Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2547
The Great Challenge             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

The Most Challenging Person
ศุภชัย เจียรวนนท์ Change Management
"ถึงมีเงิน แต่ไม่มีคน ก็ทำอะไรไม่ได้"
"Retail ก็คือ Detail"
"จิราธิวัฒน์" ในกลุ่มค้าปลีก
ผู้บริหาร Business Units ในเครือ CRC

   
www resources

โฮมเพจ เซ็นทรัลกรุ๊ป

   
search resources

เซ็นทรัลกรุ๊ป
เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น, บจก.
เตียง จิราธิวัฒน์ - นี่เตียง แซ่เจ็ง
สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์
ทศ จิราธิวัฒน์
Retail




ปรัชญาสำคัญที่คนในตระกูล "จิราธิวัฒน์" ยึดถือมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้น คือการสร้างคนให้เข้ามาดูแลกิจการ แต่สำหรับในยุคที่ทศ จิราธิวัฒน์ ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้วยสถานการณ์แวดล้อมของธุรกิจค้าปลีกที่บีบบังคับ แนวทางการสร้างคนของเขา จึงจำเป็นต้องมีความหลากหลายและลึกซึ้งยิ่งกว่า

สำหรับทศ จิราธิวัฒน์ สถานการณ์ที่เขาต้องเผชิญ นับแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่ง CEO กลุ่มธุรกิจค้าปลีกในเครือเซ็นทรัล ถือเป็นตัวอย่างซึ่งเป็นรูปธรรมที่สุดของวลีที่ว่า "การก้าวขึ้นเป็นอันดับ 1 นั้นไม่ยาก แต่การจะครองความเป็นอันดับ 1 ไว้ตลอดไป กลับเป็นเรื่องที่ยากกว่า"

"ผมมี challenge อยู่ 2 อย่าง ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งคือ หนึ่ง-จะทำอย่างไรให้เราต้องเป็นที่ 1 ต่อไป ซึ่งผมไม่ได้มองแค่ 1-2 ปี แต่ผมมองไปถึง 20-30 ปี และสอง-ผมจะทำอย่างไร ให้คนของเรามีความสามารถ และมีความสุขในการทำงานกับเซ็นทรัล" ทศได้กล่าวในเวทีสัมมนา "Beyond Success" ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการพูดต่อหน้าสาธารณชนจำนวนมาก เป็นครั้งแรกของเขา

ทั้ง 2 challenge ที่ทศกล่าวถึงล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน จนไม่สามารถแยกออกจากกันได้

"ปัจจัยสำคัญของธุรกิจที่ผมมอง มีอยู่ 3 อย่าง คือ 1-ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ มี strategy ที่ดี 2-มีเงิน และ 3-คือคน คือถ้าไม่มีเงิน strategy นี้ก็ทำไม่ได้ ถ้ามี strategy มีเงิน แต่ไม่มีคนที่เก่ง มันก็ implement ไม่ได้" เขากล่าวกับ "ผู้จัดการ" (อ่านรายละเอียดในล้อมกรอบ "ถึงมีเงิน แต่ไม่มีคน ก็ทำอะไรไม่ได้")

ทศก้าวเข้ามารับตำแหน่ง CEO และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจค้าปลีก ภายหลังการประกาศปรับโครงสร้างใหม่ของเครือเซ็นทรัล เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2545 ด้วยวัยที่ยังไม่ถึง 40 ปี

กลุ่มค้าปลีกถือเป็นหัวใจหลักของธุรกิจในเครือเซ็นทรัล ซึ่งนอกจากจะเป็นธุรกิจแรกก่อนที่จะแตกแขนงออกไปอีกเป็น 5 สายแล้ว ปัจจุบันยังเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้ให้กับเครือเซ็นทรัลมากที่สุด และมีจำนวนพนักงานมากที่สุด

ปัจจุบันเฉพาะยอดขายในกลุ่มค้าปลีก อยู่ที่ประมาณปีละ 4 หมื่นล้านบาท

ทศเข้ารับตำแหน่งผู้นำกลุ่มค้าปลีก ในวันที่ธุรกิจของกลุ่มได้ก้าวขึ้นเป็นอันดับ 1 ของธุรกิจประเภทเดียวกันในประเทศไทย ซึ่งเป็นผลงานที่ได้ร่วมกันสร้างมา ตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นพ่อ บรรดาอาๆ รวมถึงตัวเขาก็มีส่วนอยู่ด้วย

