Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 ธันวาคม 2546
สศค.คาดจีดีพีปีหน้าขยายตัว8.3%แนะเพิมศักยภาพการแข่งขันรับค่าบาท             
 


   
search resources

กระทรวงการคลัง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
มูดี้ส์ อินเวส-เตอร์ เซอร์วิส
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการคลัง
ศิโรตน์ สวัสดิพาณิชย์
คณิต แสงสุพรรณ
Economics




สศค. คาดการณ์จีดีพี ปี 2547 พุ่งถึง 8.3% เมื่อรวมการเบิกจ่ายงบกลางปีอีก 1.35 แสนล้านบาท ขณะที่ปีนี้ยังคงประมาณการเดิม 6.4% ด้านฐานะการคลังปีหน้า รัฐบาลจะมีดุลเงินสดขาดดุลรวม 158,160 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.5% ของจีดีพี ด้านผู้อำนวยการสวค. "คณิต แสงสุพรรณ" แนะผู้ประกอบ การเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน รองรับค่าเงินบาทที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก

นายศิโรตน์ สวัสดิพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)ในฐานะโฆษกประจำกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ผลผลิตมวล รวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปีนี้ยังอยู่ที่ 6.4% ตามประมาณการเดิม ส่วน ในปี 2547 จีดีพีตามกรณีฐานยังอยู่ที่ 7.5% ซึ่งยังไม่รวมกับงบประมาณกลาง ปีเพิ่มเติม 1.35 แสนล้าน โดยหากรวมกับงบดังกล่าวจะทำให้จีดีพีปรับเพิ่มอีก 0.8% และเมื่อรวมกับการเบิก จ่ายมาใช้อย่างเต็มที่ จะส่งผลให้จีดีพี อยู่ที่ 8.3% ได้

ส่วนภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน พฤศจิกายนที่ผ่านมา ยังคงขยายตัวได้ดีตามการขยายตัวของอุปสงค์ภาย ในและภายนอกประเทศ การบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ การลง ทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องจักรขยายตัวในอัตราเร่ง ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐยังคงทรงตัว นอกจากนั้น เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งภายในและภายนอกประเทศมีความ มั่นคงอยู่ในเกณฑ์ดี และฐานะการคลังอยู่ในกรอบของความยั่งยืนทาง การคลัง

"ภาวะเศรษฐกิจในปี 2546 ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง และในปี 2547 คาดว่า จะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อไป ซึ่งปัจจัยสนับสนุนคือ ด้านการบริโภค ภาคเอกชน และการส่งออก เนื่องจาก มีการขยายตลาดใหม่ ๆ มากขึ้น" นาย ศิโรตน์ กล่าว

ทั้งนี้เครื่องชี้วัดการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวสูง โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศในเดือนพฤศจิกายน ขยายตัวสูง 20.9% ต่อปี ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยว กับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 108.3 จุด ซึ่งสูงกว่า ระดับ 100 จุด ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกทั้งจากการ ส่งออกที่ดีขึ้น และการปรับเพิ่มอันดับ ความน่าเชื่อถือจากบริษัท มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส

ด้านเครื่องชี้ภาวะการลงทุนภาค เอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งการลงทุนใน ภาคก่อสร้างและการลงทุนในเครื่อง จักร โดยภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น 45.8% ต่อปี ส่วนการลงทุนในสินค้าทุนขยาย ตัวในอัตราเร่งติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น 14.2% ต่อปี

สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐยังคงทรงตัว โดยรายจ่ายจากงบประมาณหักรายจ่ายชำระหนี้เดือนพฤศจิกายน หดตัวเล็กน้อยที่ 0.2% ต่อปี โดยรายจ่ายประจำหดตัว 5.5% ต่อปี ขณะที่รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นถึง 15.3% ต่อปี

