"เรื่องของคนนี่เป็นเรื่องระยะยาวมาก ไม่ใช่เรื่องระยะสั้น ดังนั้นโครงการทั้งหมดที่เราทำ
และภาพที่เรามอง มันค่อนข้างกว้างกว่าเฉพาะงานค้าปลีกด้วยซ้ำ
ในแง่ของภาพใหญ่ เราเองก็มองว่ากิจการทุกกิจการ ไม่ว่าจะเป็นกิจการอะไรก็แล้วแต่
มันมีอยู่ 2-3 ปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุดคือ หนึ่งผู้บริหารระดับสูง ไม่ว่าจะเป็นประธานบริษัทหรือกรรมการบริษัท
หรือกรรมการผู้จัดการก็แล้วแต่ จะต้องมีวิสัยทัศน์คือ vision และ strategy
ว่าเขานั้นมองแต่ละ industry ยังไงและเขามองคู่แข่งยังไง และเขามองว่าบริษัทของเขาจะไปทางไหน
ฉะนั้นพวก top management นี่จะต้องมองตรงนี้ให้ทะลุก่อนว่าเขาจะไปทางไหน
ส่วนที่เหลือนี่ผมคิดว่ามันเกือบจะเหลือแค่ 2 เรื่อง คือหลังจากที่เขามีแผนแล้วก็คือ
เรื่องเงินกับเรื่องคน คือถ้าไม่มีเงิน strategy นี้ก็ทำไม่ได้ ถ้ามี strategy
มีเงิน แต่ไม่มีคนที่เก่ง มันก็ implement ไม่ได้
เพราะฉะนั้น 3 ตัวนี้จึงเป็น 3 ตัวหลักของธุรกิจ คือไม่มีอย่างใดอย่างหนึ่ง
มันก็ไม่ไปไหน ฉะนั้นผมก็มองว่าคนนี่เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จะต้องมีการบริหารจัดการให้ถูกต้อง
เรามีการบริหารจัดการในแง่ของ strategy เรามีการบริหารจัดการในแง่ของการเงิน
แต่ผมคิดว่าในเมืองไทยนั้น องค์กรส่วนใหญ่ 80% ให้ความสำคัญน้อยมากกับการบริหาร
จัดการคน
ในที่นี้ผมหมายถึงการบริหารจัดการจริงจัง ไม่ใช่ที่เห็นๆ กันอยู่ คือมีการทำกันบ้าง
มีการพูดคุยกันเยอะ แต่การทำอย่างจริงจังนั้นมีน้อยมาก คงมีไม่กี่องค์กรที่ทำด้วยซ้ำไป
ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการดูแลที่ถูกต้อง ทั้งในหน่วยงานเอกชนและราชการก็แล้วแต่
เราก็ได้ยินมาเยอะว่า เรื่องทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่สุดก็พูดไปพูดมา
แต่ก็ไม่ค่อยเป็นรูปธรรมเท่าไร
เราก็เลยมองว่าเรื่องคนเราคงต้องดำเนินการอย่างจริงจังในการบริหาร อันนั้นเป็น
issue แรก คือเป็นประเด็นหลักที่ทำให้ทำไมเราถึงต้องมองตรงนี้ เพราะเราเห็นว่าในระยะยาว
โดยเฉพาะกิจการของเรา เราก็มองในแง่ของ long term ว่าอีกสัก 5 ปี 10 ปี 20
ปี องค์กรเรานี่จะบริหารกันอย่างไร ใครจะเป็นผู้บริหารในอนาคต และจะทำอย่างไรให้องค์กรเติบโตและมีความแข็งแรงอย่างต่อเนื่องตลอดไป
สุดท้ายมันก็อยู่ที่คน
ถ้าหากเราไม่มีคนที่ดี มีความสามารถ มีความรู้ และมีทุกอย่างครบ องค์กรมันก็ดีแค่ชั่วคราว