การจะคงความเป็นอันดับ 1 ของธุรกิจที่ครอบครัวได้สร้างให้ไว้ จึงถือเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ที่เขาต้องมุ่งมั่นกระทำให้ประสบผลสำเร็จ

กลุ่มค้าปลีกของเซ็นทรัล มีพัฒนาการอย่างมีสีสัน จากจุดเริ่มต้นที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ซึ่งมีพี่น้องตระกูล "จิราธิวัฒน์" รุ่นที่ 2 ได้ร่วมกันบริหาร และสร้างสรรค์ขึ้นมา จนปัจจุบันได้แตกแขนงออกไปเป็น business units ต่างๆ ถึง 9 business units

ซึ่งการแตกธุรกิจออกเป็น business units ย่อยๆ ก็ถือเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งในเป้าหมายที่ต้องการคงความเป็นที่ 1 ในธุรกิจค้าปลีกของเซ็นทรัล เพราะเป็นการเพิ่มความคล่องตัวของการขยายเครือข่าย ไปยังจุดที่มีความต้องการซื้อสูง

ปรัชญาสำคัญอย่างหนึ่งของคนในครอบครัว "จิราธิวัฒน์" ที่เริ่มต้นปลูกฝังมาตั้งแต่ยุคของเตียง จิราธิวัฒน์ ผู้ก่อตั้ง คือการสร้างและพัฒนาคนเพื่อให้เข้ามารับผิดชอบกิจการในครอบครัว

ยุคของเตียง ซึ่งเป็นรุ่นที่ 1 เขาเน้นในการสร้างครอบครัวให้ใหญ่ เขาจึงมีลูกสาวและลูกชายถึง 26 คน เพื่อให้เข้ามาช่วยกันค้าขาย

ยุคที่ 2 ซึ่งสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ ลูกชายคนโตของเตียง และเป็นบิดาของทศ เข้ามารับช่วงดูแลกิจการ เป็นช่วงที่น้องๆ เริ่มโต และเริ่มมีหลานในรุ่นที่ 3 เขาเน้นในการให้การศึกษาแก่บรรดาน้องและหลานๆ อย่างเป็นระบบ

สัมฤทธิ์วางหลักเกณฑ์ไว้ว่าผู้หญิงในครอบครัว "จิราธิวัฒน์" ต้องเรียนระดับ มัธยมที่โรงเรียนมาร์แตร์เดอี ส่วนผู้ชายให้เรียนที่อัสสัมชัญ เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานทางด้านการค้า หลังจากนั้นให้ไปเรียนต่อต่างประเทศ และให้ทำงานนอกเครือก่อน เพื่อหาประสบการณ์ก่อนที่จะเข้ามาช่วยดูแล บริหารกิจการในครอบครัว (รายละเอียด โปรดอ่านนิตยสาร "ผู้จัดการ" ปีที่ 18 ฉบับที่ 105 เดือนตุลาคม 2543)

หากนับจำนวนคนในครอบครัว "จิราธิวัฒน์" ทั้งรุ่น 2 และ 3 ในปัจจุบัน มีไม่ต่ำกว่า 160 คน

แต่ข้อเท็จจริงที่น่าตกใจคือในกลุ่มค้าปลีก ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของเครือเซ็นทรัลกลับมีผู้บริหารซึ่งเป็นคนในครอบครัว "จิราธิวัฒน์" รวมตัวทศเองด้วยเพียง 15 คนเท่านั้น

ส่วนใน business units ที่มีการแตกแขนงออกมา มีผู้บริหารระดับสูงที่เป็นคนในตระกูล "จิราธิวัฒน์" เป็นผู้นำอยู่เพียง 3 คน (รายละเอียดอ่านล้อมกรอบ "จิราธิวัฒน์" ในกลุ่มค้าปลีก และผู้บริหาร Business Units ในเครือ CRC)

