Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 ธันวาคม 2546
"ไทยธนาคาร"รุกธุรกิจเฉพาะตั้งเป้าปีหน้าปล่อยกู้เพิ่ม11%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยธนาคาร

   
search resources

ธนาคารไทยธนาคาร, บมจ.
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย - IFCT
พีรศิลป์ ศุภผลศิริ
ปัญญา จรรยารุ่งโรจน์
Banking




ไทยธนาคารไม่รอผลการควบรวมกิจการกับ "ไอเอฟซีที" เดินหน้าทำแผนธุรกิจประกาศความเป็นผู้นำด้านตลาดเงินตลาดทุน เน้นทำธุรกิจเฉพาะด้านตามความถนัด ตั้งเป้าเพิ่มรายได้ค่าฟีมากกว่า 50% และสินเชื่อโต 10-11% ด้านแผนควบรวมเสนอขอหนี้สินที่รับจ้างบริหารจากกองทุนฟื้นฟูเข้าเป็นหนี้ดีแบงก์และกลับเข้ามาเป็นรายได้ แทนที่จะส่งคืนแบงก์ชาติ

นายพีรศิลป์ ศุภผลศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยธนาคาร เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานในปี 2547 ว่า ธนาคารตั้งเป้าขยายสินเชื่อในปีหน้าประมาณ 10-11% เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ที่คาดว่าการปล่อยสินเชื่อจะขยายตัวประมาณ 7% โดยธนาคารตั้งเป้ากระจายสินเชื่อในทุกกลุ่มธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้ธนาคารมีพอร์ตสินเชื่อประเภทอสังหาริมทรัพย์ประมาณ 13%

สำหรับการปล่อยสินเชื่อของธนาคารในปี 2546 ธนาคารแบ่งออก เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก ในส่วนของธนาคาร มียอดรวมประมาณ 117,000 ล้านบาท เป็นส่วนที่มีรายได้สุทธิที่เป็นกำไร

และอีกส่วนหนึ่งจะเป็นส่วนที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จ้างให้ธนาคาร บริหาร ที่จะมีอยู่ประมาณ 160,000 ล้านบาท เป็นการว่าจ้างตั้งแต่เริ่มควบรวมสถาบันการเงิน 56 แห่งของธนาคาร ซึ่งจะหมดสัญญาภายใน 2 ปี

ส่วนประเด็นที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีนโยบายให้มีการควบรวมธนาคารพาณิชย์ไทยให้เหลือเพียง 4 แห่งนั้น นายพีรศิลป์ กล่าวว่า การควบรวมเป็นแนวโน้มของตลาดโลก ที่ต้องการจะแยกออก เป็นกลุ่มอย่างชัดเจน หากจะดำเนินธุรกิจอย่างครบวงจรควรที่จะมีฐานที่ใหญ่ ฐานะมั่นคง เครือข่ายทั่วถึง ขณะนี้เท่าที่เห็นก็มีเพียง 4 แห่ง ขณะที่กลุ่มที่ไม่สามารถดำเนินธุรกิจครบวงจรได้ก็ควรที่จะหันมาทำธุรกิจที่ชำนาญเฉพาะด้าน เช่นธนาคารมีความชำนาญทางด้านอินเวสต์เมนต์ แบงกิ้ง หรือด้านบริหารความเสี่ยงบริหารเงิน ก็ทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ถนัด

BT เสนอแผนควบรวมกิจการขอโอนหนี้ที่รับบริหารเข้าแบงก์

ด้านแหล่งข่าวจากธนาคารไทยธนาคาร กล่าวว่า ธนาคารจะเดินหน้าวางแผนดำเนินธุรกิจในปีหน้าโดยไม่จำเป็นที่จะต้องรอการควบรวมกับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ไอเอฟซีที) โดยรายละเอียดจะขึ้นอยู่กับผู้ถือหุ้น โดยในส่วนของธนาคารได้ทำแผนควบรวมกิจการส่งไปยังผู้ถือหุ้นและคณะกรรมการได้พิจารณาแล้ว ซึ่งทางการได้เห็นด้วยในหลัก การ โดยธนาคารต้องการที่จะให้โอนหนี้สินในส่วนที่ธนาคารได้รับจ้างบริหารจากกองทุนฟื้นฟู 160,000 ล้านบาท เมื่อมีการปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จกลับเป็นหนี้ที่ดีขอให้โอนเข้ามาเป็นส่วนของธนาคาร

