Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2547
Annemarie Durbin : CEO คนใหม่ของ SCNB             
โดย สุธี ชยะสุนทร
 


   
search resources

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน
Vishnu Mohan
Annemarie Durbin




การที่ใครคนหนึ่งจะขึ้นเป็น CEO ของธนาคารที่มีเครือข่ายทั่วโลกอย่าง Standard Chartered ได้นั้น คงต้องมีหลายสิ่งหลายอย่างเป็นองค์ประกอบ

ด้วยบุคลิกเรียบง่ายและกระฉับกระเฉงแบบสตรีนักบริหาร แอนมารี เดอร์บิน CEO คนใหม่ของธนาคาร Standard Chartered Nakhonthon (SCNB) ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ถือเป็น CEO หญิงที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในสายการเงินการธนาคาร จากความสามารถอันหลากหลายที่มีอยู่ในตัวเธอ

แอนมารีมีพื้นเพเป็นชาวนิวซีแลนด์ เรียนจบปริญญาตรี Bachelor of Commerce-Accoutancy, Finance, Economics & Management (1st Class) และ Bachelor of Law (Upper Second) จาก University of Auckland และเคยเป็นนักกีฬาฟุตบอลหญิงให้ทีมชาตินิวซีแลนด์เป็นเวลาถึง 10 ปี

แอนมารีเริ่มชีวิตการทำงานกับสำนักงานทนายความแห่งหนึ่งใน Auckland ก่อนที่จะเบนเข็มมาทำงาน ด้านการเงินการธนาคารกับ Australia & New Zealand Banking Group ในปี 1987 ถึง 1990 ในฐานะผู้จัดการอาวุโสด้านบุคคลธนกิจ (Consumer Finance)

หลังจากนั้น แอนมารีได้ย้ายไปอยู่ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ และเข้าทำงานที่ BPP Holdings Plc ที่ซึ่งเธอได้พบกับสามีของเธอ โดยหน้าที่หลักของแอนมารี ในขณะนั้นคือดูแลฝ่ายกฎหมาย และเป็นผู้ฝึกอบรมวิชากฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การเงิน และหลักทรัพย์

แอนมารีเริ่มงานธนาคารกับ Standard Chartered ในปี 1995 โดยมีหน้าที่ดูแลด้าน Institutional banking ทั้งในสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ยุโรปและแอฟริกา ก่อนที่เธอจะไปประจำที่ฟิลิปปินส์ ในฐานะ CEO และควบดูแลด้านบุคคลธนกิจ ในช่วงปี 2000 จนถึงปลายปี 2002 ก่อนที่จะย้ายมากรุงเทพฯ เพื่อดูแลด้านบุคคลธนกิจ ในฐานะรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ให้กับ SCNB เมื่อมกราคม 2003 และได้รับการแต่งตั้งให้เป็น CEO ต่อจาก Wisanu Mohan (วิษณุ โมฮัน) ในที่สุด ถึงแม้ว่า SCNB จะสามารถทำกำไรในไตรมาส 3 ของปีนี้ ได้เพิ่มขึ้นถึง 24% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันเมื่อปีก่อน แต่ภารกิจหลักของแอนมารี นอกจากการขยาย ธุรกิจของ SCNB แล้ว ยังอยู่ที่การนำ SCNB ไปสู่ความเป็น "best bank" ซึ่ง best ตามความหมายของแอนมารีและ SCNB ไม่ได้หมายถึง biggest

"best bank มีความหมายแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละฝ่าย สำหรับลูกค้า best bank คือการเป็นผู้ให้บริการด้านการเงินที่ดีที่สุด สำหรับผู้ถือหุ้นคือการให้ผลตอบแทนการลงทุนที่ดีที่สุด สำหรับพนักงาน คือการเป็นที่ทำงานที่ดีที่สุด และสำหรับสังคมคือการเป็นพลเมือง ที่ดีมีความรับผิดชอบต่อสังคม" แอนมารีบอกกับ "ผู้จัดการ" โดย SCNB ต้องการเติบโตเป็นธนาคาร ผู้เชี่ยวชาญด้าน consumer finance ทั้งที่เป็นบุคคลและธุรกิจขนาดย่อม เพราะมองว่าเป็นตลาดใหญ่ คิดเป็นสัดส่วนกว่า 95% ของธุรกิจในประเทศ