"ธุรกิจของเราขยายตัวเร็วมากจนคนในครอบครัวของเราไม่สามารถโตขึ้นมารองรับได้ทัน" พงศ์ ศกุนตนาค กรรมการผู้จัดการ บริษัทออฟฟิส เดโป และเซ็นทรัลออนไลน์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องทศบอกกับ "ผู้จัดการ"

จำนวนบุคลากรในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก ปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้นประมาณ 28,000 คน เป็นคนในระดับผู้บริหารประมาณ 2,000 คน แบ่งเป็นระดับกลาง (Vice President) ขึ้นไปประมาณ 200 คน และระดับกลางลงมาจนถึงระดับ General Manager อีกประมาณ 1,800 คน

ในการจะต้องคงไว้ซึ่งความเป็นอันดับ 1 ของธุรกิจ ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญของทศ เขาจำเป็นต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนาคนที่ไม่ใช่เป็นคนในครอบครัว "จิราธิวัฒน์" โดยเฉพาะคนในระดับผู้บริหารจำนวน 2,000 คน เพราะคนเหล่านี้คือข้อต่อสำคัญที่จะทำให้กิจการค้าปลีกของเซ็นทรัล สามารถก้าวเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง

ทันทีที่เขาเข้ารับตำแหน่ง สิ่งแรกๆ ที่เขาทำคือการวางแผนแม่บท เพื่อพัฒนาบุคลากร

"คุณทศเป็นผู้บริหารรุ่นใหม่เพียงไม่กี่คน ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนาบุคลากรอย่างจริงจัง" ประกาย ชลหาญ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดูแลสายทรัพยากรบุคคล กล่าว

แผนดังกล่าวถูกวางไว้อย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในการทำงาน รวมถึงการจัดโปรแกรม การฝึกอบรมให้กับผู้บริหาร ซึ่งมีทั้งโปรแกรมระยะสั้นและระยะยาว โดยโปรแกรมสูงที่สุด คือการส่งผู้บริหารระดับกลางขึ้นไปจำนวน 200 คน เขาเรียนหลักสูตร Mini MBA ซึ่ง CRC ได้ร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่างขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับธุรกิจค้าปลีกเป็นการเฉพาะ

แผนนี้กำหนดระยะเวลาไว้ในขั้นแรก 5 ปี ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 50 ล้านบาท (รายละเอียดโปรดอ่าน "แผนแม่บทของ CRC")

"ในอดีต เริ่มจากเซ็นทรัล ก็มี 1 business units มีเพียง 1 President 1 Marketing 1 Merchandiser แต่ปัจจุบันเรามีอยู่ 7-8 business units ก็ต้องเป็น 7-8 President 7-8 Marketing 7-8 Merchandiser ฉะนั้นมันต้องมีระบบการ training ระบบการบริหารคนที่ดีกว่านี้ เพราะพื้นที่มันกว้างกว่ามากในการที่จะดูแล" ทศอธิบาย

ภารกิจในการสร้างคนของทศ มิได้แตกต่างจากที่ปู่และพ่อของเขาได้กระทำไว้อย่างเข้มข้นเมื่อในอดีต แต่ในยุคของเขา เขามีเป้าหมายที่แน่ชัดและเป็นเป้าหมายที่อาจจะยากกว่าในยุคเริ่มต้นสร้างกิจการ

การดำรงความเป็นอันดับ 1 ในธุรกิจค้าปลีกของเครือเซ็นทรัล ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ และใช้เวลาเพียง 1-2 ปี

ในยุคของทศมีการกล่าวกันว่าเป็นยุคที่ "คนนอก" ได้มีโอกาสเติบโตมากที่สุด ด้วยปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไว้ และเป็นยุคที่ทศต้องให้น้ำหนักเป็นอย่างยิ่งกับเรื่องนี้ เพื่อให้รากฐานของธุรกิจค้าปลีกเครือเซ็นทรัลแข็งแกร่ง จนสามารถรองรับความยิ่งใหญ่ให้ได้ตลอด

ทศ จิราธิวัฒน์ ถือเป็น new generation ที่ต้องแบกรับภารกิจที่ยิ่งใหญ่ไม่น้อยเลยทีเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us