"หากสามารถดำเนินการได้ตามที่ธนาคารเสนอ เชื่อว่าธนาคารจะมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากเดิมที่ธนาคารรับจ้างบริหารจะได้เฉลี่ยประมาณ 1% แต่เมื่อโอนเป็นของธนาคารแล้วจะได้ผลตอบแทนประมาณ 5-6% ถือว่าส่วนดังกล่าวสามารถสร้างกำไรได้อย่างมหาศาล โดยหลังจากการควบรวมกิจการแล้วนั้น ธนาคารวางเป้าหมายที่จะดำเนินธุรกิจเฉพาะด้าน ซึ่งมีความถนัดทางด้านการเป็นที่ปรึกษารุกธุรกิจบริหารเงิน และค้าผลิตภัณฑ์ทางการเงิน"

นายปัญญา จรรยารุ่งโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มการ ดำเนินธุรกิจในปี 2547 จะเน้นด้านการบริหารเงิน และการค้าผลิตภัณฑ์การเงิน โดยตลาดตราสาร อนุพันธ์และตลาดตราสารการเงินในประเทศไทย มีโอกาสเติบโตสูงมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจโลก

ซึ่งเป็นแบบระบบเปิด (Open System) ตลาดการเงินโลกมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลาและมีผลเชื่อมโยงมาถึงภาคธุรกิจไทย เครื่องมือการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดเงินจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับรองรับต่อความผันผวนดังกล่าว

เพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดและแข่งขันในตลาด โลกได้

ประกอบกับการที่ภาวะเศรษฐกิจไทยอยู่ ในช่วงขาขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นดาวรุ่งของเอเชียอีก ประเทศหนึ่ง รวมถึงการใช้กลไกตลาดในการบริหารนโยบายค่าเงินและอัตราดอกเบี้ย ปัจจัยเหล่านี้ทำให้องค์กรภาคธุรกิจไทย ทั้งธุรกิจขนาด ใหญ่ และขนาดกลาง-ขนาดย่อมที่กำลังเติบโต

มีแนวโน้มความต้องการด้านเครื่องมือสำหรับบริหารความเสี่ยงสูงขึ้น ธนาคารมั่นใจว่า สามารถให้บริการแก่ลูกค้าที่ต้องการป้องกันความ เสี่ยงด้านตลาดเงิน โดยธนาคารได้ทำการพัฒนา ออกแบบผลิตภัณฑ์และเครื่องมือทางการเงินใหม่ๆ เพื่อการบริหารความเสี่ยงด้านการตลาด ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าแต่ละรายมาอย่างต่อเนื่อง

"ธนาคารมั่นใจว่าจะสามารถเป็นผู้นำด้านตลาดเงินและตลาดทุน ด้วยทีมงานที่มีประสบ การณ์และเป็นมืออาชีพกลุ่มลูกค้าที่ธนาคารจะสนับสนุนลูกค้าขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากกลุ่มเป้าหมายหลักที่เป็น กลุ่มบริษัทเอกชนใหญ่ เพื่อตอบสนองต่อนโยบายของภาครัฐที่ต้องการส่งเสริมธุรกิจเอสเอ็มอี รวมทั้งเร่งพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์การ เงินใหม่ๆ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าทั้ง FX Option และตราสารอนุพันธ์ที่เชื่อมโยงกับตัวแปรในตลาด ไม่ว่าจะเป็น Index-Linked Note และ Credit-Linked Note"

พร้อมกันนี้ ธนาคารยังมีแผนงานที่จะรุกธุรกิจด้านการบริหารเงิน ตลอดจนตราสารการเงิน ตราสารอนุพันธ์ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย ซึ่งเป็นการต่อยอดและเพิ่มอัตรา ผลตอบแทนให้สูงขึ้น โดยได้ตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถเพิ่มรายได้จากธุรกิจดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 50% และจะเพิ่มสัดส่วนจำนวนลูกค้าไม่ต่ำกว่า 20%

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us