Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2547
จาก Google ถึง Googling             
โดย รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
 


   
search resources

Google.com




Google.com ทะยานขึ้นมาเป็น Search Engine ยอดนิยมภายในชั่วเวลาครึ่งทศวรรษ ในแต่ละวันผู้คนในมนุษยพิภพนับร้อยล้านคนใช้บริการของ Google.com ท่องไปใน Cyberspace อาณาจักรของ Google.com เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยก้าวล่วงออกจากธุรกิจ Search Engin และก้าวล้ำเข้าสู่ Software Industry โดยที่อาจก้าวเข้าสู่ธุรกิจสื่อสารมวลชนด้วย Microsoft จับตามองการเติบโตของ Google ด้วยอาการเกรงขาม เพราะ google กำลังถีบตัวขึ้นมาเป็นคู่แข่งของ Microsoft

บิลล์ ธอมป์สัน (Bill Thompson) ผู้สื่อข่าวสายเทคโนโลยีของ BBC ตั้งคำถามเมื่อต้นปี 2546 ว่า Google มีอำนาจมากเกินไปหรือ ไม่ในบทความเรื่อง "Is Google Too Powerful?" (BBC News, February 21, 2003) บิลล์ ธอมป์สัน เสนอให้จัดตั้งหน่วยงานชื่อ Office of Search Engines (เรียกย่อๆ ว่า Ofsearch) ทำหน้าที่ควบคุม กำกับ และตรวจสอบธุรกิจ Search Engines เพราะธุรกิจประเภทนี้กำลังมีอิทธิพลในตลาด และสามารถชี้เป็นชี้ตายธุรกิจ อื่นๆ

Google.com มีอำนาจล้นฟ้าในธุรกิจ Search Engines อย่างปราศจากข้อกังขา จนถึงขั้นที่องค์กรประชาชนระหว่างประเทศจำนวนหนึ่งกำลังจับตามองทุกย่างก้าวของ Google

เมื่อมีผู้ใช้บริการ Google.com Google ดำเนินการติดตั้ง Tracking Cookie ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่ผู้ใช้บริการไม่ทันรู้ตัว นอกจาก Google จะล่วงรู้ IP Address วันเวลาที่ใช้บริการ และคำไข (Key Words) ที่ค้นแล้ว Google ยังสามารถติดตามพฤติกรรมการใช้บริการ Search Engines ของลูกค้าเป็นเวลายาวนาน โดยที่ Tracking Cookie จะสิ้นอายุการใช้งานในปี ค.ศ.2038 หรืออีก 34 ปี ข้างหน้า ตลอดช่วงเวลาดังกล่าวนี้ Google เก็บสะสมข้อมูลของผู้ใช้บริการตลอดเวลา ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่า Google เก็บบันทึก ข้อมูลเหล่านี้เพื่อเหตุผลอันใดฤา Google บันทึกข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกแก่รัฐบาลในการทำหน้าที่ Big Brother (ตามนวนิยายเรื่อง 1984 ของ George Orwell) สอดส่องตรวจสอบและกำกับพฤติกรรมของ ราษฎร ข้อที่ประจักษ์ชัดก็คือ ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจ eCommerce

Google พัฒนา Indexing Technology เพราะการพัฒนาระบบดรรชนีสำหรับการค้นคำไข เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าไปสู่ Websites ที่ต้องการในเวลาอันรวดเร็ว นับเป็นหัวใจของธุรกิจ Search Engines หาก Google ไม่ชอบหน้าสถาบัน องค์กร และธุรกิจใด Google เพียงแต่ตัดชื่อหน่วยงานเหล่านี้ออกจากระบบดรรชนี จำนวนผู้ใช้บริการของหน่วยงานเหล่านี้ย่อมลดลงอย่างน่าใจหาย

Google ไม่เพียงแต่มีอำนาจล้นฟ้าในธุรกิจ Search Engines เท่านั้น หากยังแผ่อิทธิพลทางวัฒนธรรมอีกด้วย

Google เป็นวิสามัญนาม เป็นชื่อบริษัท และเป็น Global Brand การแผ่อิทธิพลของ Google ทำให้วิสามัญลักษณ์ของ Google ลดน้อยถอยลง Google เริ่มกลายเป็นสามัญนาม กลายเป็นคำกริยา และกลายเป็นคำคุณศัพท์

Anne will 'google' a new boy-friend. ในประโยคนี้ google เป็นคำกริยา ทั้งประโยคแปลว่า แอนค้นหาเพื่อนชายคนใหม่โดยใช้บริการ Search Engines ผู้คนพากันกล่าวขวัญถึง googling และ being googled

บัดนี้ google กลายเป็นศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เสียแล้ว

กระบวนการแปรวิสามัญนาม (Proper Noun) เป็นสามัญนาม (Common Noun) มิใช่ปรากฏการณ์ใหม่ เมื่อหลายร้อยปีก่อน Sandwich ก็เปลี่ยนแปลงสถานะดังกล่าวนี้

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่จำนวนมาก ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มียี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้า ในระยะแรกเริ่ม ผลิตภัณฑ์อันเป็นผลผลิตของเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้มักไร้คู่แข่ง ทั้งนี้อาจเป็นผลจากการจดทะเบียนสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญา ผู้บริโภคใช้ยี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้าแทนชื่อผลิตภัณฑ์ ในเวลาไม่ช้าไม่นานต่อมา ยี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้านั้นกลายเป็นสามัญนาม