ด้วยพนักงานของ SCNB ที่มีเพียง 1,800 คน ลักษณะเฉพาะของ SCNB ที่แตกต่างจากองค์กรอื่น คือ การมองพนักงานแต่ละคนเป็นปัจเจกบุคคล (Individual) คือไม่ได้มองว่าทุกคนมีลักษณะเหมือนๆ กัน โดยพยายามจะเรียนรู้ข้อดีของแต่ละคน และพัฒนาศักยภาพในด้านนั้น มากกว่าที่จะสนใจข้อเสียและพยายามแก้ไขข้อเสียนั้นๆ นับเป็นการมองในแง่บวกเพื่อการพัฒนาและเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้กับพนักงาน

โดยในขณะนี้ SCNB ได้เริ่มให้พนักงานแต่ละคนทำแบบทดสอบ ที่เรียกว่า Gallop Organization เพื่อวิเคราะห์ว่า พนักงานแต่ละคนนั้นมีคุณสมบัติที่โดดเด่นในด้านใดบ้าง เช่น เข้ากับผู้อื่นได้ดี เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ดี ฯลฯ ก่อนที่จะมอบหมายให้ทำงานที่เหมาะสมกับความสามารถในด้านนั้นๆ

นอกจากนี้ แนวทางการบริหารที่ SCNB ยึดถือ คือการกระจายอำนาจการตัดสินใจให้กับหน่วยงานนั้นๆ (Empower) เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างคล่องตัว มีประสิทธิภาพ เน้นการเพิ่มคุณค่า (Add value) และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) ซึ่งเป็นแนวทางบริหารที่ธุรกิจบริการทั่วไปพึงมี และเป็นแนวทางบริหารที่ Standard Chartered Group ใช้กันอยู่ทั่วโลก

ด้วยบุคลิกสตรีนักบริหาร แอนมารีบอกว่า เธอเป็นคนประเภท "tough but caring" โดยเธอจะมุ่งมั่นกับงาน เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมาย (Result oriented) แต่ในขณะเดียวกัน เธอก็ใส่ใจกับพนักงานที่ทำงานร่วมกับเธอ

เธอจะใส่ใจกับเรื่องที่หลายคนมองว่าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น การส่ง email เพื่ออวยพรวันเกิดให้กับพนักงานทุกคนด้วยตนเอง หรือขณะที่เธอประจำอยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ทุกสัปดาห์เธอจะคิดคติประจำสัปดาห์ เพื่อเตือนใจพนักงานที่เธอดูแล เธอบอกว่า "คนเราไม่ควรสนใจเรื่องทำงานหาเงินเพียงอย่างเดียว เราควรจะดูแลจิตวิญญาณของเราด้วย" นอกจากนี้ เธอจะพยายามทำความรู้จักกับพนักงาน เพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่เธอทำอยู่นั้น ได้สร้างความแตกต่างที่ดีให้เกิดขึ้นกับพนักงานเหล่านั้น

แอนมารีมีความเป็น individualistic อยู่มาก เธอเข้าใจว่าแต่ละคนมีพื้นฐาน และความสามารถที่แตกต่างกัน ทุกวันนี้เธอไม่ได้ให้ความสำคัญกับการก้าวขึ้นเป็น CEO หญิง เธอมองว่าเธอเป็นเพียงบุคคลๆ หนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้เราตั้งข้อสงสัยว่า อาจเป็นเพราะว่า เธอมาจากนิวซีแลนด์ สังคมที่ถือว่ามีความเป็น individualistic อยู่ในระดับสูง

