Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 มกราคม 2547
แบงก์งัดกลยุทธ์แย่งเค้กรายย่อยปีวอกจ้องปล่อยกู้"บ้าน-บุคคล"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์
โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย
ชาลอต โทณวณิก
ชฎา วัฒนศิริธรรม, คุณหญิง
กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล
ชาติชาย พยุหนาวีชัย
Consumer Banking




ปีวอก แบงก์ยึดธุรกิจบ้าน ประกาศเดินกลยุทธ์สู้ทุกรูปแบบ ทั้งผลิตภัณฑ์ บริการ ดอกเบี้ย ไม่หวั่นมาตรการสกัดธุรกิจอสังหาฯ จากทางการ มองแนวโน้มธุรกิจโตถึง 25% ด้านสินเชื่อ บุคคลเพิ่มสีสันมีผู้เล่นรายใหม่ลงสนาม

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการฟื้นตัวอย่างชัดเจน หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจมาเมื่อปี 2540 ซึ่งผลของภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวเกิดจากมาตรการกระตุ้นอสังหาฯของรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่อง ของมาตรการด้านภาษีอัตราดอกเบี้ยต่ำติดดิน ภาพรวมของเศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่อง ส่งผลให้ธุรกิจอสังหาฯเติบโตประมาณ 30% ผลจากการเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ธนาคารพาณิชย์เริ่มมีช่องทางการดำเนินธุรกิจที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำขึ้น

ในช่วง 2 ปีถือว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นตัวนำของการทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์และมีแนวโน้มที่จะนำต่อไปอีก 2 ปีข้างหน้า ดังนั้นแผนปีนี้ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ทุกแห่งจึงมุ่งมาที่สินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลัก โดยคาดว่าทั้งระบบ ธนาคารพาณิชย์จะปล่อยสินเชื่อดังกล่าวมากกว่า 200,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเติบโต 25%

นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจน้องใหม่ที่จะเข้ามาเสริมในการหารายได้ของธนาคารพาณิชย์คือ สินเชื่อบุคคล โดยเชื่อมมาจากนโยบายของรัฐบาลที่กระตุ้นให้ประชาชนมีการใช้จ่าย จึงเป็นช่องทางการหารายได้ในรูปแบบของสินเชื่อบุคคล ที่สรรหาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และมีผู้ประกอบการในตลาดจำนวนมาก ทั้งธนาคาร พาณิชย์ และ NON-BANK เป็น การแข่งขันด้านผลิตภัณฑ์ที่จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากที่สุด

นายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย กล่าวถึงแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปี 2547 ว่า สินเชื่อที่อยู่อาศัยน่าจะมีการขยายตัวได้ดีกว่าปี 2546 หรือมียอดปล่อยกู้โดย สถาบันการเงินประมาณ 170,000 -200,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโต 20-25% เนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น จะส่งผลให้รายได้ของประชาชนดีตามไปด้วย ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยในระบบ ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้มีความต้องการที่จะกู้เงินเพื่อมาซื้อที่อยู่อาศัย

โดยรูปแบบของการแข่งขันในปีหน้านั้น จะยังคงอยู่ในรูปแบบ เดิมๆคือ การใช้อัตราดอกเบี้ยคง ที่(Fixed Rate)เพราะคาดว่าอัตรา ดอกเบี้ยในระบบน่าจะอยู่ในระดับที่ต่ำต่อไปอีกอย่างน้อย 1-2 ปี ในขณะเดียวกันการออกแคมเปญด้าน การตลาดใหม่ๆก็ยังไม่ได้มีผลในการกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อได้จริง จากการที่ธนาคารพาณิชย์มีช่องทาง ในการกระตุ้นความสนใจสำหรับ สินเชื่อที่อยู่อาศัยมากนัก

