาณ 24.99% คาดว่าดีลจะเสร็จสิ้น ในปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้

ชี้EGCOMPมีสิทธิถือหุ้นใหญ่ในBLCP

บริษัทหลักทรัพย์ ซิมิโก้ แนะนำให้ลงทุน EGCOMP เนื่องจากโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ จะเอื้อให้บริษัทกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีกกว่า 20% รวมทั้ง ราคาซื้อขาย EGCOMP และ RATCH ของดีลนี้ ต่ำกว่าราคาตลาด จึงไม่คาดว่า จะเกิดการ เก็งกำไร หลังจากปลดป้าย SP

นอกจากนี้ ให้ "เก็งกำไร" ใน BANPU เพราะได้กำไรก่อนภาษีจากการขาย RATCH กว่า 6.4 พันล้านบาทแล้ว ยังได้กำไรที่ยังไม่รับรู้จากการซื้อ EGCOMP ในราคาต่ำกว่าราคาตลาดกว่า 8% และยังสามารถรับรู้ กำไรจากการดำเนินงาน ของ EGCOMP ตามวิธีส่วนได้ส่วนเสียในงบการ เงินอีกด้วย

บล.บัวหลวง วิเคราะห์ว่า ข้อตกลงดังกล่าว จะส่งผลดีต่อทุกฝ่าย โดยกฟผ. ได้เพิ่มจำนวนหุ้นใน RATCH ที่ต้นทุนต่ำ นอกจากนี้ยังสะท้อน ให้เห็นถึงความชัดเจนของโครงสร้างธุรกิจไฟฟ้าในประเทศของบริษัทลูกอย่าง EGCOMP และ RATCH ขณะที่ BANPU ก็ได้รับประโยชน์จากการได้หุ้น EGCOMP มาทดแทน RATCH ก่อนจะมีความเป็นไปได้ว่ากฟผ. จะทำการเพิกถอนหุ้น RATCH จากตลาด ส่งผลให้เกิดการแข่ง ขันระหว่างธุรกิจไฟฟ้าของเอกชนและรัฐวิสาหกิจ

นอกจากนี้ BANPU จะได้รับเงินจากการขาย RATCH 9,534.5 ล้านบาท และจ่ายส่วนต่าง อีก 1,330 ล้านบาทให้กับกฟผ.ขณะที่ EGCOMP จะกลายเป็นบริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชนที่ถือหุ้นโดย BANPU 24.99% และ CLP 22.82% เรามองว่า BANPU จะได้รับประโยชน์สูงสุดเมื่อเทียบกับ RATCH และ EGCOMP เนื่องจาก BANPU จะมีผลประกอบการที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้สิทธิการบริหาร EGCOMP, และเพิ่ม Syner-gy กับ CLP จึงแนะนำให้ ซื้อ BANPU

โดยคาดว่า BANPU มีกำไรเพิ่มขึ้น 6.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 25 บาทต่อหุ้นในปี 2547 มาจากกำไรจากการขายหุ้น RATCH จำนวน 6.5 พันล้านบาท และ BANPU จะบันทึกส่วนแบ่งกำไรจาก EGCOMP อีก 1.3 พันล้านบาท (จาก สัดส่วนหุ้น 24.99%) ซึ่งมากกว่าการได้รับเงิน ปันผลจากการถือ RATCH ที่ประมาณ 326 ล้าน บาท และ BANPU ก็ยังได้สิทธิในการควบคุมบริหาร EGCOMP ยิ่งไปกว่านั้น การถือหุ้นใน EGCOMP ร่วมกับ CLP ก็จะเป็นการเพิ่มช่องทางธุรกิจ ของ BANPU ในจีน

บล. เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ดีล ดังกล่าวน่าจะเป็นผลดีต่อ BANPU เนื่องจาก ราคาแลกเปลี่ยนหุ้น EGCOMP ค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับราคาแลกเปลี่ยนหุ้น RATCH รายได้ทางบัญชีของ BANPU จะเพิ่มขึ้นจากการรวมรายได้ของ EGCOMP เข้ามา เราคาดว่า BANPU จะยกเลิกข้อตกลงในการขายหุ้น BLCP ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 1,400 เมกะวัตต์ให้กับ RATCH รวมทั้งแรงกดดันใน การขายหุ้น ATC ลดลงด้วย ดังนั้นจึงแนะนำ ซื้อ BANPU และขายหุ้น RATCH และ EGCOMP เนื่องจากราคาหุ้นในปัจจุบันสูงกว่าราคาที่ตกลงในการแลกเปลี่ยนและสูงกว่ามูลค่า

ตามปัจจัยพื้นฐานแล้ว

บล.ไซรัส กล่าวว่า จากการปรับโครงสร้าง การถือหุ้นดังกล่าว สุดท้าย EGCOMP จะกลาย เป็นโรงไฟฟ้าเอกชนรายเดียวในตลาด ที่มีผู้ถือหุ้นประกอบด้วย BANPU 24.99% CLP 22.82% และประชาชนทั่วไป 52.17% ซึ่งการจับคู่ใหม่ระหว่าง BANPU และ CLP ถือเป็นคู่ที่เหมาะสมเนื่องจาก

ทั้งสองบริษัทมีการร่วมลงทุนในโรงไฟฟ้าถ่านหินอยู่ก่อนแล้ว คือ BLCP ดังนั้นการรวมกันในครั้งนี้ น่าจะส่งผลดีต่อ EGCOMP เนื่อง จากมีความเป็นไปได้ที่ BANPU จะให้ EGCOMP เป็นผู้พัฒนาโรงไฟฟ้าดังกล่าวต่อไป

ส่วนของ RATCH จะได้รับผลดีเช่นกัน เนื่องจากกฟผ.จะกลายผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และจะทำ Tender Offer เพื่อนำหุ้น RATCH ออก จากตลาดฯ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการควบรวม โดยทำให้เป็นโรงไฟฟ้าของรัฐที่มีประสิทธิ-ภาพแข็งแกร่งขึ้น ประกอบกับความสามารถในการขยายโรงไฟฟ้าของ RATCH เองยังคงมีอีกมาก

ดังนั้น การปรับโครงสร้างการถือหุ้นทั้ง 3 บริษัท จะทำให้ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ และมีความชัดเจนในเรื่องการประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าของกฟผ. มากขึ้น ซึ่งเรามองว่า หุ้นที่จะได้รับผลประโยชน์มากที่สุดจากทั้ง 3 บริษัทดังกล่าวจะเป็นหุ้นของ EGCOMP

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us