ขณะที่การค้าระหว่างประเทศขยายตัว ในเกณฑ์สูงในเดือนพฤศจิกายน มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 7.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 16.4% ต่อปี ขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 6.6 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 13% ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 615 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ด้านการผลิตในภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น สอดคล้องอุปสงค์ภายในประเทศและภายนอกประเทศที่ เพิ่มขึ้น โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนตุลาคมขยายตัวร้อยละ 12.7 ต่อปี อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องที่ 69.1% ในเดือนตุลาคม เทียบกับ 65.8% ในเดือนกันยายน

สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง โดยอัตราเงินเฟ้อเดือน พฤศจิกายนอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลงเล็กน้อยเฉลี่ยอยู่ที่ 39.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนพฤศจิกายน เทียบกับเฉลี่ย 39.73 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในเดือน ตุลาคม ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ตุลาคมเกินดุลทั้งสิ้น 580 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทุนสำรองทางการอยู่ที่ 41.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน

ส่วนฐานะทางการคลังของรัฐบาลมีความมั่นคงและอยู่ในกรอบของความยั่งยืนทางการคลัง ในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546-พฤศจิกายน 2546) ราย ได้รวมของรัฐบาลสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณในอัตราค่อนข้างสูง ส่งผลให้รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังจำนวน 150,770 ล้านบาท สูง กว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 16.2% ในส่วนของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณมี การเบิกจ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 169,498 ล้าน บาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว 2.3% ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 18,728 ล้านบาท และเมื่อ รวมกับดุลนอกงบประมาณที่ขาดดุล 38,634 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 57,362 ล้านบาท

ด้านหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้น เดือนกันยายน 2546 เท่ากับ 2,918.1 พันล้านบาทคิดเป็น 49.72% ของจีดีพี เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 22.7 พันล้านบาท หรือ 0.39% ของ จีดีพี ทั้งนี้ หนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณคิดเป็น 27.42% ของจีดีพี

อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ฐานะการคลังปีงบประมาณ 2547 ในระบบกระแสเงินสดตลอดปีงบประมาณ 2547 คาดว่า รัฐบาลจะมีดุลเงิน สดขาดดุลรวม 158,160 ล้านบาท หรือ คิดเป็น 2.5% ของจีดีพี โดยคาดว่าจะ มีรายได้ 1,063,645 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบประมาณ 1,196,730 ล้านบาท (รวมงบประมาณกลางปี 135,500 ล้านบาท) ทำให้ดุลงบประมาณขาดดุล 133,085 ล้านบาท ส่วนดุลนอกงบประมาณคาดว่า จะขาดดุล ประมาณ 25,075 ล้านบาท จากการไถ่ ถอนหุ้น

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน กันยายน 2546 เท่ากับ 2,918.1 พันล้านบาทคิดเป็น 49.72% ของจีดีพี เพิ่ม ขึ้นจากเดือนสิงหาคม 22.7 พันล้านบาทหรือ 0.39% ของจีดีพี โดยแยกเป็น หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,639.6 พันล้าน บาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบัน การเงิน 851.0 พันล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 427.3 พันล้านบาท ทั้งนี้ หนี้ที่เป็นภาระต่องบ ประมาณคิดเป็น 27.42% ของจีดีพี

ด้านนายคณิต แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) กล่าวถึงภาวะค่าเงินบาท ในปี2547 ว่า คาดว่าน่าจะมีการแข็งค่า ขึ้นเล็กน้อย ซึ่งจะเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้เชื่อว่าจะไม่ ส่งผลกระทบภาคการส่งออกมากขึ้น หากมีการปรับค่าเงินแข็งขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค แต่หากประเทศไทยมีค่าเงินแข็งขึ้นเพียงประเทศเดียวก็จะส่งผลกระทบทั้งในภาคการส่งออกและนำเข้า

"สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเรื่องค่าเงินบาทแข็งขึ้นคือ การเร่งการพัฒนาในขีด ความสามารถในการแข่งขันให้มีเพิ่มมากขึ้น ยิ่งค่าบาทแข็งค่าขึ้นมากเท่าไร เราก็ต้องพัฒนาขีดความสามารถตามไปด้วย เพื่อรองรับผลกระทบที่จะตามมา" นายคณิต กล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us