แอนมารีชอบที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยเฉพาะพนักงานระดับล่างหรือพนักงานระดับปฏิบัติการ โดยเธอเชื่อว่าความคิดดีๆ ส่วนใหญ่จะมาจากบุคคล ที่ได้คลุกคลีกับงานนั้นๆ หรือผู้ที่มีโอกาสได้พบกับลูกค้า การรับฟังความคิดเห็นโดยตรง จะทำให้เธอได้รับรู้เรื่องราวได้ดี แอนมารีกล่าวติดตลกว่า บางครั้งที่ประชุมจะพูดในสิ่งที่คิดว่าเธออยากจะฟัง ไม่ได้พูดในสิ่งที่ควรปรับปรุง แก้ไข ซึ่งเธอก็เข้าใจว่าสถานการณ์แบบนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วไป และในบางครั้งที่เธอเข้าประชุม เธอจะนั่งปะปนกับผู้อื่น แทนที่จะนั่งหัวโต๊ะ เธอบอกว่าเป็นการทำให้บรรยากาศในห้องประชุมดูเป็นกันเองมากขึ้น และเป็นการช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ดียิ่งขึ้น

ในวันที่แอนมารีได้พา "ผู้จัดการ" ไปที่บ้านพักประจำตำแหน่ง บนถนนนราธิวาชราชนครินทร์นั้น เป็นวันที่เธอได้เชิญพนักงาน SCNB จำนวน 12 คนจากหลายๆ ระดับ ไปร่วมทานอาหารกลางวันที่บ้าน เพื่อเป็นการทำความรู้จักซึ่งกันและกัน และยังถือเป็นรางวัลที่เธอมอบให้กับพนักงาน โดยเธอตั้งใจว่า เธอจะทำแบบนี้เดือนละหนึ่งครั้ง หมุนเวียนสลับเปลี่ยนกันไป

ปัจจุบัน แอนมารีพักอาศัยในบ้านหลังนี้กับสามีชาวอังกฤษ และแจ็ค บุตรชายวัย 2 ปี 10 เดือน ถือว่าเป็นครอบครัวที่อบอุ่นตามแบบฉบับสังคมยุโรป ถึงแม้ว่าแอนมารีจะมีภารกิจที่ต้องรับผิดชอบอยู่มาก โดยเธอจะเริ่มทำงานตั้งแต่ 7 โมงเช้าถึงหนึ่งทุ่ม หรือบางทีก็ดึกกว่านั้น แต่ทุกครั้งเธอก็ต้องกลับมาทานอาหารเย็นร่วมกับครอบครัวเสมอ

นอกจากจะเคยเล่นฟุตบอลให้กับทีมชาตินิวซีแลนด์แล้ว เธอยังเคยเล่นฮอกกี้เมื่อตอนที่อยู่ที่อังกฤษ และยังมีความสนใจในเกมกีฬาเทนนิส ปัจจุบันแอนมารีจะออกกำลังกายที่บริเวณสวนสาธารณะใกล้บ้านทุกเช้าก่อนที่เธอจะไปทำงาน ส่วนวันหยุดสุดสัปดาห์ การออกกำลังกายก็ยังถือเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกันในครอบครัว โดยเธอและครอบครัวจะไปวิ่ง และขี่จักรยานกันที่สวนหลวง ร. 9

ข้อสังเกตอย่างหนึ่ง คือ วิถีที่แอนมารีเลือกที่จะปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความใส่ใจกับพนักงาน หรือ แนวทางการบริหาร จะดูกลมกลืนกันกับวัฒนธรรมที่ Standard Chartered ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นอย่างมาก เธอบอกว่าส่วนใหญ่จะเป็นปรัชญาของธนาคาร แต่โชคดีที่แนวคิดของเธอสอดคล้องกับสิ่งเหล่านั้น และนั่นก็ทำให้เธอมีความสุขกับการทำงานให้กับที่นี่

ถือว่า แอนมารีมีพร้อมทุกอย่างที่จำเป็นในการนำพา SCNB ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us