กรุงศรีอยุธยาเดินหน้าลุยสินเชื่อบ้านต่อ

นางชาลอต โทณวนิก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัด การใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า สินเชื่อ ที่อยู่อาศัยถือว่าเป็นสินเชื่อหลักของรายย่อย โดยมีความปลอดภัย มีความเสี่ยงน้อยกว่าสินเชื่อบุคคล อีกทั้งเป็นฐานการเติบโตจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปี 2544-2546 และในปีหน้าธนาคาร ได้ตั้งเป้าขยายสินเชื่อที่อยู่อาศัยประมาณ 22% ซึ่งจะเติบโตไปพร้อมๆกับตลาด ในปีที่ผ่านมาตลาด อสังหาริมทรัพย์ขยายตัวประมาณ 43% เป็นยอด การขอสินเชื่อโตประมาณ 41% เป็นการโตสุทธิประมาณ 17% มองว่าธนาคารไทย สินเชื่อทีอยู่อาศัยเป็นสินเชื่อหลัก เพราะมองถึงระยะยาว แต่ถ้าแบงก์ต่างชาติจะมองธุรกิจอะไรที่เป็นระยะสั้นและมีผลตอบแทนที่ง่าย มองสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นผลระยะยาวทำยาก

ธนาคารได้ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปีนี้ทำได้เกินเป้า เชื่อว่าสิ้นปีจะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ประมาณ 14,000 ล้านบาท ทั้งปี 2547 สินเชื่อที่อยู่อาศัยยังคงเป็นตัวนำของการปล่อยสินเชื่อธนาคาร โดยทำแผน 5 ปี จากปัจจุบันที่อยู่ระดับ 10% ของสินเชื่อทั้งหมด มองว่าการทำธุรกิจแบงก์ครบวงจร ดังนั้นมองว่าจะต้องใหญ่กลางเล็ก มีการเติบโตในแนวเดียวกัน ดังนั้นมองตัวเลขแล้ว สินเชื่อรายย่อยหรือบุคคลยังคงมีช่องทางการขยายอีกมาก

ไม่เน้นแข่งด้านราคา

การแข่งขันสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปีหน้าจะ มีการเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่มีอัตราดอกเบี้ยเป็นตัวนำ จะเปลี่ยนเป็นรูปของผลิตภัณฑ์ และการ ให้บริการ แต่สิ่งที่สำคัญคือพันธมิตร ที่จะเข้ามามอบสิทธิประโยชน์ให้กับกลุ่มของตัวเองมากที่สุด ดอกเบี้ยมีแนวโน้มว่าจะขึ้น ซึ่งธนาคารจะไม่รับความเสี่ยงเรื่องของดอกเบี้ยแล้ว ดังนั้นจะมองถึงลักษณะของการเสนออัตราดอกเบี้ยลอยตัว หรือวงเงินที่ให้กู้ ซึ่งขณะนี้ก็มากกว่า 90% อยู่แล้ว บาง รายอาจจะมีกว่า 100% โดยจะทำในลักษณะของการบวกกับสินเชื่อบุคคลด้วย เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัยพร้อมกับเฟอร์นิเจอร์ การคิดดอกเบี้ยจะต้องผูกกับความเสี่ยง

ภาพรวมสินเชื่อที่อยู่อาศัย ยอดรวมคงค้างปี 2545 ประมาณ 164,000 ล้านบาท และไตรมาสที่ 3 ประมาณ 148,000 ล้านบาท โดยมองว่าทั้งปีน่าจะอยู่ที่ระดับ 200,000 ล้าน เนื่องจากการเติบโตในปีนี้จะดีมากตั้งแต่ต้นปี และจะมีอัตราการเติบโตที่ดีต่อไปอีกแต่จะเติบโตในอัตราที่ลดลง โดยอัตราการเติบโตของสินเชื่อที่อยู่อาศัยในอดีตที่ผ่านมาสูงสุดประมาณ 240,000 ล้านบาท ปีหน้า การเติบโตจะเป็นอัตราที่ลดลง เพราะจะมีการกระตุ้นลดลง และแรงควบคุมจะมาก