พออีก 5 ปี มันก็จะมี crisis เพราะว่ามันไม่ต่อเนื่อง ตรงนี้มันจึงเป็นหัวใจมากกว่า
ฉะนั้นเราจึงต้องวางรากฐานแล้วตั้งแต่วันนี้ และดูไปว่าองค์กรของเรานั้นจะเป็นอย่างไร
คือ CRC นั้น เราเป็นองค์กรค้าปลีกอันดับ 1 ของประเทศ ฉะนั้นเราเป็นผู้นำทางด้านค้าปลีก
เราจะทำอย่างไรให้องค์กรนี้เป็นอย่างนี้ตลอดไป
เพราะเราก็เห็นว่าองค์กรทั่วโลกนั้น ภายใน 10 ปี พวกที่อยู่ใน top นี่มันสามารถหายไปได้เลย พวกที่เกิดใหม่ มันก็มีขึ้นมา เยอะ จะให้อยู่ใน top ตลอด 10
ปี 20 ปี 30 ปี หรือ 50 ปีนั้นเป็นเรื่องยากพอสมควร ไม่ง่ายเลย เพราะถ้าหากเราไปดูบริษัทใหญ่ๆ
ในอเมริกา หรือทั่วโลก มีบริษัทหลายบริษัทซึ่งเกิดขึ้น และหลายบริษัทที่หายไป
อย่าง K-Marts นี่ก็เริ่มจะหายไปแล้ว Sear ก็เริ่มจะหายไป ฉะนั้นผมจึงเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ
issue ของเรา การมองของเราเป็นเรื่องของการสร้างรากฐานเพื่อระยะยาว เพราะเราไม่ได้ทำเพื่อแก้ปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
เพราะปัญหาของเราในปัจจุบัน ก็ไม่ได้มีอะไรขนาดนั้น อันนั้นก็เป็นแนวทางที่มาของเรื่องนี้ทั้งหมด ในแง่ของการบริหารบุคคล
วันก่อนเราเพิ่งประชุมกัน บอกว่างานบุคคลนี้ มันไม่เหมือนเมื่อในอดีตแล้ว
ไม่ใช่เป็นแค่งาน admin ผมยังคิดในแง่ว่าแม้กระทั่งในอดีตเรื่อง union เรื่อง
compensation ก็คุยอยู่แค่นี้ มันไม่ไปไหน มันไม่มีประโยชน์เลย
การบริหารบุคคลมันครอบคลุมทุกอย่าง เพราะว่าคนของเรานั้น เราคิดว่าคนไม่ต่างจากลูกในครอบครัว
ต้องมีการศึกษาต้องเข้าโรงเรียน มีเพื่อนฝูง มีสถาบัน สังเกตได้ว่าทุกคนหลังจากจบแล้ว
มันจะโดนตัดตอน มันเหมือนกันหมด ผมมองว่า บริษัทควรจะต่อเนื่อง เพราะการศึกษามันไม่มีการสิ้นสุด
ไม่ใช่ว่าจบตรี โท เอก ก็คือจบการศึกษามันไม่มีการสิ้นสุดแน่ มันต้องต่อเนื่องตลอดไป
ถ้าหากว่าคนเราจะเก่ง
ดังนั้น พูดง่ายๆ ว่า คนของเราทั้งหมด จะต้องได้รับการศึกษาต่อเนื่องตลอดไปในที่ทำงาน
โดยเฉพาะเรื่องสถาบัน เพราะหลังจากเราเข้าโรงเรียน เข้ามหาวิทยาลัยแล้ว
เราก็ต้องทำองค์กรให้เป็นสถาบันเอง เพราะว่าทุกคนจะรักสถาบันตัวเอง รักโรงเรียนตัวเอง
รักมหาวิทยาลัยตัวเอง คือเราจะทำอย่างไร ให้ทุกคนรักองค์กร CRC ต้องเป็นอีกหนึ่งสถาบันที่เขามีความผูกพันเหมือนกับเมื่อเขาจบ
จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ABAC แล้วเขารักสถาบันนั้น แต่เราต้องทำให้เขารักสถาบันต่อมาด้วย