Xerox นับเป็นอุทาหรณ์อันดีของความข้างต้นนี้ Xerox เป็นผู้บุกเบิกในการผลิตเครื่องถ่ายเอกสาร ในเวลาต่อมา Xerox ซึ่งเป็นยี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้า ค่อยๆ แปรเปลี่ยนจากวิสามัญนามเป็นสามัญนาม โดยที่มีการใช้ Xerox เป็นคำกริยาด้วย แม้ในบัดนี้จะมีผู้ผลิตเครื่องถ่ายเอกสารหลายต่อหลายบริษัท แต่ผู้คนยังคงเรียกเครื่องถ่ายเอกสารหรือการถ่ายเอกสารว่า Xerox

Hoover มีสถานะไม่แตกต่างจาก Xerox และเผชิญชะตากรรมเดียวกัน Hoover เป็นผู้บุกเบิกในการผลิตเครื่องดูดฝุ่น แม้ในบัดนี้ชาวแองโกลแซกซันยังใช้คำว่า hoovering ในความหมาย vacuuming

เจ้าของผลิตภัณฑ์อันเป็นผลผลิตของเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้มีความพอใจหรือไม่เพียงใด ที่ยี่ห้อหรือเครื่องหมายการ ค้าของตนแปรเปลี่ยนสามัญนาม?

Google แสดงความไม่พอใจอย่างชัดเจน เมื่อ World Spy อันเป็น Lexico-graphy Website บรรจุคำว่า google ใน Online Lexicon ผู้บริหาร World Spy ได้รับจดหมายประท้วงจาก Google โดยกดดันให้เปลี่ยนแปลงคำนิยามให้สื่อความหมายว่า google เป็นเครื่องหมายการค้า

ผู้จัดทำพจนานุกรมฉบับต่างๆ มีหน้าที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงภาษาในด้านต่างๆ รวมทั้งบรรจุคำที่เกิดขึ้นใหม่ ศัพท์ใหม่จำนวนมากแปรเปลี่ยนจากวิสามัญ นามที่เป็นยี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้า ในขณะที่บริษัทธุรกิจไม่ต้องการให้ยี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้าของตนแปรเป็นสามัญนาม เพราะการแปรเปลี่ยนเป็นสามัญนามมีผลในการลดทอนมูลค่าตลาดของยี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้านั้น

บรรษัทยักษ์ใหญ่บางบรรษัทว่าจ้างทนายให้ทำหน้าที่ปกป้องยี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้าของตน หากมีสื่อมวลชนใดใช้ยี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้าเป็นสามัญนามหรือคำกริยาก็ดี หรือมีพจนานุกรมฉบับใดบรรจุศัพท์ที่เป็นยี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้าก็ดี ทีมทนายความจะดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อมิให้มีการใช้ศัพท์เหล่านั้นในความหมายที่มิใช่ยี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้า นอกเหนือจาก Google แล้ว Xerox, Kleenex, Portakabin และ Rollerblade รวมอยู่ในกลุ่มนี้ ความพยายามในการธำรงยี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้ามิให้แปรเปลี่ยนเป็นสามัญนาม ทำให้ทนายที่มีความชำนัญในการดำเนินคดีเครื่องหมายการค้า (Trademark Lawyers) รับงานเพิ่มอีกอักโข นักอักษรศาสตร์จำนวน ไม่น้อย เริ่มตั้งข้อกังขาว่า ทนายเหล่านี้กำลังทำหน้าที่ตำรวจพิทักษ์ภาษา ท้ายที่สุด ศาลสถิตยุติธรรมจะกลายเป็นองค์กรที่ให้ 'คำตอบสุดท้าย' ว่า ศัพท์คำใดจะบรรจุในพจนานุกรมได้ และศัพท์ใดบรรจุมิได้ แทนที่จะปล่อยให้นักพจนานุกรมทำหน้าที่อย่างเต็มที่และทำงานอย่างมืออาชีพ

McDonald มีเหตุขัดข้องใจ แตกต่างจาก Google เมื่อ Merriam-Webster's Collegiate Dictionary อันเป็นพจนานุกรมภาษาอังกฤษที่มีชื่อเสียง บรรจุศัพท์ใหม่ McJob โดยนิยามว่าเป็นงานหนักค่าตอบแทนต่ำ

McJob หมายถึง งานที่ทำกับ McDonald ศัพท์นี้ปรากฏครั้งแรกในนวนิยายเรื่อง Generation X ของดักลาส คูปแลนด์ (Douglas Coupland) ซึ่งปรากฏสู่บรรณพิภพในปี 2534

McDonald มีสาขาทั่วโลกประมาณ 30,000 แห่ง และมีลูกจ้างประมาณ 500,000 คน การบรรจุ McJob ในพจนานุกรมด้วยความหมาย เชิงลบสร้างความไม่พอใจแก่ McDonald เป็นธรรมดา

ไม่ว่าบรรษัทยักษ์ใหญ่จะชอบหรือไม่ก็ตาม กระบวนการแปรยี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้าเป็นสามัญนามจะยังคงปรากฏต่อไป

หมายเหตุ โปรดอ่าน

1. Bill Thompson, "Is Google Too Powerful?" BBC News (February 21, 2003)

2. Jonathan Duffy, "Google Calls in the Language Policy", BBC News (June 20, 2003)

3. "McDonald's Anger over McJob Entry", BBC News (November 9, 2003)

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us