ลุยสินเชื่อบุคคลเพิ่มสีสัน

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่กล่าวต่อไปว่าด้านตัวเลขอุปโภคบริโภคสินเชื่อบุคคล เป็นส่วนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนที่เดินทางทำกิจกรรมต่างประเทศ และอีกส่วนจะอยู่ในส่วนสินเชื่อบุคคล บัตรเครดิต โดยมีตัวเลขครึ่งปี 2546 ทั้งระบบประมาณ 175,000 ล้านบาท ซึ่งจะไม่ได้รวมในส่วน ของบริษัทจำกัด ที่แยกออกจากระบบสถาบันการเงิน เช่น KTC โดยตัวเลขบัตรเครดิตทั้งระบบประมาณ 4,000,000 ใบ คิดเป็นอัตราการเติบโต 20% เติบโตลดลงจากปี 2544-2545 ที่มีอัตราการเติบโต 30% เนื่องจากในปี 2544 เป็นช่วงที่ธปท. ได้ยกเลิกเพดานของเงินเดือนขั้นต่ำ

สินเชื่อบุคคลปีหน้ามีบทบาทเข้มข้น

สินเชื่อบุคคลจะเริ่มมีผู้ประกอบการรายใหม่ เข้ามาเล่นมาก เนื่องจากแรงจูงใจด้านอัตราดอกเบี้ย ที่ยังไม่ถูกจำกัด ทั้งเรื่องของเพดานรายได้ขั้นต่ำของลูกค้า ทำให้ตลาดยังมีโอกาสเติบโต ทำให้หลาย บริษัทเข้ามาทำธุรกิจ โดยมีการแยกออกเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ 3 กลุ่ม คือ ธนาคารพาณิชย์ต่าง-ประเทศหรือลูกครึ่ง คือจะทำในระดับสูงและระดับ กลาง โดยไม่ลงไปเล่นในกลุ่มรากหญ้า เพราะยังมีระบบเครือข่ายที่น้อยจะใช้ระบบการขายตรงซึ่งปัญหาของกลุ่มดังกล่าวคือการติดตามหนี้ ถ้าเครือ ข่ายไม่กว้างขวางจะลำบาก

พอเป็นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย ที่ผ่านมา ยังไม่มีใครทำจริงจัง เพราะ 1.ดูตลาดสินเชื่อบุคคล ยังไม่แน่นอน มีความเสี่ยงสูง อีกทั้งธนาคารพาณิชย์ไทยจะเติบโตจากฐานลูกค้ารายใหญ่ จึงมองว่าการทำรายย่อย ผลตอบแทน ได้ไม่คุ้มเสีย เพราะต้องใช้แรงงานคนมาก ลงทุนระบบเทคโน-โลยีต่างที่จะต้องเข้ามาสนับสนุนเป็นจำนวนมาก การได้ผลตอบแทนระยะยาว ดังนั้นในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงการทดลอง หรือทำไปเพื่อไม่ให้ตก ขบวนเท่านั้น หรือเป็นการทำเพื่อเสริมผลิตภัณฑ์ให้ครบวงจร

เป้าสินเชื่อบุคคลโต 50%

ธนาคารกรุงศรีอยุธยาได้จัดระบบสนับสนุนเสร็จแล้ว ยังเหลือเรื่องการจัดอันดับหรือการจัดกลุ่ม ซึ่งจะแล้วเสร็จในต้นปีหน้า มั่นใจว่าด้านเครื่อง มือของธนาคารมีครบ ดังนั้นจึงทำแผนตั้งเป้าของการเติบโตของสินเชื่อบุคคลในปีหน้า 50% เทียบจากฐานของปี 2546 หรือคิดเป็นจำนวนเงิน 1,500 ล้านบาท ซึ่งหากดูเป็นตัวเลขจะไม่มากนัก โดยจะต้องดูสถานการณ์เพราะตลาดตอนนี้แบงก์มองว่ายังมีความเสี่ยงมาก จะลงไปเล่นในระดับรากหญ้า มาก ก็มีผู้ประกอบการเข้าไปแล้ว เช่น NON-BANK และยังมีการประกาศเปิดตัวอีกมาก ดังนั้น ธนาคารจะดูว่าคู่แข่งที่ชัดเจนของเราเป็นใคร และมองว่าที่ประกาศตัวจะเข้าไปลงเล่นในตลาดใด กลุ่มลูกค้าใด ศักยภาพของธนาคารจะเป็นกลุ่มใดบ้าง

