Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2547
Shell (2) : ในความเป็นจริงของโลก             
โดย ธีรัส บุญ-หลง
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด

   
search resources

เชลล์แห่งประเทศไทย, บจก.
Energy




ในช่วงยุค 60s และ 70s เชลล์ เป็นความใฝ่ฝันของชาวดัตช์ทุกคน รวมถึงวิศวกรต่างชาติอีกเป็นแสน ในขณะนั้นเชลล์มีโครงการที่จะดูแลพนักงานอย่างดีที่สุด ตั้งแต่วันที่เข้ามาจนถึงวันตาย สวัสดิการนั้นดีแค่ไหนหรือครับ ดีถึงขนาดที่ว่าเกษียณไปแล้วก็จะได้เงินเดือนครึ่งหนึ่งของที่เคยได้เมื่อปีสุดท้ายก่อนเกษียณไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเสียชีวิตไป (คล้ายๆ กับนโยบายบริษัทเดียวชั่วชีวิตของญี่ปุ่นล่ะครับ) ในขณะนั้นเชลล์ก็มีนโยบายให้ทุกคนมีโอกาสได้ไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งก็หมายความว่ามีคนที่จะได้เป็น expat กันเยอะพอสมควร
อะไรคือ expat?

expat นั้นย่อมาจาก expatriate ครับ แปลว่า มาทำงานนอกประเทศที่เคยอยู่นั้นแหละครับ อย่างพวกฝรั่ง ญี่ปุ่นที่มาอยู่บ้านเรา (ที่ทำงานกับบริษัทอินเตอร์นะครับ) ก็เรียกได้ว่าเป็น expat คือถูกส่งมาประจำที่ต่างประเทศ การที่มาจากบ้านเมืองที่ห่างไกลไม่รู้หนทาง บริษัทต้นสังกัดก็จะมีความรู้สึกว่าต้องเอาใจช่วยเหลือตามประสานายจ้างที่ดี จึงมีสวัสดิการต่างๆ และพนักงานมากมาย เช่น

1. เงินเดือนที่จะได้ที่ประเทศที่ไม่ใช่บ้านเกิดก็จะได้เป็นปอนด์หรือไม่ก็ US dollar อย่างกรณีเชลล์นี่ ถึงขนาดจ่ายภาษีให้ด้วยอีกต่างหาก อย่างนี้พวก expat ก็สบายสิครับ ค่าเงินค่ากินอยู่ต่างกันลิบลับขนาดนั้น

2. บ้านพักฟรี บ้านที่จะได้อยู่ก็จะเป็นบ้านระดับ เกรด B+ ถึง A ซึ่งบริษัทออกให้อีกต่างหากครับ เผลอๆ แถมรถให้ด้วย (ประจำตำแหน่งนะครับ ไม่ใช่ให้ฟรีๆ)

3. ค่าโบนัสถ้ามีครอบครัวครับ ไม่ค่อยมีพนักงาน คนไหนอยากอยู่ห่างไกลครอบครัว ทางบริษัทจึงอนุญาต ให้นำครอบครัวมาอยู่ด้วยพร้อมเงินโบนัสเลี้ยงดู ซึ่งรวมไปถึงค่าโรงเรียนนานาชาติให้ลูกทุกคนด้วย ในบางกรณีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเชลล์ ถึงกับจ่ายค่าโรงเรียนประจำให้ในอังกฤษ พร้อมทั้งตั๋วเครื่องบินไปกลับสามครั้งต่อปีกับเหล่าลูกๆ ของพนักงาน ในกรณีที่พนักงาน คิดว่าโรงเรียนนานาชาติในประเทศนั้นๆ ไม่เหมาะกับลูกของตน

ในเมืองไทย เราก็มีเหล่า expat เดินไปเดินมาอยู่เสมอ โดยเฉพาะแหล่งสุขุมวิทที่มีคนฝรั่งและคนญี่ปุ่นอยู่กันค่อนข้างเยอะ เท่าที่สืบมายังไม่มี expat คนไหนที่ผมรู้จักที่จะไม่มีความสุขในเมืองไทยเลยครับ โดยเฉพาะคุณแม่บ้านชาวญี่ปุ่นนั้นคิดว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองสวรรค์ที่ซื้อของได้ถูก อาหารอร่อย มีคนจัดบ้านให้ แถมลูกได้เรียนโรงเรียนดีๆ อีก เป็นสิ่งที่พวกเขาคงจะหาได้ยากในประเทศของเขาเอง

กลับมาเข้าเรื่องกันดีกว่า นอกจากเชลล์จะเป็นบริษัทที่ให้โอกาสคนไปเป็น expat เยอะแล้ว รวมถึงสวัสดิการที่ล้ำเลิศ ทางเชลล์ยังเทรนคนของเขาอย่างเยี่ยมยอด ในสมัยยุค 60s กับ 70s เชลล์รับคนมาแทบทุกชนิด ทั้งมีปริญญาและไม่มี พร้อมด้วยนโยบายที่ว่าเราฝึกฝนกันได้ (คนที่มีปริญญาก็จะได้ตำแหน่งที่สูงกว่าครับ แต่สมัยนี้ถ้าไม่มีปริญญาก็หมดสิทธิ์แล้ว)

