Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 ธันวาคม 2546
กรุงไทยอ้าแขนรับควบแบงก์             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย
โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์
โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ
โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย
โฮมเพจ บริษัทเงินทุนธนชาติ

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
ธนาคารกรุงไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
ธนชาต, บล.
กระทรวงการคลัง
วิโรจน์ นวลแข
วิชิต สุรพงษ์ชัย
สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
ธงชัย เจริญสิทธิ์
รัชนก ด่านดำรงรักษ์
Banking




"สุชาติ" เผย "แบงก์กรุงไทย-กรุงเทพ" ลอยตัวในการควบรวมกิจการภายใต้นิยาม "ธนาคารขนาดใหญ่" เหตุสินทรัพย์ เกินล้านล้านบาท ขณะที่ "วิโรจน์" ใจป้ำประกาศกรุงไทยมีศักยภาพถึงเป็นแกนนำ บิ๊กไทยพาณิชย์ย้ำแม้ประเทศไทยจะเหลือ 1-3 แบงก์ แต่ไทยพาณิชย์ต้องอยู่ ส่วนกสิกรไทยบอก "เราอยู่ได้"

ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยผ่านรายการสภาท่าพระอาทิตย์ เอฟเอ็ม 97.5 เมกะเฮิรตซ์ วานนี้ (23 ธ.ค.) ว่า การควบรวมธนาคารพาณิชย์ตามแผนแม่บททางการเงิน (Financial Master Plan) อาจจะให้เหลือไม่เกิน 5 แห่ง เพื่อให้เป็นธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ สามารถแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ โดยในส่วนของ เอกชนจะให้มีการควบรวมกันด้วยความสมัครใจ

"ขณะนี้ มีธนาคารพาณิชย์รวม ทั้งสิ้น 13 แห่ง แต่ไม่ได้หมายความ ว่ารายเล็กๆ จะเข้าขั้นล้มละลาย เพียงการเป็นแบงก์ขนาดกลาง-เล็ก คือมีเงินทุนระหว่าง 4-5 แสนล้านบาท จึงไม่สามารถต่อสู้ด้วยตนเอง ขณะที่แบงก์ใหญ่ จะต้องมีเงินทุนมากกว่าล้านล้านบาท ปัจจุบันมี อยู่เพียง 2 แห่ง คือแบงก์กรุงเทพ และกรุงไทย" ร.อ.สุชาติ กล่าว

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะนำแผนแม่บททาง การเงิน เสนอให้ คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาในวันอังคารหน้า (30 ธ.ค.) ก่อนที่จะประกาศใช้ต่อไป และคาดว่าจะใช้เวลาในการควบรวมกิจการของธนาคารพาณิชย์ให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 ปี

กรุงไทยพร้อมเป็นแกน

นายวิโรจน์ นวลแข กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีแนวทาง ควบรวมธนาคารพาณิชย์ให้เหลือ 3-4 แห่งว่า กระแส การควบรวมกิจการของธนาคารพาณิชย์ ส่วนตัวมองมาแล้ว 2 ปี โดยน่าจะมีธนาคารพาณิชย์จำนวน 4 แห่ง หรือเลวร้ายที่สุดควรมีแค่ 5 แห่ง ซึ่งเพียงพอต่อการให้บริการกับประชาชน โดยธนาคารพาณิชย์ที่มีอยู่ปัจจุบันมีจำนวนที่มากเกินไป

สำหรับการควบรวมต้องพิจารณาจากส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ ขนาดของสินทรัพย์ ส่วนความชัดเจนจะมีการควบรวมกี่แห่ง ต้องรอแผนแม่บททางการเงิน ที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุมของคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 ธ.ค.นี้ และหลังจากนั้นเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมี การเรียกธนาคารพาณิชย์เข้าไปหารือ

"ธนาคารกรุงไทยมีขนาดทรัพย์สิน 1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 20% ของระบบ ถือว่ามีขนาดทรัพย์สินเป็นอันดับ 2 รองจากแบงก์กรุงเทพ ดังนั้นธนาคารกรุงไทยจึงมีความพร้อมที่จะเป็นแกนนำในการควบรวมมากกว่าที่จะถูกควบรวม สำหรับธนาคารแห่งไหนควบรวมกับธนาคารแห่งใด ธปท.จะเป็นผู้รู้ดีที่สุด เพราะเป็นผู้ควบคุมสถาบันการเงิน แต่วันนี้กรุงไทยพร้อมเป็นแกนในการ ควบรวมกิจการอยู่แล้ว" นายวิโรจน์กล่าวถึงความพร้อม

ณ สิ้นวันที่ 31 ตุลาคม ธนาคารมีสินทรัพย์รวม 1.124 ล้านล้านบาท และช่วง 9 เดือน มีกำไรสุทธิ 6,000 ล้านบาท

นายวิโรจน์กล่าวว่า การควบรวมกิจการ ทางการต้องมีนโยบายที่ชัดเจน เพื่อให้การควบรวมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และไม่ควรให้ธนาคารจับคู่กันเอง เพราะทำให้สะเปะสะปะ และเกิดขึ้นได้ยาก สำหรับการควบรวมขึ้นอยู่กับราคาหุ้นของ 2 สถาบัน และการเปิดเผยข้อมูล สำหรับธนาคารกรุงไทยนั้นถือว่าเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่ จึงเหมาะสำหรับการเป็นแกนนำในการควบรวม และหากไม่ต้องควบรวมกับธนาคารแห่งใด ธนาคารกรุงไทยสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว แต่หากพิจารณาด้านกลยุทธ์ ถ้าธนาคารกรุงไทยไปควบรวมกับธนาคารแห่งอื่น ก็เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าหลังจากการควบรวมความเสรีของธุรกิจธนาคารพาณิชย์จะหมดไป เพราะการทำธุรกิจต่อไปต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ ทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง

นายวิโรจน์ กล่าวอีกว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ธนาคารกรุงไทยมีอัตราการเติบโตอย่างมาก โดยใน ปี 2545 มีอัตราการขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้น 24% และ ปี 2546 ขยายสินเชื่อ 16-17% ขณะที่ระบบธนาคาร พาณิชย์ขยายสินเชื่อ 1-2% หรือเรียกได้ว่าธนาคารกรุงไทยเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อเพื่อหล่อเลี้ยงระบบ แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งนี้หลังจาก การควบรวมกิจการธนาคารพาณิชย์จะมีความ เข้มแข็งมากขึ้น และสามารถยืนได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องนำเงินภาษีของประชาชนมาอุ้มสถาบันการเงิน เหมือนกับช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ

ไทยพาณิชย์หมดห่วง

นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการ บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวถึงกรณีดังกล่าวถือว่าเป็นไปตามกระแสของทั่วโลกซึ่งจะเร็วหรือ ช้านั้นต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะธุรกิจธนาคารนั้นขนาดถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ที่จะทำให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจลดลง ซึ่งในส่วนของธนาคารไทยพาณิชย์นั้นไม่ขัดข้องกับกระแสการควบรวมกิจการ แต่ระยะเวลานั้นต้องรอดูอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับขนาดของธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบันถือว่าใหญ่อยู่แล้ว แต่หากมีขนาดที่ใหญ่กว่านี้ก็จะเป็นการดี ซึ่งประสิทธิภาพต้นทุนของธนาคารในปัจจุบันก็ถือว่าไม่แพ้ใคร ซึ่งหากควบรวมธนาคารก็จะใหญ่ขึ้น ต้นทุนการดำเนินธุรกิจลดลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และสิ่งที่ธนาคารให้ความสำคัญในการควบรวมคือ การทำงานร่วมกันได้และเสริมกันได้ ซึ่งสุดท้ายแล้ว ก็เพื่อให้ธนาคารมีความแข็งแกร่ง มีการบริหารความ เสี่ยงที่ทันสมัยและดีพอ

"เราไม่ขัดข้องกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในการควบรวม เพราะไม่ว่าจะเหลือธนาคารในประเทศไทยกี่ราย แต่ไทยพาณิชย์ก็ยังคงอยู่ในนั้น ซึ่งเชื่อว่าในอีก 5 ปี การควบรวมของระบบธนาคารพาณิชย์จะเห็น ภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ตอนนี้เรายังไม่มีใครอยู่ในใจ แต่ถ้าเราจะเลือกใครก็ต้องดูว่ามีสิ่งที่มาเสริมกับ เราได้หรือไม่" นายวิชิต กล่าวถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น

กสิกรไทยบอก "เราอยู่ได้"

นายธงชัย เจริญสิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า สำหรับธนาคารกสิกรไทย เรื่องควบรวมไม่จำเป็น "เราอยู่ได้"

นายธงชัยกล่าวว่า แนวทางการควบรวมธนาคารพาณิชย์มีมาแล้วในต่างประเทศ ส่วนในไทย แล้วหากควบรวมแล้วดีก็น่าจะดำเนินการ แต่ทุกอย่างต้องใช้เวลาเพราะมีองค์ประกอบการหลายอย่าง ต้องพิจารณา ไม่ว่าเรื่องของนโยบายที่สอดคล้องกันมากหรือน้อยแค่ไหน การประเมินสินทรัพย์ ซึ่งต้องใช้เวลาและควบรวมแล้ว จะมีการแยกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ออกไปทันทีหรือไม่ และที่สำคัญคือเรื่องของพนักงาน

"สิ่งสำคัญที่สุดของการดำเนินธุรกิจแบงก์ การลงทุนเรื่องเทคโนโลยีมีผลสำคัญต่อการแข่งขัน ซึ่งแบงก์ใหญ่ๆ มีความสามารถที่จะลงทุนได้มาก ขณะที่แบงก์ขนาดเล็กแล้วการลงทุนเรื่องเทคโนโลยี ไม่คุ้ม และการรวมธนาคารในภาวะที่เศรษฐกิจดี ก็โอเค" นายธงชัยกล่าว

นางสาวรัชนก ด่านดำรงรักษ์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ธนชาติ กล่าวว่า การรองรับการเปิดเสรีทางการเงินในอนาคตและเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน จะทำให้ "ขนาด" เป็นสิ่งสำคัญซึ่งจะนำไปสู่การประหยัดต่อขนาด (Economy of scale)

ส่วนความเคลื่อนไหวราคาหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ วานนี้ (23 ธ.ค.) ดัชนีหุ้นกลุ่มแบงก์ปรับตัวลดลงตั้งแต่ช่วงเช้า หลังจากได้รับทราบนโยบายการควบรวมกิจการธนาคาร หากพิจารณาหุ้นเป็นรายตัว ปรากฏว่าหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ปรับตัวลดลงเกือบทั้งกระดาน มีเพียงธนาคารกรุงไทย ( KTB) เพียงตัวเดียว ที่ราคา หุ้นยืนอยู่เหนือราคาปิดวันก่อน และปิดการซื้อ ขายที่ 10.04 บาท เพิ่มขึ้น 1.96% ขณะที่หุ้นธนาคาร พาณิชย์ที่ปรับตัวลดลงมากสุด 3 อันดับแรกคือ ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ (DTDB) ปิดที่ 5.15 บาท ลดลง 2.83% ธนาคารทหารไทย (TMB) 5.55 บาท ลดลง 2.63% และธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) 46.50 บาท ลดลง 2.62%

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us