สำหรับนโยบายของธนาคารกรุงศรีอยุธยา คือ 1.จะเข้าไปในกลุ่มของผู้ที่มีเงินเดือนประจำที่ใช้การตัดเงินเดือน 2.กลุ่มที่ต้องทำกับพันธมิตร เหมือนกับที่ไปเปิดตัวกับ INDEX หรือโรงพยาบาล เพราะการจ่ายเงินจะจ่ายไปที่พันธมิตร จ่ายเงินตรง กับวัตถุประสงค์ หรือเรื่องของสินเชื่อมอเตอร์ไซค์ คือจะตรงเข้าไปยังพันธมิตร โดยธนาคารจะไม่ให้สินเชื่อเป็นรายบุคคล ไม่ใช่ทำสินเชื่อในลักษณะเช่าซื้อ ของธนาคารจะเป็นการติดต่อกับหน่วยงาน ส่งเป็นล็อตไป ดังนั้นมองว่าเป้าหมายของธนาคารปล่อยสินเชื่อบุคคล 1,500 ล้านบาท จะแยกเป็น 50% ทำร่วมกับพันธมิตร แต่อีกส่วนที่เหลือเราจะนำผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ทั่วไปกระจายให้กับลูกค้า ทั่วประเทศทั้งหมดโดยผ่านเครือข่ายสาขาของธนาคาร

กสิกรไทยเพิ่มลูกเล่น "Capped Rate"

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายสินเชื่อผู้บริโภค ธนาคารกสิกรไทย จำกัดกล่าวว่า ในปี 2547 อุปทานด้านที่อยู่อาศัยจะมีมาก ขึ้น ผู้ประกอบการระดับกลางเข้ามาแข่งขันเพิ่มขึ้น จากที่ผ่านมามีผู้ประกอบการด้านนี้ประมาณ 40 ราย ซึ่งทำให้การแข่งขันด้านดอกเบี้ยไม่รุนแรงเหมือนกับที่ผ่านมา อีกทั้งทิศทางอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นในไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 เป็นปัจจัยทำให้ธนาคารพาณิชย์ปรับดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยขึ้น

รูปแบบการคิดอัตราดอกเบี้ยที่อยู่อาศัยของ ธนาคารยังเน้น 2 รูปแบบคือ 1.คิดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ และ 2.อัตราดอกเบี้ยแบบกึ่งลอยตัว และคาดว่าในปี 2547 การกำหนดอัตราดอกเบี้ยคง ที่ที่ใช้อยู่ อาจต้องปรับขึ้นอีกเล็กน้อย นอกจากนี้ธนาคารได้หาช่องทางช่วยให้ผู้กู้ลดความเสี่ยงของ ตัวเอง โดยนำรูปแบบการคิดแบบ "Capped Rate" มาใช้ โดยให้ผู้กู้จะต้องซื้อเงื่อนไขเพื่อประกันอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงสุด ซึ่งจะนำมาใช้ได้ก่อนกลางปี 2547 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการคำนวณต้นทุนในการดำเนินการ เพราะธนาคารจะต้องหาแหล่งเงินทุนที่ปล่อยกู้ให้ได้เท่ากับระยะเวลาที่ธนาคารควรจะประกันดอกเบี้ยให้ผู้กู้

สำหรับสินเชื่อบุคคลนั้น ธนาคารจะให้ความ สำคัญกับการขยายสินเชื่อวงเงินเบิกเกินบัญชี แบบ ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือ K-Bank Privillage โดยมีการตั้งเป้าขยายสินเชื่อในปี 2547 เพิ่มประมาณ 1,500 ล้านบาท จากในปี 2546 ปล่อยสินเชื่อ ดังกล่าวประมาณ 1,200 ล้านบาท

