บัตรเครดิตในช่วงปีที่ผ่านมาเติบโตมาก
ทั้งในฐานะวิธีชำระเงิน (payment) และสินเชื่อ (loan)
เป็นวิธีชำระเงินที่สะดวก ปลอดภัยกว่าการชำระด้วยเงินสด สามารถใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่าในอดีต
ซึ่งส่วนใหญ่มักใช้เพื่อซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยหรือสินค้าที่มีราคาแพง
ส่วนในแง่ของสินเชื่อ บัตรเครดิตถือว่าเป็นสินเชื่อที่มีความคล่องตัว ซึ่งสาเหตุหนึ่งของการเติบโต
เป็นเพราะการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศจากภาครัฐทดแทนการส่งออก ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิก
จากการแข่งขันที่มีมากขึ้น ทำให้ธุรกิจบัตรเครดิตมีการเปลี่ยนแปลงมากในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา
ซึ่งเป้าหมายหลัก คือ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ถือบัตร
มีการทำการตลาดที่แบ่งแยกชัดเจนมากขึ้น (market segmentation) ซึ่งอาจแบ่งตาม
lifestyle การจับจ่าย ซึ่งในที่สุดแล้วผลประโยชน์จะตกอยู่กับทั้งผู้ถือบัตรและผู้ออกบัตร ยกตัวอย่างเช่น lifestyle card ของ KTC ซึ่ง KTC สามารถเลือกว่าจะส่งเพียงเอกสารส่งเสริมการขายที่ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
แทนที่จะส่งไปให้ทุกกลุ่ม ซึ่งสามารถนำเงินส่วนที่ประหยัดได้นั้น ไปคืนให้กับผู้ถือบัตรในรูปของสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น
รูปแบบบัตรที่แตกต่างไปจากเดิม ทั้ง KTC Visa Mini Card ที่มีขนาดเล็กกว่าบัตรเครดิตทั่วไป
โดยมีขนาดเพียง 43% ของบัตรเดิม หรือบัตรรูปโค้งมน Kurve จาก K-Bank Mastercard
ซึ่งทั้งสองบัตรถือเป็นลูกเล่นที่สร้างความแปลกใหม่ให้กับธุรกิจ
โปรแกรมสะสมคะแนนจากการใช้บัตร ด้วยตัวเลือกที่มีมาก ตั้งแต่การแลกเครื่องใช้ไฟฟ้า
บัตรรับประทานอาหารห้องพักโรงแรมหรู ตั๋วเครื่องบิน ในที่สุดก็เป็นการคืนเงินสดในบัญชีบัตรเครดิต
(Cash Back) เช่นบัตรทองของ Standard Chartered Nakhonthon ซึ่ง Cash Back
เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมในสหรัฐฯ และคาดว่าจะเป็นแนวโน้มที่สำคัญในอนาคต
การแชร์ข้อมูลเครดิตระหว่างผู้ออกบัตรผ่าน Credit Bureau จะมีความสำคัญมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อช่วยในเรื่องการอนุมัติสินเชื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ลดการสูญเสียจากหนี้เสีย และยังทำให้การอนุมัติเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ในหลายประเทศ เช่น ฮ่องกง หรือเกาหลีใต้ ปัญหาหนี้เสียจากบัตรเครดิตเกิดจากการแชร์ข้อมูลในระดับต่ำ
ทำให้ผู้ออกบัตรไม่สามารถรับรู้สถานะทางการเงินของผู้ถือบัตรได้ดีพอ
ส่วน Mobile-Payment หรือ M-Payment ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการมือถือ
(Mobile Operator) และผู้ออกบัตร เพื่อให้ผู้ถือบัตรสามารถชำระค่าสินค้าหรือบริการผ่านมือถือ
ถือเป็นการเพิ่มช่องทางการใช้ประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย
โดยในแรกเริ่มยังมีปัญหาเรื่องความกังวลในเรื่องความปลอดภัย จึงเริ่มที่สินค้าหรือบริการที่มีราคาไม่สูงมากนัก
เช่น ค่าบริการมือถือ ค่าสาธารณูปโภค ซึ่งบริการเหล่านี้กำลังได้รับความนิยมในแถบเอเชียแปซิฟิก โดย 42% ของผู้ใช้มือถือ ทำการชำระเงินผ่าน M-Payment (ข้อมูลจาก
Visa International)
ปัจจุบันอุปกรณ์และเครือข่ายพัฒนาไปมาก แต่ติดที่ว่าราคายังสูงมาก M-Payment
ในไทยจึงต้องรออีกสักระยะ