วิชาการฝึกสอนของเชลล์มากมายมาก จนบางทีเด็กเข้าทำงานใหม่ ไม่ต้องเข้าทำงานเลยใน 6 เดือนแรก ได้แต่เทรนวิชาที่อยากจะเทรนอย่างเดียวเพื่อไปเป็น specialist

เท่าที่ฟังมาเชลล์นั้น too good to be true นะครับ แต่เหตุการณ์เหล่านี้มันก็เกิดขึ้นแล้วในความเป็นจริงของโลก ไม่มีอะไรที่ยืนยงและมั่นคง นโยบายสุดหรูนี่ก็เช่นกัน ทุกๆ วันนี้การแข่งขันนั้นมากขึ้น คนมากขึ้น ทรัพยากรน้อยลง ค่าเงินผันผวน แน่นอนว่าทางบริษัทต้องทำอะไรสักอย่างให้มีผลกำไรตอบแทนกับผู้ถือหุ้นมากที่สุด ซึ่งเป็นจุดหมายหลักของบริษัท นั่นก็คือการนำนโยบายใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเชลล์ EP Europe 2003

ก่อนจะพูดถึงเชลล์ EP Europe 2003 ผมขอพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของเชลล์ก่อน ก่อนหน้านี้เชลล์ก็มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างตามยุคสมัยแล้วแต่ผู้นำขององค์กรในแต่ละยุค ซึ่งแต่ละยุคก็มีนโยบายที่แตกต่างกัน

จากการที่ได้สัมผัสและได้สัมภาษณ์ผู้นำที่กำลังจะก้าวไประดับบริหารหลายคนของเชลล์ก็ทำให้ ได้พบว่าพวกเขามีความคิดที่ว่า ถ้าได้อยู่ใน Board of Director แล้ว พวกเขาจะต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างรากหญ้าในบริษัท ซึ่งถ้าดูจากประวัติของเชลล์และทัศนคติของพนักงานอาวุโสทั้งหลาย ก็จะได้ทราบว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างรากหญ้านั้นเป็นได้ทั้งผลดีและผลเสีย

ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงอย่างรากหญ้าคือกรณี win 90 ซึ่งเกิดในช่วงปลาย 80 ช่วงนั้นเป็นการเปลี่ยนจากการเป็น Specialist Company ที่สามารถทำทุกอย่างเองได้อย่างที่ไม่ต้องพึ่งใครมาเป็น General Management Company ซึ่งใช้ผู้รับเหมามาทำหน้าที่แทน หลักการนี้ขึ้นอยู่กับความคิดที่ว่าผู้รับเหมาต้องรู้มากกว่า วิธีนี้บริษัทเชลล์จะต้องไม่ปวดหัวและจ้างคนน้อยลง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและได้ผลประโยชน์สูงสุด การตัดสินใจครั้งนั้นเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ต่างคนต่างความคิด แต่คนที่ไม่สนุกแน่คือคนที่โดนตัดสัญญาว่าจ้าง แต่ธุรกิจย่อมเป็นธุรกิจซึ่งย่อมพัฒนาต่อไป ต้อง re-engineering เพื่อ up to date วัฒนธรรมองค์กรก็เปลี่ยนไปด้วยในครั้งนี้ สายวิชาการ เป็น Specialist ตัน ทุกคนอยากจะเปลี่ยนการเติบโตเป็นระดับผู้บริหารที่ต้องเปลี่ยนหน้าที่บ่อย เป็น Generalist มากขึ้น สิ่งนี้ทำให้ผมนึกถึงองค์กรใหญ่อีกแห่งอย่าง IBM ขึ้นมาได้ว่ามีรุ่นพี่ที่ทำงานอยู่บอกว่า IBM ไม่ได้ย่อ มาจาก International Business Machine หรอก แต่จริงๆ แล้ว คือ I've been moved เพราะว่าถ้าไม่move ก็ไม่โตในองค์กร ก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมองค์กรในช่วงนั้นของ IBM

ในสมัยปัจจุบัน คอมพิวเตอร์มีบทบาทมากขึ้น ในชีวิตประจำวัน บ่อน้ำมันมีน้อยลงขุดมาได้ยากขึ้นในทะเลเหนือแทบจะทำกำไรไม่ได้ ในขณะที่รัสเซียกลายเป็นแหล่งใหม่ของการขุดเจาะ รวมถึงการคาดหวังของบริษัทน้ำมันต่างๆ ว่าจะได้เข้าไปในอิรักหรืออิหร่าน ด้วยเหตุการณ์เช่นนี้ การประหยัดเงินจึงเป็นความมุ่งหวัง อย่างสูงสุดขององค์กร วิธีหนึ่งที่จะประหยัดเงินคือการ share resources ถ้ามีคนทำงานนี้อยู่แล้ว ทำไมต้องจ้างอีกคนหนึ่งในประเทศใกล้ๆ กันมาทำงานอย่างเดียวกันด้วยเล่า minimize input to get maximum output คือที่มาของเชลล์ EP Europe 2003 เมื่อเชลล์ในยุโรปรวมเป็นหนึ่ง ตำแหน่งต่างๆ น้อยลง ซึ่งก็หมาย ความว่ามีคนต้องออกจากงานมากพอสมควร

คาดกันว่ากระแสเหล่านี้จะทวีความรุนแรงขึ้นในเชลล์ ที่อื่นๆ และบริษัทน้อยใหญ่ในยุคนี้ที่ต้องแข่งขันกันอย่างสูง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us