"ตลาดสินเชื่อบุคคลโดยรวมในปี 2546 เติบ โตประมาณ 20-30% ซึ่งคาดว่าในปี 2547 นี้ อัตรา การเติบโตจะอยู่ในระดับเดียวกัน เนื่องจากยังมีการ แข่งขันในการให้บริการอยู่ ทั้งจากธนาคารพาณิชย์ และ NON-BANK โดยกลยุทธ์หลักที่ธนาคารจะนำมาใช้คือ เรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าผู้ประกอบการรายอื่น". นายชาติชายกล่าว

ไทยพาณิชย์ประกาศนั่งแท่นผู้นำรายย่อย

คุณหญิงชฏา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัดกล่าวว่า ธนาคารมีนโยบายที่จะมุ่งไปสู่การเป็นยูนิเวอร์แซล แบงกิ้ง และจะมีการแบ่งกลุ่มธุรกิจ 3 กลุ่มคือ กลุ่ม ลูกค้ารายย่อย(Retail Banking) กลุ่มลูกค้าเชิงพาณิชย์(Commercial Banking)กลุ่มวาณิชธนกิจ (Investment Banking) โดยกลุ่มของลูกค้าราย ย่อยยังคงเป็นกลุ่มลูกค้าที่ใหญ่ที่สุดในธนาคาร โดย ในระยะ 3 ปีข้างหน้าธนาคารจะเพิ่มกลุ่มลูกค้าราย ย่อยเป็น 40% จากปัจจุบันที่มีลูกค้ารายย่อยประมาณ 26% เนื่องจากมองว่าลูกค้ากลุ่มธุรกิจราย ย่อยจะเป็นกลุ่มที่มีความมั่นคงมากที่สุด

ธนาคารมีการตั้งเป้าหมายสินเชื่อในปีหน้าขยายตัว 4% หรือคิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 20,000 ล้านบาท และยังคงเข้าไปเน้นสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งธนาคารถือว่าเป็นผู้นำทางด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัย ทั้งด้านการให้บริการ อัตราดอกเบี้ย โดย โครงการพิเศษต่างๆที่ธนาคารทำขึ้นสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด และในปีนี้ตั้งเป้าที่จะขยายกลุ่มลูกค้ารายย่อยเพิ่มประมาณ 20% โดยเป็นการขยายตัวทางด้านสินเชื่อประมาณ 4% โดยเฉพาะธุรกิจลูกค้าบุคคลที่มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 27% ของระบบ ซึ่งถือว่าอยู่ในอันดับ 1 อยู่แล้ว และมีแผนว่าในอนาคตจะต้องขยาย ส่วนแบ่งทางการตลาดของบุคคลประมาณ 40% จากปัจจุบันธนาคารมีฐานลูกค้าประมาณ 6,000,000-7,000,000 คน ธนาคารต้องการที่ จะเน้นออกผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสินเชื่อเคหะที่ปัจจุบันได้เป็นผู้นำทางด้านมาร์เกตแชร์อยู่แล้ว ดังนั้นมั่นใจว่าในปีนี้จะสามารถรักษาแชมป์ไว้ได้อีก

จากเป้าหมายและแผนการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของแต่ละแบงก์ เห็นได้ว่า การยกเลิกมาตรการด้านภาษีของรัฐบาลไม่ได้ส่งผลกระทบกับสินเชื่อที่อยู่อาศัยเลย กลับมองถึงช่องทางที่เพิ่มธุรกิจอีกด้วย ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อเกี่ยวกับบ้านราคาแพง 10 ล้านบาทขึ้นไป อนุญาตให้แบงก์พาณิชย์ปล่อยกู้เพียง 70% เท่านั้น เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการเก็งกำไรจนเป็นเหตุของฟองสบู่แตก ซึ่งทุกแบงก์ก็ออกมาโต้ทันทีว่า แบงก์มีความระมัดระวังอยู่แล้ว รวมทั้งบ้านราคาแพงส่วน ใหญ่จะปล่อยกู้อยู่ในกรอบ 70% อยู่แล้ว ถือว่าปีวอกจะเป็นปีทองอีกหนึ่งปีสำหรับตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us