คือ relationship จะเห็นว่าตั้งแต่เป็นเด็ก โตมาก็รักเพื่อนฝูง มีเพื่อน
มีกลุ่มเฮฮากัน ไม่ใช่แค่เรียนอย่างเดียว เรียนด้วย social ด้วย ที่นี่ก็เช่นเดียวกัน
ไม่ใช่ทำงานอย่างเดียว ต้องรักกันด้วย ต้องทำงานด้วย social ด้วย เป็น family
ต้องสนิทกัน
ฉะนั้นการ management นี่มันครอบหมดทุกอย่างที่เกี่ยวกับคน ทำอย่างไรให้เราเป็นแบบนั้นให้ได้
ให้มันต่อเนื่อง เพื่อให้คนของเรามีทั้งประสิทธิภาพ มีทั้งความสุขในการอยู่กับงาน
รักองค์กร รักกันเอง ให้มัน work ออกมาแบบนั้น ซึ่งเรื่องเหล่านี้ฝ่ายงานบริหารบุคคลต้องเข้าไปดู
ในรุ่นที่ 1 นั้น คนที่เข้าใจเรื่องนี้หรือให้ความสนใจน้อย และคนที่คิดอย่างจริงจังยังไม่มากพอ
อย่างส่วน HR นี่ ส่วนใหญ่ผู้บริหาร คนทำงานก็ทำงานไป HR มันเหมือนกับมาทีหลัง
อะไรก็แล้วแต่ ไม่ค่อยมีการให้ความสำคัญ และทีมคนของ HR เอง ก็ไม่ active
ส่วนใหญ่คนที่อยู่ในส่วนงานบุคคล ก็อยู่ในฝ่ายนั่นแหละ ตั้งแต่เริ่มต้นทำงานก็อยู่บุคคลตลอด
ซึ่งเราคิดว่ามันไม่ใช่ ผู้บริหารมันต้องทำได้หลายๆ ส่วน บุคคลเองก็ต้องมีหน้าที่ที่ต้องเข้าใจธุรกิจ
เข้าใจคนที่ชัดเจนมากกว่านี้เยอะ เพราะว่าธุรกิจมันคืออะไร และความสำคัญของคนในการที่จะทำให้คนทำงานได้ดี หรืออยู่องค์กรแล้ว เรื่องประสิทธิภาพเป็นอย่างไรนี่
ตรงนี้ควรจะต้องมีบทบาทได้เยอะกว่านี้ ถ้าเขาจะช่วยคิดช่วยทำขึ้นมา
อันนั้นคือในแง่ของความคิดทั้งหมดว่าในแง่ของ CRC เราต้องการสร้างตรงนี้ขึ้นมา
จะทำอย่างไร
โครงการ Mini MBA มันเป็นเพียงจุดเดียวของทั้งหมด แต่ก็เป็นจุดสำคัญจุดหนึ่ง
เพราะในแง่ของการศึกษา มันเป็นตัวจุดประกาย จุดพลุ เพราะเราก็บอกว่า เราให้นโยบายว่าอย่างผมเองเมื่อจบตรีแล้วก็ต้องเรียนโทต่อ ถ้าคุณไม่ได้เรียนโท เราก็จะจัด
Mini MBA ให้คุณ เหมือนกับคุณได้จบโท และก็จะมีต่อเนื่องไป มันไม่ได้จบแค่นั้น
และก็พูดได้ว่าเราจะทำให้ทั้งหมดไปถึงระดับ Manager เพราะว่าในองค์กรเรามี
Manager ทั้งหมด 2,000 คน โครงการนี้จะทำให้ครบ 2,000 คน พูดง่ายๆ ว่าเด็กที่จบตรีมาไม่ต้องต่อโท
อยู่กับเราก็ได้เรียนโท และหลังจาก Mimi MBA แล้ว เราก็จะมีทุนการศึกษา อาจจะมี
full MBA มีหลักสูตรเข้ามาเสริมอีกในแต่ละปีด้วย ดังนั้นพูดได้ว่าถ้าอยู่กับเรา
5 ปี 10 ปี นี่ ทุกคนจะได้เรียนครบ"
เป็นวิสัยทัศน์ที่ทศ จิราธิวัฒน์ ได้แสดงในการให้สัมภาษณ์กับ "ผู้จัดการ"
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2546