Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 ธันวาคม 2546
หนี้เน่าแตะ7.5แสนล้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.
Investment




แบงก์ชาติเผย หนี้เน่าภาคอุตสาหกรรมนำโด่งถึง 221,965 ล้านบาท ต่อด้วยธุรกิจค้าส่งค้าปลีก ที่ตามติดๆ ตัวเลข หนี้เน่าทั้งระบบที่ยังสูงถึงกว่า 7.5 แสนล้านบาท หรือกว่า 15% ของ พอร์ตสินเชื่อรวมแบงก์พาณิชย์ ยังลดไม่ได้ดั่งใจ เหตุลดช้ากว่ากำหนด "อุ๋ย" ตั้งเป้าปีหน้าหั่นหนี้เน่าแสนล้านบาท

แหล่งข่าวธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) สถาบันการเงินในระบบสิ้นไตรมาส 3 แยกตามประเภทธุรกิจ พบว่า ธุรกิจที่เอ็นพีแอลมากที่สุด คือภาคอุตสาหกรรมการผลิต เอ็นพีแอลถึง 221,965 ล้านบาท หรือ 17.54% ต่อสินเชื่อรวมของภาคอุตสาหกรรม เทียบไตรมาสก่อนหน้านี้ เอ็นพีแอล 226,055 ล้านบาท หรือ 17.89% ต่อสินเชื่อรวม

รองลงมา คือ ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก เอ็นพีแอล 130,674 ล้านบาท หรือ 19.33% ต่อสินเชื่อรวม เทียบไตรมาส 2 ปีนี้ เอ็นพีแอล 139,936 ล้านบาท หรือ 20.72% ต่อสินเชื่อรวม อันดับ 3 คือ ภาคธุรกิจการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล เอ็นพีแอล 120,939 ล้านบาท หรือ 15.82% ต่อสินเชื่อรวม เมื่อเทียบไตรมาส 2 ที่มีเอ็นพีแอล 123,083 ล้านบาท คิดเป็น 15.93% ต่อสินเชื่อรวม


นอกจากนี้ ประเภทธุรกิจที่เอ็นพีแอลสูง คือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดย ณ สิ้นไตรมาส 3 เอ็นพีแอล 67,758 ล้านบาท หรือ 24.11% ต่อสิน เชื่อรวม เมื่อเทียบไตรมาส 2 เอ็นพีแอล 72,495 ล้านบาท หรือ 25.91% ต่อสินเชื่อรวม นอกจากนี้ เป็นภาคธุรกิจบริการ เอ็นพีแอล 62,262 ล้านบาท หรือ 18.11% ต่อสินเชื่อรวม เทียบไตรมาส 2 เอ็นพีแอล 62,035 ล้านบาท หรือ 18.87% ต่อสินเชื่อรวม

หนี้เน่ารวม 7.5 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ยังมีภาคธุรกิจอื่นๆ อีกที่ต้อง เร่งแก้ไขเอ็นพีแอล ได้แก่ ภาคธุรกิจนำสินค้าเข้า ส่งออก การเกษตร ประมง และป่าไม้ เหมืองแร่ และย่อยหิน ก่อสร้าง การเงินและการธนาคาร สาธารณูปโภค เช่าซื้อ ซึ่งเมื่อรวมเอ็นพีแอลภาค ธุรกิจต่างๆ ทั้งระบบสถาบันการเงิน สิ้นไตรมาส 3 เอ็นพีแอลทั้งสิ้น 750,297 ล้านบาท หรือ 15.13% ต่อสินเชื่อรวม

สาเหตุที่ทำให้เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นทั้งระบบ ณ สิ้นไตรมาส 3 เป็นเอ็นพีแอลรายใหม่ 25,896 ล้าน บาท เทียบ ไตรมาส 2 เอ็นพีแอลรายใหม่ 29,072 ล้านบาท เป็นเอ็นพีแอลที่เคยปรับปรุงโครงสร้าง หนี้ 42,710 ล้านบาท เทียบไตรมาส 2 ที่มีเอ็นพีแอล 64,263 ล้านบาท เป็นเอ็นพีแอลอื่นๆ 2,366 ล้านบาท เทียบไตรมาส 2 ที่มี 3,383 ล้านบาท

หากคำนวณเอ็นพีแอลทั้งระบบไตรมาส 3 ทั้งสิ้น 70,972 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบไตรมาส ก่อนหน้านี้เพียง 25,746 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลขเอ็นพีแอลทั้งระบบลดลง แต่ ธปท.ยังถือว่าลดค่อนข้างล่าช้า เนื่องจากก่อนหน้านี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท.ตั้งเป้าว่า ต้องลดเอ็นพีแอลทั้งระบบสถาบันการเงินภายในสิ้นปีนี้ ให้ต่ำกว่า 10% ของสินเชื่อรวม โดยเมื่อวันที่ 26 พ.ย. ธปท. เรียกประชุมผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ เพื่อหาทาง ลดเอ็นพีแอลให้มากที่สุดปี 2547 ซึ่งตั้งเป้าว่า เอ็นพีแอลต้องลดต่ำกว่า 3% ของสินเชื่อรวม เป็นเงิน 100,000 ล้านบาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us